กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง


“ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดพุง ลดโรค ”

ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา

ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดพุง ลดโรค

ที่อยู่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 2561 - L8010 - 2 -03 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดพุง ลดโรค จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดพุง ลดโรค



บทคัดย่อ

การกินอาหารที่ดี มีประโยชน์นั่นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เรามีสุขภาพดี แต่หากได้รับปริมาณอาหารมากเกินความจำเป็นของร่างกาย ก็จะเกิดการสะสมไขมันตามส่วนต่างๆ และทำให้คุณ กลายเป็นโรคอ้วน ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ให้นิยามของโรคอ้วยว่า ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันส่วนต่างๆ ของร่างกายเกินปกติ จนเป็นปัจจัยเสี่ยง หรือเป้นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆ ที่ส่งผลถึงสุขภาพ จนอันเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ การลดความอ้วน ง่ายๆ คือ จะต้องควบคุมปริมาณอาหาร การออกกำลังกาย เป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปกับการควบคุมอาหาร เพื่อให้ร่างกายได้เผาผลาญพลังงานมาขึ้น โดยควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีขึ้นไป โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) ให้แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน 2.)ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน สามารถลดค่า BMI และรอบเอวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ ผลการดำเนินโครงการ พบว่า

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนแก่แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี ขึ้นไป ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 42 คน ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบก่อน - หลังอบรม (จำนวน 10 ข้อ) พบว่า คะแนนความรู้ก่อนการอบรม คะแนนระหว่าง 5-7 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 47.62 โดยคะแนนความรู้หลังการอบรม คะแนนอยู่ระหว่าง 8-10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.33 สรุปได้ว่าหลังการอบรมผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 42 คน ส่วนใหญ่มีคะแนนสูงกว่าก่อนการอบรม

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริม สนับสนุนการออกกำลังกายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 42 คน ซึ่งผ่านการอบรมและได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน การเลือกรับประทานอาหาร การออกำลังกาย และสอน/สาธิตการทำเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ หลังจากอบรมให้ความรู้แล้วกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวร่วมกันออกกำลังกายโดยเลือกตามความสมัครใจ ได้แก่ การปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค ฟิตเนส เดิน เป็นต้น ผลการดำเนินกิจกรรม พบว่า มีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมออกกำลังกาย ร้อยละ 75 และมีกลุ่มเป้าหมายบางคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง สาเหตุเนื่องมาจากการประกอบอาชีพ ทำให้ส่วนหนึ่งไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายส่วนใหญ่จะเต้นแอโรบิค ร้อยละ 55 ปั่นจักรยาน ร้อยละ 20 ฟิตเนส ร้อยละ 15 และเดิน ร้อยละ 10

กิจกรรมที่ 3 ติดตามและประเมินผล จากการถอดบทเรียนสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการที่ไม่สามารถลดค่า BMI ได้ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ที่ชอบรับประทานอาหารประเภททอด กะทิ เพราะมีรสชาติอาหารที่กลมกล่อม รวมทั้งพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องมาจากการประกอบอาชีพ รวมทั้งไม่เห็นสำคัญของสุขภาพ เพราะบางคนถ้าไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรค ก็จะไม่ตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพ บางคนรอให้เป็นโรคก่อนถึงจะออกกำลังกาย ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผิดเป็นอย่างมาก และได้ติดตามและประเมิน โดยวัดค่า BMI ของผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 3 ครั้ง พบว่า มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 7 คน ที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร และสามารถลดค่า BMI ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สถานการณ์โรคอ้วนที่กำลังทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นนี้ มีที่มาที่ไปจากหลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งปัจจัยในระดับปัจเจกบุคคล และปัจจัยสิ่งแวดล้อมเชิงโครงสร้างทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ลักษณะการทำงานที่ใช้แรงงานน้อยลง รวมถึงการเดินทางคมนาคมติดต่อสื่อสารที่สะดวกสบายกว่าแต่ก่อน ทำให้คนไทยโดยเฉพาะในสังคมเมือง มีการเคลื่อนไหวร่างกายและมีกิจกรรมทางกายที่ลดลง ใช้เวลาในแต่ละวันไปกับหน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์หรือโทรศัพท์ และการเดินทางบนท้องถนน ซึ่งมีการเคลื่อนไหวค่อนข้างน้อยเป็นส่วนใหญ่ในแต่ละวัน หากไม่นับเวลานอน (ประมาณ 8.4 ชั่วโมง) โดยเฉลี่ยคนไทยใช้เวลากับการทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยมากถึง13.3 ชั่วโมงขณะที่ การใช้พลังงานจากกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายมีแนวโน้มลดลง แต่การรับพลังงานจากการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มกลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและเกินความต้องการ “ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน” เป็นสาเหตุสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนอื่นซึ่งล้วนส่งผลกระทบด้านลบต่อคุณภาพชีวิตและความสุขในการใช้ชีวิตของคนไทยในประเทศไทยเองเริ่มเห็นแนวโน้มนี้อย่างชัดเจนเช่นเดียวกัน โดยกลุ่มที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้หญิงไทย ที่มีการสูญเสียปีสุขภาวะจากน้ำหนักเกินและโรคอ้วนมากกว่าผู้ชายเกือบเท่าตัว และที่สำคัญคือ ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนได้กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับ 1 ที่ส่งผลต่อสุขภาพของผู้หญิงในปัจจุบัน นอกจากนั้น การสูญเสียปีสุขภาวะจากโรคอ้วนยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ เพราะต้องใช้ทรัพยากรดูแลรักษาผู้ที่ป่วยจากโรคอ้วน และยังต้องสูญเสียกำลังแรงงานจากความเจ็บป่วยหรือการตายก่อนวัยอันควรอีกด้วยภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน ที่พบในชุมชนหมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา ตำบลกำแพง มีอยู่จำนวนมากและมีความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เกิดจากโรคอ้วน ในปี 2559- 2560 พบประชากรในชุมชนเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 43 ราย และโรคความดันโลหิตจำนวน 110 ราย ซึ่งในจำนวนนี้พบผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนรวมอยู่ด้วย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากนิสัยในการรับประทานอาหารขาดการออกกำลังกายถ้ารับประทานอาหารมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ แต่ได้ออกกำลังกาย บ้างก็อาจทำให้อ้วนช้าลง แต่หลายคนที่รับประทานพอดีหรือมากกว่าความต้องการของร่างกายแล้วนั่ง ๆ นอน ๆ โดยไม่ได้ยืดเส้นยืดสายออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมใด ๆ ในไม่ช้าจะเกิดการสะสมเป็นไขมันในร่างกายอายุเมื่อมีอายุมากขึ้นก็มีโอกาสอ้วนง่ายขึ้นทั้งเพศชายและเพศหญิง ซึ่งอาจเนื่องมาจากการใช้พลังงานน้อยลง และรวมทั้งกรรมพันธุ์ถ้าพ่อและแม่อ้วนทั้งสองคนลูกจะมีโอกาสอ้วนได้ถึงร้อยละ 80 ฉะนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว เพื่อป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา เห็นความสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพและมีความมุ่งมั่นในการลดน้ำหลักและรอบเอว จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดอ้วน ลดโรค ในชุมชนหมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยการเต้นแอโรบิค ปั่นจักรจาน และให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. ติดตามผลผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อประเมินสุขภาพ

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อให้แกนนำอาสาสมัครสาธาณสุขและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดค่า BMI และรอบเอวที่เหมาะสม
  2. 2.เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน สามารถลดค่า BMI และรอบเอวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริม สนับสนุนการออกกำลังกายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  2. กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายและแกนนำ อสม.
  3. กิจกรรมที่ 3 ขั้นติดตามและประเมินผลทำการติดตามกำกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและผลลัพธ์ต่อสุขภาพ โดย
  4. จัดทำรูปเล่มรายงาน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. แกนนำอาสาสมัครสาธาณสุขและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดค่า BMI และรอบเอวที่เหมาะสม
  2. แกนนำอาสาสมัครสาธาณสุขและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนสามารถลดค่า BMI และรอบเอวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริม สนับสนุนการออกกำลังกายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

วันที่ 1 มีนาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

1.รณรงค์การออกกำลังกายตามความสมัครใจของผู้เข้าร่วมโครงการ เช่น ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค เป็นต้น 2.ออกกำลังกายในช่วงเวลา 17.00 – 18.00 น. เป็นประจำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริม สนับสนุนการออกกำลังกายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 42 คน ซึ่งผ่านการอบรมและได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน การเลือกรับประทานอาหาร การออกำลังกาย และสอน/สาธิตการทำเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ หลังจากอบรมให้ความรู้แล้วกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวร่วมกันออกกำลังกายโดยเลือกตามความสมัครใจ ได้แก่ การปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค ฟิตเนส เดิน เป็นต้น ผลการดำเนินกิจกรรม พบว่า มีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมออกกำลังกาย ร้อยละ 75 และมีกลุ่มเป้าหมายบางคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง สาเหตุเนื่องมาจากการประกอบอาชีพ ทำให้ส่วนหนึ่งไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  การออกกำลังกายส่วนใหญ่จะเต้นแอโรบิค ร้อยละ 55 ปั่นจักรยาน ร้อยละ 20 ฟิตเนส ร้อยละ 15 และเดิน ร้อยละ 10

 

32 0

2. กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายและแกนนำ อสม.

วันที่ 5 กรกฎาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประเมินก่อนการเข้าร่วมโครงการเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้แบบสอบถามความรู้ เรื่องอาหาร ออกกำลังกายและอารมณ์(3 อ.)และแบบสอบถามการปฎิบัติตนเรื่อง อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์
  2. ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน ธงโภชนาการ การเลือกรับประทานอาหารตามโซนสี
  3. ให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ.
  4. สอน/สาธิต การทำอาหารเมนูเพื่อสุขภาพ
  5. สอน/แนะนำการใช้สมุดคู่มือบันทึกสุขภาพและพฤติกรรมเพื่อติดตามตนเอง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนแก่แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี ขึ้นไป  ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 42 คน ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบก่อน - หลังอบรม (จำนวน 10 ข้อ) พบว่า คะแนนความรู้ก่อนการอบรม คะแนนระหว่าง 5-7 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 47.62 โดยคะแนนความรู้หลังการอบรม คะแนนอยู่ระหว่าง 8-10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.33 สรุปได้ว่าหลังการอบรมผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 42 คน ส่วนใหญ่มีคะแนนสูงกว่าก่อนการอบรม

 

32 0

3. กิจกรรมที่ 3 ขั้นติดตามและประเมินผลทำการติดตามกำกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและผลลัพธ์ต่อสุขภาพ โดย

วันที่ 20 กรกฎาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประชุมถอดบทเรียนของผู้เข้าร่วมโครงการ เสนอแนวคิด ผลลัพธ์หลากหลายด้านของรายบุคคลและกิจกรรม เป็นต้น
  2. ติดตาม/ประเมินผลลัพธ์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการ1 เดือน/ครั้ง จำนวน 5 ครั้ง
  3. ประเมินผลโดยใช้แบบสอบถามการปฎิบัติตนและสอบถามทัศนคติเรื่อง อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์หลังเข้าร่วมโครงการ
  4. ติดตามอัตราโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วนของประชาชนในชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมที่ 3 ติดตามและประเมินผล  จากการถอดบทเรียนสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการที่ไม่สามารถลดค่า BMI ได้ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ที่ชอบรับประทานอาหารประเภททอด กะทิ เพราะมีรสชาติอาหารที่กลมกล่อม รวมทั้งพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องมาจากการประกอบอาชีพ รวมทั้งไม่เห็นสำคัญของสุขภาพ เพราะบางคนถ้าไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรค ก็จะไม่ตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพ บางคนรอให้เป็นโรคก่อนถึงจะออกกำลังกาย ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผิดเป็นอย่างมาก  และได้ติดตามและประเมิน โดยวัดค่า BMI ของผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 3 ครั้ง พบว่า มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 7 คน ที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร และสามารถลดค่า BMI ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67

 

32 0

4. จัดทำรูปเล่มรายงาน

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำรูปเล่มรายงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้จัดทำรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนแก่แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี ขึ้นไป ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 42 คน ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบก่อน - หลังอบรม (จำนวน 10 ข้อ) พบว่า คะแนนความรู้ก่อนการอบรม คะแนนระหว่าง 5-7 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 47.62 โดยคะแนนความรู้หลังการอบรม คะแนนอยู่ระหว่าง 8-10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.33 สรุปได้ว่าหลังการอบรมผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 42 คน ส่วนใหญ่มีคะแนนสูงกว่าก่อนการอบรม

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริม สนับสนุนการออกกำลังกายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 42 คน ซึ่งผ่านการอบรมและได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน การเลือกรับประทานอาหาร การออกำลังกาย และสอน/สาธิตการทำเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ หลังจากอบรมให้ความรู้แล้วกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวร่วมกันออกกำลังกายโดยเลือกตามความสมัครใจ ได้แก่ การปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค ฟิตเนส เดิน เป็นต้น ผลการดำเนินกิจกรรม พบว่า มีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมออกกำลังกาย ร้อยละ 75 และมีกลุ่มเป้าหมายบางคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง สาเหตุเนื่องมาจากการประกอบอาชีพ ทำให้ส่วนหนึ่งไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายส่วนใหญ่จะเต้นแอโรบิค ร้อยละ 55 ปั่นจักรยาน ร้อยละ 20 ฟิตเนส ร้อยละ 15 และเดิน ร้อยละ 10

กิจกรรมที่ 3 ติดตามและประเมินผล จากการถอดบทเรียนสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการที่ไม่สามารถลดค่า BMI ได้ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ที่ชอบรับประทานอาหารประเภททอด กะทิ เพราะมีรสชาติอาหารที่กลมกล่อม รวมทั้งพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องมาจากการประกอบอาชีพ รวมทั้งไม่เห็นสำคัญของสุขภาพ เพราะบางคนถ้าไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรค ก็จะไม่ตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพ บางคนรอให้เป็นโรคก่อนถึงจะออกกำลังกาย ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผิดเป็นอย่างมาก และได้ติดตามและประเมิน โดยวัดค่า BMI ของผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 3 ครั้ง พบว่า มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 7 คน ที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร และสามารถลดค่า BMI ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67

ปัญหา / อุปสรรค (ระบุ)

  1. การติดตามกลุ่มเป้าหมายไม่สามารถดำเนินการติดตามผลได้ครบ จำนวน 5 ครั้ง เนื่องมาจากขาดการวางแผน เพราะระยะการดำเนินโครงการมีจำกัด

  2. เป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการไม่สามารถลดค่า BMI ได้ เนื่องมาจากความชินในการบริโภคอาหารบริโภคาตามใจปาก และรสชาติอาหาร

ข้อเสนอะแนะ
1. ควรดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องและเพิ่มกลุ่มเป้าหมาย เช่น เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุ เป็นต้น

  1. สร้างมาตรการในชุมชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.เพื่อให้แกนนำอาสาสมัครสาธาณสุขและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดค่า BMI และรอบเอวที่เหมาะสม
ตัวชี้วัด : - แกนนำอาสาสมัครสาธาณสุขและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับโรคอ้วน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดค่า BMI และรอบเอวที่เหมาะสม
80.00 83.33

 

2 2.เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน สามารถลดค่า BMI และรอบเอวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้
ตัวชี้วัด : - แกนนำอาสาสมัครสาธาณสุขและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 มีค่าBMI และรอบเอวลดลง
50.00 16.67

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

การกินอาหารที่ดี มีประโยชน์นั่นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เรามีสุขภาพดี แต่หากได้รับปริมาณอาหารมากเกินความจำเป็นของร่างกาย ก็จะเกิดการสะสมไขมันตามส่วนต่างๆ และทำให้คุณ กลายเป็นโรคอ้วน ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ให้นิยามของโรคอ้วยว่า ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันส่วนต่างๆ ของร่างกายเกินปกติ จนเป็นปัจจัยเสี่ยง หรือเป้นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆ ที่ส่งผลถึงสุขภาพ จนอันเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ การลดความอ้วน ง่ายๆ คือ จะต้องควบคุมปริมาณอาหาร การออกกำลังกาย เป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปกับการควบคุมอาหาร เพื่อให้ร่างกายได้เผาผลาญพลังงานมาขึ้น โดยควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีขึ้นไป โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) ให้แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน 2.)ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน สามารถลดค่า BMI และรอบเอวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ ผลการดำเนินโครงการ พบว่า

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนแก่แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี ขึ้นไป ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 42 คน ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบก่อน - หลังอบรม (จำนวน 10 ข้อ) พบว่า คะแนนความรู้ก่อนการอบรม คะแนนระหว่าง 5-7 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 47.62 โดยคะแนนความรู้หลังการอบรม คะแนนอยู่ระหว่าง 8-10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.33 สรุปได้ว่าหลังการอบรมผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 42 คน ส่วนใหญ่มีคะแนนสูงกว่าก่อนการอบรม

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริม สนับสนุนการออกกำลังกายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 42 คน ซึ่งผ่านการอบรมและได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน การเลือกรับประทานอาหาร การออกำลังกาย และสอน/สาธิตการทำเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ หลังจากอบรมให้ความรู้แล้วกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวร่วมกันออกกำลังกายโดยเลือกตามความสมัครใจ ได้แก่ การปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค ฟิตเนส เดิน เป็นต้น ผลการดำเนินกิจกรรม พบว่า มีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมออกกำลังกาย ร้อยละ 75 และมีกลุ่มเป้าหมายบางคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง สาเหตุเนื่องมาจากการประกอบอาชีพ ทำให้ส่วนหนึ่งไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายส่วนใหญ่จะเต้นแอโรบิค ร้อยละ 55 ปั่นจักรยาน ร้อยละ 20 ฟิตเนส ร้อยละ 15 และเดิน ร้อยละ 10

กิจกรรมที่ 3 ติดตามและประเมินผล จากการถอดบทเรียนสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการที่ไม่สามารถลดค่า BMI ได้ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ที่ชอบรับประทานอาหารประเภททอด กะทิ เพราะมีรสชาติอาหารที่กลมกล่อม รวมทั้งพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องมาจากการประกอบอาชีพ รวมทั้งไม่เห็นสำคัญของสุขภาพ เพราะบางคนถ้าไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรค ก็จะไม่ตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพ บางคนรอให้เป็นโรคก่อนถึงจะออกกำลังกาย ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผิดเป็นอย่างมาก และได้ติดตามและประเมิน โดยวัดค่า BMI ของผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 3 ครั้ง พบว่า มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 7 คน ที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร และสามารถลดค่า BMI ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ
  1. การติดตามกลุ่มเป้าหมายไม่สามารถดำเนินการติดตามผลได้ครบ จำนวน 5 ครั้ง เนื่องมาจากขาดการวางแผน เพราะระยะการดำเนินโครงการมีจำกัด
  2. เป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการไม่สามารถลดค่า BMI ได้ เนื่องมาจากความชินในการบริโภคอาหาร  บริโภคาตามใจปาก และรสชาติอาหาร

 

  1. คณะทำงานต้องร่วมวางแผนการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มอนุมัติโครงการ เพื่อที่จะได้ดำเนินงานตามกิจกรรมได้ครบถ้วน
  2. แกนนำชุมชนต้องร่วมรณรงค์ให้มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีสุขภาพที่ดีห่างไกลโรค

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดพุง ลดโรค จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 2561 - L8010 - 2 -03

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด