กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L2492-1-29
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือราเป๊ะ
วันที่อนุมัติ 16 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 48,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจิราภรณ์ เจ๊ะอาแซ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.482,101.763place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 170 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนหญิงคลอดได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด(คน)
2,272.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโต แข็งแกร่ง ยั่งยืนในทุกด้าน ประการสำคัญมุ่งเน้นการพัฒนาคนเป็นหลัก เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต โดยมารดาและเด็กจะได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอด เมื่อเกิดแล้วต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม เพื่อให้เติบโตสมวัยและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต ปัจจุบัน ข้อมูลอนามัยและเด็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือราเป๊ะ ยังมีปัญหาหลายอย่างที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่น พฤติกรรมการดูแลด้านสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของหญิงตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ไม่ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์มาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์มารับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์มากกว่า ๑๒ สัปดาห์ และคลอดที่บ้านผดุงครรภ์โบราณ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่ก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงสูงต่อการทำให้เกิดปัญหาการป่วย และการตายของมารดาจากการตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดได้ จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือราเป๊ะ ของปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ๑๕.๑๕ (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๖๐) หญิงตั้งครรภ์รายใหม่มาฝากครรภ์ครั้งแรกครรภ์น้อยกว่า ๑๒ สัปดาห์ ร้อยละ ๕๐.๕๑ (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๘๐) มารดาคลอดที่บ้าน ร้อยละ ๒.๐๑ (เกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ ๕) ซึ่งยังมีบางตัวชี้วัดต่ำกว่าเกณฑ์ จากปัญหางานอนามัยแม่และเด็กดังกล่าวข้างต้น อาจส่งผลทำให้มารดาและบุตรมีความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัย ทั้งนั้นพบปัญหาว่าผู้ปกครองพาเด็กไปรับวัคซีนไม่ครบ ซึ่งส่งผลเสียต่อเด็กจึงเห็นว่าสมควรจัดให้มีโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามเกณฑ์อายุ เพื่อให้เด็กได้รับภูมิคุ้มกันครบตามเกณฑ์ที่กำหนด และมีภูมิคุ้มกันที่ดีสุขภาพแข็งแรง ผลการดำเนินงานงานเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือราเป๊ะ ที่ผ่านมา ความครอบคลุมของเด็กที่ได้รับวัคซีนครบอายุ ๑ ปี ร้อยละ ๗๘.๘๖ (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๙๕) ความครอบคลุมของเด็กที่ได้รับวัคซีนครบอายุ ๒ ปี ร้อยละ๖๐.๘๗ (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๙๐)ความครอบคลุมของเด็กที่ได้รับวัคซีนครบอายุ ๓ ปี ร้อยละ๘๐.๖๘ (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๙๐)ความครอบคลุมของเด็กที่ได้รับวัคซีนครบอายุ ๕ ปี ร้อยละ๒๘.๗๘ (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๙๐)โดยในเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญ เหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ 2 ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดี ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน  ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง  และจากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน (๐-๖ ปี) จะพบว่าพื้นที่เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือราเป๊ะ ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา  มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ๕๑ คน จากเด็กทั้งหมด ๕๖๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๙.๐๑ น้ำหนักค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์ ๓๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๖.๗๑ ซึ่งตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้มีไม่เกินร้อยละ ๗ และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจากการสุ่มสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากกลุ่มเด็กอายุ ๑๘ เดือน มีฟันผุร้อยละ ๑๓.๘๐ (เกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ ๒๐) กลุ่มเด็กอายุ ๓-๕ ปี มีฟันผุร้อยละ ๕๗.๗๙ (เกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ ๕๐) แสดงให้เห็นว่า โรคฟันผุเกิดในทุกกลุ่มวัย ซึ่งถ้าไม่ได้รับการป้องกันและการรักษาหรือหยุดหยุดยั้งโรคก็จะลุกลามนำไปสู่การสูญเสียฟันต่อไปและส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ปัจจัยที่ทำให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีสภาวะการเกิดโรคฟันผุ โรคปริทันต์อักเสบ หรือโรคในช่องปากเป็นปัญหาค่อนข้างสูง คือการเข้าถึงบริการทันตกรรมไม่ครอบคลุมมากนัก การไม่ใส่ใจในการดูแล ป้องกันโรคในช่องปากของตนเองเมื่อเป็นถึงขั้นรุนแรงจึงมาหาหมอเพื่อทำการรักษา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ลดการผิดปกติจากการตั้งครรภ์

จำนวนหญิงคลอดได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด(คน)

2272.00 2275.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
13 ก.ย. 61 อบรมโครงการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก 170 37,900.00 37,900.00
13 ก.ย. 61 ให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ โดยแบ่งกลุ่ม 170 6,400.00 6,400.00
21 ก.ย. 61 ดำเนินการคัดกรองเชิงรุกของเจ้าหน้าที่อสม. และแกนนำในชุมชน 60 4,500.00 4,500.00
รวม 400 48,800.00 3 48,800.00
  1. วิเคราะห์ข้อมูลด้านอนามัยแม่เเละเด็กในชุมชนเขตรับผิดชอบ
  2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชุมคณะทำงานที่วางแผนดำเนินงาน
  3. เขียนโครงการ
  4. ดำเนินการอบรมตามโครงการฯ   - อบรมให้ความรู้การปฏิบัติตัว การวางแผนครอบครัว สุขศึกษาในหญิงตั้งครรภ์   - อบรมให้ความรู้โภชนาการ พัฒนาการ สุขศึกษาให้ผู้ปกครองเด็ก อายุ 0-5 ปี   - อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวัคซีน   - สาธิตอาหารให้แก่ผู้ปกครองเด็ก
  5. มีการบริการเชิงรุกโดยเจ้าหน้าที่และ อสม.
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. วิเคราะห์ข้อมูลด้านอนามัยแม่และเด็กในชุมชนเขตรับผิดชอบ ๒. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนดำเนินงาน ๓. เขียนโครงการ ๔. ดำเนินการอบรมตามโครงการฯ     - อบรมให้ความรู้การปฏิบัติตัว การวางแผนครอบครัว สุขศึกษาในหญิงตั้งครรภ์
    - อบรมให้ความรู้โภชนาการ พัฒนาการ สุขศึกษาให้ผู้ปกครองเด็ก อายุ ๐ – ๕ ปี     - อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวัคซีน - สาธิตอาหารให้แก่ผู้ปกครองเด็ก ๕. มีการบริการเชิงรุกโดยเจ้าหน้าที่และ อสม. ตามแผนดังตารางนี้ วันที่ 2 ก.ค. 2561 อสม ม.๑ หมู่ที่ ๑ วันที่ 3 ก.ค. 2561 อสม ม.๒ หมู่ที่ ๒ วันที่ 4 ก.ค. 2561 อสม ม.๓ หมู่ที่ ๓ วันที่ 5 ก.ค. 2561 อสม ม.๗ หมู่ที่ ๗ วันที่ 6 ก.ค. 2561 อสม ม.๘ หมู่ที่ ๘ วันที่ 9 ก.ค. 2561 อสม ม.๙ หมู่ที่ ๙ วันที่ 10 ก.ค. 2561 อสม ม.๑๓ หมู่ที่ ๑๓ ๖. วิเคราะห์และสรุปโครงการ ๗. ประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2561 11:19 น.