กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ ส่งเสริมสุขภาพจิตประชาชนในชุมชน ”
ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา



หัวหน้าโครงการ
นางสาวชญานภัสจิตตรัตน์




ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาพจิตประชาชนในชุมชน

ที่อยู่ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 61-L7258- 1-06 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2561 ถึง 31 สิงหาคม 2561

กิตติกรรมประกาศ

"ส่งเสริมสุขภาพจิตประชาชนในชุมชน จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครหาดใหญ่ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ส่งเสริมสุขภาพจิตประชาชนในชุมชน



บทคัดย่อ

โครงการ " ส่งเสริมสุขภาพจิตประชาชนในชุมชน " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 61-L7258- 1-06 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 36,600.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครหาดใหญ่ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

“สุขภาพจิต” เป็นผลรวมของปัจจัยมากมายในชีวิตคนเรา ไม่ว่าจะเป็นสภาพความเป็นอยู่ ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ วิธีการจัดการอารมณ์ คุณธรรมความดีภายในใจ รวมไปถึงสภาพความเป็นชุมชนและความเกื้อกูลกันในสังคม การดูแลสุขภาพจิตและการเสริมสร้างความเข็มแข็งในกับจิตใจ(นายแพทย์ชาตรี บานชื่น, 2553) “สุขภาพจิต” คือ ความสามารถของบุคคลที่จะปรับตัวให้มีความสุขอยู่กับสังคมและสิ่งแวดล้อมมีสัมพันธภาพที่ดีงามกับบุคคลอื่น และดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสมดุลอย่างสุขสบาย รวมทั้งความสามารถของบุคคลในโลกที่เปลี่ยนแปลงโดยไม่มีข้อขัดแย้งภายในจิตใจ ดังนั้นคำว่าสุขภาพจิตไม่ได้หมายถึงแต่ความปราศจากอาการของโรคประสาทและโรคจิตเท่านั้น(องค์การอนามัยโลก, 2558) การมีสุขภาพจิตที่ดี จึงเป็นสภาวะที่บุคคลสามารถควบคุมสภาวะทางจิตใจ อารมณ์ และความคิดให้ปรับตัวเข้ากับสังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมดำเนินชีวิตตามบทบาทหน้าที่ของตนในสังคมได้อย่างมีความสุข หากบุคคลมีปัญหาสุขภาพจิต จะส่งผลให้บุคคลนั้นมีอุปสรรคสำคัญในการดำเนินชีวิตในสังคมให้มีความสุข ปัญหาทางสุขภาพจิตเหล่านี้จะแสดงอาการเจ็บป่วยทั้งทางจิตใจ ทางร่างกาย และอาการทางพฤติกรรม
อาการเจ็บป่วยทางจิตใจ เช่น การแสดงออกทางความรู้สึก ความคิด อารมณ์ ความจำ สมาธิที่ไม่เหมาะสม, โรคซึมเศร้า(Depression), โรคจิตเภท(Schizophrenia) โรควิตกกังวล(Anxiety), และโรคจิตเวชเนื่องมาจากสารเสพติด (Substance Induced Mental Illness) เป็นต้น อาการเจ็บป่วยทางร่างกาย เช่น ความกังวลทำให้ระบบหัวใจผิดปกติ มีอาการใจสั่น ใจเต้น แสดงอาการหอบ ท้องอืด ท้องเฟ้อ ความกังวลทำให้รับประทานอาหารไม่ได้หรือรับประทานอาหารมากเกินไป นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก ประจำเดือนไม่มาตามปกติ ความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะ เป็นลม ชักเกร็ง ปวดข้อ ปวดหลัง เป็นต้น อาการทางพฤติกรรม มีการแสดงออกแตกต่างจากปกติหรือลักษณะทางสังคมไม่ยอมรับ เช่น ก้าวร้าว ทำลายทรัพย์สิน ทำร้ายผู้อื่น แยกตัว ติดยาเสพติด ประพฤติผิดทางเพศ เจ้าระเบียบเกินไป ย้ำคิด ย้ำทำ พึ่งพาผู้อื่น แต่งกายไม่เหมาะสมกับเพศและวัย ลักขโมย พูดปด เป็นต้น ผลกระทบจากปัญหาสุขภาพจิตที่ควรให้ความสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ปัญหาการการฆ่าตัวตาย/ทำร้ายตนเอง พบว่า ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตมักมีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตายสูง ซึ่งสำหรับสถานการณ์การฆ่าตัวตาย/ทำร้ายตนเองในประเทศไทย พบว่า คนไทยเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย 4,000 รายต่อปี หรือมากกว่า 300 รายต่อเดือน อัตราเฉลี่ยอยู่ที่ 6 รายต่อประชากร 1 แสนคน เพศชายฆ่าตัวตายสำเร็จร้อยละ 77, เพศหญิงฆ่าตัวตายสำเร็จร้อยละ 23 มีอายุระหว่าง 30-50 ปี, ร้อยละ 70 ประกอบอาชีพเกษตรกรและผู้ใช้แรงงาน, ร้อยละ 23 เคยทำร้ายตนเองมาก่อน เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่าง ๆ ประเทศไทยจัดอยู่อันดับที่ 57 ของโลก(กรมสุขภาพจิต, 2560) สำหรับสถิติการฆ่าตัวตาย/ทำร้ายตนเองในประเทศไทยจากฐานข้อมูลการฆ่าตัวตายของคนไทย โดยโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น ราชนครินทร์ พบว่า ในปี 2558 คนไทยฆ่าตัวตายสำเร็จเฉลี่ยเดือนละ 350 คน หรือทุก ๆ 2 ชั่วโมง และมีแนวโน้มสูงขึ้น (นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์, 2560) ในปี 2560 พบว่าในอำเภอหาดใหญ่มีผู้พยายามฆ่าตัวตาย/ทำร้ายตนเองจำนวน 240 รายเฉลี่ยเดือนละ 20 ราย การดูแลสุขภาพจิตจึงกลายเป็นอีกเหตุผลสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญ ต้องมีการส่งเสริมให้ความรู้ความเข้าใจ และทักษะในการแก้ปัญหาชีวิตแก่ประชาชน การเพิ่มความสามารถในการรับมือกับความเครียด
ดังนั้น กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลหาดใหญ่ จึงจัดโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพจิตประชาชนในชุมชน” ขึ้น เพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ และบุคคลที่สนใจเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์เป็นแนวทางในการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ ร่วมกันเฝ้าระวัง ส่งเสริม และป้องกัน สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต และลดอัตราการฆ่าตัวตาย/ทำร้ายตนเองในอำเภอหาดใหญ่

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อให้ประชาชนผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตัวเอง 2. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการระบบดูแลสุขภาพร่วมกัน เกิดระบบสุขภาพชุมชนขึ้นในพื้นที่อย่างเหมาะสม 3. เพื่อสร้างเครือข่ายระดับชุมชนในการเฝ้าระวัง ดูแล และช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ที่ปัญหาสุขภาพจิต

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมประชุมเตรียมงานโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพจิตประชาชนในชุมชน”
  2. กิจกรรมสื่อสารและประชาสัมพันธ์
  3. กิจกรรมประชุมเตรียมงานโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพจิตประชาชนในชุมชน”
  4. กิจกรรมการฝึก “ส่งเสริมสุขภาพจิตประชาชนในชุมชน”

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตัวเอง
  2. ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการระบบดูแลสุขภาพร่วมกัน เกิดระบบสุขภาพชุมชนขึ้นในพื้นที่อย่างเหมาะสม
  3. เกิดการสร้างเครือข่ายระดับชุมชนในการเฝ้าระวัง ดูแล และช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ที่ปัญหาสุขภาพจิต

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมประชุมเตรียมงานโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพจิตประชาชนในชุมชน”

วันที่ 22 มิถุนายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

1.สถานการณ์สุขภาพจิตในพื้นที่ 2.วัตถุประสงค์ และขั้นตอนการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.งบประมาณการดำเนินงาน
2.กำหนดวันจัดโครงการ
3.แนวทางการสร้างเครือข่ายการดูแลสุขภาพจิตในพื้นที่ 4.การประชาสัมพันธ์เข้าร่วมโครงการ
5.ทีมวิทยากรในการจัดกิจกรรม

 

20 0

2. กิจกรรมสื่อสารและประชาสัมพันธ์

วันที่ 29 มิถุนายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

ประสานเพื่อจัดทำโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1 โปสเตอร์ ขนาด A3 จำนวน 30  แผ่นๆละ  30 บาท เป็นเงิน 900 บาท 2 ออกแบบ 600 บาท เป็นเงิน 600 บาท 3 ภาษี 7 % เป็นเงิน 105 บาท รวม 1,605 บาท

 

0 0

3. กิจกรรมประชุมเตรียมงานโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพจิตประชาชนในชุมชน”

วันที่ 9 กรกฎาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

1.ความก้าวหน้าของโครงการ 2.รายละเอียดการจัดกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.แนวทางการสร้างเครือข่ายการดูแลสุขภาพจิตในพื้นที่ 2.ความก้าวหน้าในการประชาสัมพันธ์เข้าร่วมโครงการ

 

20 0

4. กิจกรรมการฝึก “ส่งเสริมสุขภาพจิตประชาชนในชุมชน”

วันที่ 18 กรกฎาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

08.00-08.30 น. ลงทะเบียน 08.30-09.00 น. พิธีเปิดการอบรม
                                โดย นายแพทย์สิทธิภัทร์  รุ่งประเสริฐ  รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ รพ.หาดใหญ่
09.00-10.30 น. อภิปรายการส่งเสริมสุขภาพจิตระดับชุมชน         โดย  นางสาวกรรณิการ์ กฤติกานต์                                         นางสาวดาฮียา หลีเบ็ญหมาน 10.30-12.00 น. อภิปรายการเฝ้าระวังสุขภาพจิตระดับชุมชน         โดย  นางสาวดาฮียา หลีเบ็ญหมาน                                         นางสาวกรรณิการ์ กฤติกานต์ 12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00-15.00 น. ฝึกปฏิบัติการใช้แบบประเมินและแบบคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต         โดย  นางสาวกรรณิการ์ กฤติกานต์       นางสาวดาฮียา หลีเบ็ญหมาน 15.00-16.30 น. ฝึกปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชน         โดย  นางสาวกรรณิการ์ กฤติกานต์
                                        นางสาวดาฮียา หลีเบ็ญหมาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลการดำเนินงาน ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ 1. ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีคะแนนทดสอบหลังเข้ารับการอบรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 90
2. ร้อยละ 85 ของผู้ที่เข้าร่วมการอบรมสามารถใช้แบบประเมินคัดกรอง ค้นหา ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตได้อย่างถูกต้อง
ฝึกปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชนผ่านกิจกรรมการฟังด้วยหัวใจ เพื่อพัฒนาทักษะการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ที่ปัญหาสุขภาพจิต - โดยแบ่งผู้รับการอบรมออกเป็นกลุ่มๆ ละ 3 คน เพื่อฝึกปฏิบัติ 2 รอบตามเงื่อนไขที่กำหนดดังนี้ - รอบที่ 1 คนที่ 1 ทำหน้าที่เป็นผู้เล่าเรื่อง, คนที่ 2 ทำหน้าที่ฟัง,
และคนที่ 3 รบกวนการเล่าเรื่อง - รอบที่ 2 คนที่ 1 ทำหน้าที่เป็นผู้เล่าเรื่อง, คนที่ 2 ทำหน้าที่ฟัง,
และคนที่ 3 ไม่รบกวนการเล่าเรื่อง สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการถอดบทเรียนรอบที่ 1 -  รู้สึกสบายใจที่มีคนฟัง มีคนมาปลอบใจ -  การพูดแทรกทำให้รู้สึกอึดอัด รำคาญ และโกรธ -  ผู้พูดรู้สึกอึดอัด และเสียใจที่ผู้ฟังไม่ตั้งใจฟังให้ความสนใจคนที่ 3 มากกว่า -  เมื่อมีคนพูดพร้อมกันทำให้ผู้ฟังไม่มีสมาธิ เพราะไม่รู้จะฟังเรื่องของใคร -  ผู้พูดรู้สึกไม่ได้รับความสนใจ
-  หากผู้ฟังมีความพร้อมและมีสมาธิในการฟัง จะส่งผลให้ผู้พูดสามารถเล่าเรื่องราวของคนเอง ได้ง่ายมากขึ้น สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการถอดบทเรียนรอบที่ 2     -  ท่าทีของผู้ฟังมีความสำคัญในการเล่าเรื่องของผู้พูด หากผู้ฟังแสดงท่าทีสนใจจะทำให้ผู้พูดเล่าเรื่องได้ราบรื่น สบายใจ ท่าทีที่มีผลต่อการเล่าเรื่องของผู้พูด เช่น การพยักหน้า, การแสดงออกทางหน้าตา, แววตามีความตั้งใจ, นั่งมองหน้า สบตา, ใช้การสัมผัส(จับมือเบาๆ) เป็นต้น แต่ถ้าผู้ฟังพูดแทรก ฟังเรื่องราวไม่จบแต่ให้คำแนะนำ หรือให้ความสนใจอย่างอื่นมากกว่าจะส่งผลให้ผู้พูดรู้สึกอึดอัด ไม่อยากเล่าเรื่องต่อ รู้สึกว่าผู้ฟังไม่ได้ต้องการฟังอย่างจริงจัง สรุปจากการถอดบทเรียนกิจกรรมการฟังด้วยหัวใจ
-  หากผู้ฟังตั้งใจฟังจะทำให้ผู้ฟังสามารถจดจำเรื่องราวได้อย่างถูกต้อง ไม่ผิดเพี้ยนจากสิ่งที่ผู้พูดเล่า และสามารถเข้าใจความรู้สึกที่แท้จริงของผู้พูดได้ ซึ่งเกิดจากการที่ผู้ฟังไม่รีบตัดสินเรื่องราว หรือรีบให้คำแนะนำจนเกินไป -  การฟังอย่างตั้งใจคือ การฟังด้วยหัวใจ ฟังอย่างใส่ใจ ฟังโดยไม่ถาม ฟังโดยไม่แทรก มีสมาธิตั้งใจ ส่งผลให้ผู้พูดรู้สึกได้รับความอบอุ่น รู้สึกได้รับความใส่ใจ ผู้ฟังรู้และเข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดกำลังจะสื่อสารออกมา

อภิปรายการส่งเสริมสุขภาพจิตระดับชุมชนและการเฝ้าระวังสุขภาพจิตระดับชุมชนผ่านกิจกรรม Brain Storm เพื่อพัฒนาระบบการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน -  การสังเกตอาการ หรือพฤติกรรมของบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเพื่อเฝ้าระวัง จากนั้นประเมินด้วยแบบคัดกรอง 2 Q หากพบความเสี่ยงภาวะซึมเศร้า แนะนำให้ไปรับบริการที่โรงพยาบาลหรือศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้าน
-  กรณีเพิ่งเริ่มต้นการรักษา แนะนำกินยาอย่างต่อเนื่อง 6 เดือน – 1 ปี
-  การเป็นผู้ฟังที่ดี ตั้งใจรับฟังในขณะที่เขาพูด ด้วยท่าทางสีหน้าที่พร้อมจะรับฟัง ชวนคุย ซักถาม ทำความสนิทสนมให้เขาไว้วางใจ
-  การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีทำให้เขามีความเชื่อมั่นในตัวเรา เพื่อให้เขาพร้อมจะเล่าปัญหา/ความไม่สบายใจ/ความกังวล/ความเครียด -  การให้กำลังใจ/ปลอบใจเพื่อให้เขาผ่อนคลายความเครียด -  การชักชวนให้เข้ากลุ่มทางสังคม เช่น ออกกำลังกาย, ร้องเพลง, ร่วมกิจกรรมต่างที่จัดในชุมชน ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคล -  แนะนำให้พบจิตแพทย์ เพื่อทำการบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่อง 6 เดือน – 1 ปี -  หากพบบุคคลที่มีความเสี่ยงในการทำร้ายตนเอง ต้องแนะนำญาติ/คนใกล้ชิดให้สังเกตพฤติกรรม หรือเข้าไปพูดคุยเพื่อป้องกันการทำร้ายตัวเอง -  การเก็บรักษาความลับของบุคคลที่เราพูดคุยด้วย เพื่อให้เขาเกิดความไว้วางใจ -  หมั่นไปดูแล และเยี่ยมเยียนอย่างสม่ำเสมอ พูดคุย ถามปัญหา ต้องการให้ช่วยเหลืออย่างไร

ปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงาน 1. ผู้เข้ารับการอบรมบางส่วนไม่สามารถอยู่ได้ตลอดการอบรมเนื่องจากภาระงานอื่น ๆ 2. ระยะเวลาในการฝึกปฏิบัติน้อยเกิน ประกอบกับผู้เข้ารับการอบรมมีจำนวนมาก อาจส่งผลให้ผู้อบรมฝึกปฏิบัติให้ไม่ทั่วถึง ไม่สามารถตอบข้อสงสัยของผู้เข้าร่วมอมรบได้อย่างครบถ้วน

ข้อเสนอแนะ 1. ควรจัดการอบรมให้ความรู้ต่อยอดในเรื่องสื่อสาร/การให้คำปรึกษาเบื้องต้นให้กับอสม.
2. เพิ่มระยะเวลาการอบรมเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม เกิดความมั่นใจในการนำแบบคัดกรองไปใช้มากขึ้น
3. ควรมีระบบการคัดกรองที่ชัดเจนในชุมชน และระบบการส่งต่อ 4. เนื่องจากผู้เข้ารับการอบรมให้ความสนใจจำนวนมาก ควรแบ่งรุ่นการอบรมเพื่อให้ฝึกปฏิบัติได้อย่างทั่วถึง 5. คัดเลือกแกนนำอสม.สุขภาพจิตขึ้นในชุมชน เพื่อเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิต และให้การช่วยเหลือเบื้องต้น

 

120 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อให้ประชาชนผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตัวเอง 2. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการระบบดูแลสุขภาพร่วมกัน เกิดระบบสุขภาพชุมชนขึ้นในพื้นที่อย่างเหมาะสม 3. เพื่อสร้างเครือข่ายระดับชุมชนในการเฝ้าระวัง ดูแล และช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ที่ปัญหาสุขภาพจิต
ตัวชี้วัด : 1. ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีคะแนนทดสอบหลังเข้ารับการอบรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 80 2. ร้อยละ 80 ของผู้ที่เข้าร่วมการอบรมสามารถใช้แบบประเมินคัดกรอง ค้นหา ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตได้อย่างถูกต้อง
0.00 90.00
  1. ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีคะแนนทดสอบหลังเข้ารับการอบรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 90
  2. ร้อยละ 85 ของผู้ที่เข้าร่วมการอบรมสามารถใช้แบบประเมินคัดกรอง ค้นหา ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตได้อย่างถูกต้อง

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 100
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 0
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อให้ประชาชนผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต  สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตัวเอง  2. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการระบบดูแลสุขภาพร่วมกัน เกิดระบบสุขภาพชุมชนขึ้นในพื้นที่อย่างเหมาะสม 3. เพื่อสร้างเครือข่ายระดับชุมชนในการเฝ้าระวัง ดูแล และช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ที่ปัญหาสุขภาพจิต

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมประชุมเตรียมงานโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพจิตประชาชนในชุมชน” (2) กิจกรรมสื่อสารและประชาสัมพันธ์ (3) กิจกรรมประชุมเตรียมงานโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพจิตประชาชนในชุมชน” (4) กิจกรรมการฝึก “ส่งเสริมสุขภาพจิตประชาชนในชุมชน”

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ส่งเสริมสุขภาพจิตประชาชนในชุมชน จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 61-L7258- 1-06

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวชญานภัสจิตตรัตน์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด