กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการวิถีชุมชนน่าอยู่ ฟื้นฟูแพทย์แผนไทย ”
ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง



หัวหน้าโครงการ
นางทัศนีย์ คงเทพ




ชื่อโครงการ โครงการวิถีชุมชนน่าอยู่ ฟื้นฟูแพทย์แผนไทย

ที่อยู่ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2561

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการวิถีชุมชนน่าอยู่ ฟื้นฟูแพทย์แผนไทย จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการวิถีชุมชนน่าอยู่ ฟื้นฟูแพทย์แผนไทย



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการวิถีชุมชนน่าอยู่ ฟื้นฟูแพทย์แผนไทย " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 16,600.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

การส่งเสริมสุขภาพเป็นมิติหนึ่งทางสุขภาพที่มีความสำคัญมากที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติสุขในการส่งเสริมสุขภาพจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของมิติสุขภาพเข้าใจหลักและวิธีปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง การที่ประชาชนจะหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเองนั้นจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีความเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับตนเองแล้วเท่านั้น ซึ่งการปฏิบัติตัวแบบนี้เป็นการรักษาตนเองที่ปลายเหตุไม่มีทางที่จะใช้ชีวิตโดยปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆได้ การจัดการกับปัญหาด้านสุขภาพที่ต้นเหตุของปัญหาต่างหากที่จะสามารถรักษาร่างกายของมนุษย์ให้ดำรงชีวิตอยู่แบบปราศจากโรคภัย สาเหตุที่ทำให้ประชาชนเกิดปัญหาทางสุขภาพมากที่สุด คือการดำรงชีวิตในปัจจุบันที่ไม่รู้จักความเป็นอยู่ที่พอเพียง ทำให้ร่างการเกิดความเครียด วิตกกังวล การบริโภคอาหารที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ รวมไปถึงการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอและปัญหาต่าง ๆที่ตามมาอีกมากมาย การหันกลับมาสนใจการใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติ การพึ่งพาธรรมชาติตามแนวคิดทฤษฏีการแพทย์แผนไทยที่มุ่งดูแลสุขภาพแบบองค์รวมโดยมองมิติทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้ช่วยเพิ่มความสมดุลให้กับชีวิตมนุษย์ ดังนั้นการเพิ่มพูนความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมให้แก่ประชาชนและชุมชนให้สามารถดูแลตัวเองได้จึงนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดการส่งเสริมสุขภาพห่างไกลโรคที่แท้จริง ตามที่ จังหวัดพัทลุง ได้จัดทำยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การส่งเสริมการเข้าถึงการบริการ การสร้างมูลค่าและมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์สมุนไพร การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ให้เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ด้านการแพทย์แผนไทยใน และการสร้างระบบชุมชนเข้มแข็งด้วยภูมิปัญญาไทยและการแพทย์แผนไทย โดยกำหนดให้มีการดำเนินงานหมู่บ้านชุมชนต้นแบบด้านแพทย์แผนไทย ในปีงบประมาณ 2561 ตำบลละ 1 หมู่บ้าน ซึ่งในปีงบประมาณ 2560 ได้มีการดำเนินงาน หมู่บ้านต้นแบบด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยมีผลการดำเนินงานต่างๆ เช่น ให้ทุกครัวเรือนในหมู่บ้านใสหลวงได้ปลูกสมุนไพรเป็นอาหารและเป็นยารักษาโรคเบื้องต้นอย่างน้อย 10 ชนิด จำนวน 117 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 77 การให้บริการพอกเข่าด้วยยาสมุนไพร ในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า ระดับ 3 ขึ้นไป จำนวน 27 ราย การให้บริการแพทย์แผนไทยทุกกลุ่มวัย การดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง อัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้สูงอายุ และหญิงหลังคลอด เพื่อเข้าให้ประชาชนเข้าถึงระบบบริการแพทย์แผนไทยมากขึ้น และมีการพัฒนาให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์และมีผลการดำเนินงานที่ดี และเผยแพร่ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นแพทย์แผนไทยไปใช้ในปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูแลสุขภาพของคนในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการต่อเนื่องขึ้นในปีงบประมาณ 2561

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้การดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกอย่างต่อเนื่อง
  2. เพื่อเพิ่มจำนวนของผู้ป่วยนอกได้รับบริการทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่ได้มาตรฐานเป้าหมายร้อยละ 50

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. 2.กิจกรรมพอกเข่าให้กับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า
  2. 1. กิจกรรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรรมสมาธิบำบัด SKT และมณีเวช ตามกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่มวัย
  3. 3.กิจกรรมการให้ความรู้เรื่องสมุนไพรไทยและการทำลูกประคบ
  4. 4.กิจกรรรม ให้ความรู้สมุนไพรกินได้กับเมนูอาหารสุขภาพ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 มีศูนย์เรียนรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตำบลละ 1 แห่ง(หมู่บ้านต้นแบบ) 2 เพิ่มจำนวนของผู้ป่วยนอกได้รับบริการทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่ได้มาตรฐานเป้าหมายร้อยละ 50 3กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่าได้รับการพอกเข่าด้วยวิธีการแพทย์แผนไทยร้อยละ 60 4ประชาชนในพื้นที่ ม.10 มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมุนไพรไทยและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. 1. กิจกรรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรรมสมาธิบำบัด SKT และมณีเวช ตามกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่มวัย

วันที่ 2 พฤษภาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

1.กลุ่มวัยเรียน ชั้น ป.1 – ชั้น ป.6 จำนวน 70 คนโรงเรียนวัดสุนทราวาส วันที่ 24 พฤษภาคม 2561 เวลา 9.00 น. – 12.00 น. 2 แกนนำกลุ่มวัยทำงาน จำนวน 40 คนวันที่ 2 พฤษภาคม 2561 เวลา 13.30 น. – 16.00 น. 3 แกนนำผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน วันที่ 9 พฤษภาคม 2561 เวลา 13.30 น. – 16.00 น. งบประมาณ 1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้จัดและผู้เข้าร่วมการอบรม
จำนวน 150 คน x 1 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 3,750 บาท 2 ค่าถ่ายเอกสารให้ความรู้สมาธิบำบัด SKT มณีเวช จำนวน 200 แผ่น  x 1 บาท เป็นเงิน 200 บาท 3 ค่าไวนิลโครงการ วิถีชุมชนน่าอยู่ ฟื้นฟูแพทย์แผนไทยขนาด ขนาด 1 x  3 เมตร  1 ป้าย x 600 บาท เป็นเงิน  600 บาท รวมเป็นเงิน  4,550  บาท(สี่พันห้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชาชนทั้ง 3 กลุ่มวัยสามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างอย่างวิธี

 

70 0

2. 2.กิจกรรมพอกเข่าให้กับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า

วันที่ 16 พฤษภาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมพอกเข่าให้กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่มีอาการปวดเข่าระดับ3 จำนวน 60 คน  ทุกวันพุธ ของสัปดาห์ เวลา 13.00 น. – 16.00 น.
ตั้งแต่วันพุธที่ 16 พฤษภาคม 2561– วันพุธที่  25 กรกฎาคม 2561 จำนวน 11 วัน 8.2  กิจกรรมพอกเข่าให้กับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า จำนวน 60 คน   8.2.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้จัดและผู้เข้าร่วมการอบรม จำนวน 60 คน x 1 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท   8.2.2 ค่าวัสดุยาพอกเข่า - หัวดองดึงบด จำนวน  5 กิโลกรัม x 440บาท  เป็นเงิน 2,200 บาท ลักษณะ บดผงละเอียด  สี น้ำตาลออกคล้ำ  รส เมาเบื่อ - ไพลสด จำนวน 10 กิโลกรัมx 40  บาท  เป็นเงิน 400 บาท ลักษณะ เป็นหัว เหง้า สด สีเหลืองเข้มออกส้มรส เผ็ดร้อน - น้ำมันขิง  ขนาด 1  ปอนด์  x 180 บาท  เป็นเงิน 180 บาท ลักษณะ ของเหลว สี เหลืองอ่อน  รส จืดมัน - น้ำมันงาดิบ  ขนาด  1 ปอนด์ x 80บาท  เป็นเงิน 80 บาท ลักษณะ ของเหลว สี เหลือง รส เผ็ดร้อน - การบูร จำนวน 2 กิโลกรัม x 480 บาท เป็นเงิน 960 บาท ลักษณะ เม็ดเล็ก กลม สี ขาว  กลิ่น หอม โล่งจมูก - เมนทอล จำนวน0.5 กิโลกรัม x 1,600 บาท เป็นเงิน 800 บาท ลักษณะ เท่งยาว เรียว ยาวประมาณ 2-3 cm ความกว้าง ประมาณ 0.1 cm สี ขาวใส กลิ่น หอมเย็น หากโดนมากๆ ทำให้น้ำตาไหล แสบตาได้ - พิมเสน จำนวน 1 กิโลกรัม x 980 บาท เป็นเงิน 980 บาท ลักษณะ เป็นเกล็ดเล็ก แผ่นบางๆ สี ขาวขุ่น กลิ่น หอม ฉุน คล้ายการบูร - ฟ้าทะลายโจรบดผง จำนวน 1 กิโลกรัม x  160  เป็นเงิน 160 บาท ลักษณะ บดผงละเอียด  สี เขียวเข้ม รส ขม เย็น -ยาห้ารากบดผง จำนวน 1 กิโลกรัม x  210  เป็นเงิน 210 บาท ลักษณะ บดผงละเอียด สีน้ำตาลเข้ม รส ขม เย็น - หัวขิงบดผง  จำนวน 1 กิโลกรัม x  200  เป็นเงิน 200 บาท ลักษณะ บดผงละเอียด สีเหลืองอ่อน รส เผ็ดร้อน - แอลกอฮอล์ จำนวน 20 ขวด x 30 เป็นเงิน 600 บาท ลักษณะ ของเหลว ผสมEthyl Alcohol 70 เปอร์เซ็น  สี ฟ้า รวมเงิน 8,270 บาท (แปดพันสองร้อยเจ็ดสิบบาทถ้วน)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

อาการปวดเข่าของผู้สูงอายุลดลงและทำให้ประชาชนหันมาสนใจแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกในการรักษามากขึ้น

 

60 0

3. 3.กิจกรรมการให้ความรู้เรื่องสมุนไพรไทยและการทำลูกประคบ

วันที่ 14 มิถุนายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมทำลูกประคบสมุนไพรและอาหารสมุนไพรเพื่อสุขภาพให้แกนนำกลุ่มวัยทำงาน 30-59 ปี จำนวน  20 คน วันพฤหัสบดี ที่ 14 มิถุนายน 2561 เวลา 9.00 น. – 12.00 น. งบประมาณ 1 ค่าวัสดุในการทำลูกประคบ - ไพลแห้ง  จำนวน 2 กิโลกรัม x 200 บาท เป็นเงิน 400บาท ลักษณะ หัวเหง้า แห้ง สี เหลืองออกน้ำตาล  รส เผ็ดร้อน - ขมิ้นชันแห้ง จำนวน 2 กิโลกรัม x150 บาท เป็นเงิน 300บาท ลักษณะ หัว เหง้า แห้ง สีเหลืองเข้ม รส เผ็ดร้อน - ผิวมะกรูดแห้ง  จำนวน 2 กิโลกรัมx 120 บาท เป็นเงิน 240บาท ลักษณะ ส่วนผิวของลูกมะกรูด แห้ง สี เขียว กลิ่นหอม เย็น - ตะไคร้แห้ง จำนวน 2 กิโลกรัม x  70 บาท เป็นเงิน 140 บาท ลักษณะ ส่วนของลำต้นของตะไคร้ บดหยาบ สี เขียว คล้ำ กลิ่น หอม ปร่า - การบูรแต่งกลิ่น  จำนวน 1 กิโลกรัม x 480 บาท เป็นเงิน 480 บาท ลักษณะ เม็ดเล็ก กลม สี ขาว  กลิ่น หอม โล่งจมูก - ค่าอุปกรณ์วัตถุดิบผ้าดิบจำนวน 3 ผืน x 50 บาท เป็นเงิน 150 บาท ลักษณะ ผ้าเนื้อหยาบ ใช้ห่อลูกประคบ สี ขาวขุ่น - เชือกผูกลูกประคบ จำนวน 1 ม้วน x 20 บาท เป็นเงิน 20 บาท ลักษณะ ใช้ผูกลูกประคบ
2 ค่าถ่ายเอกสารให้ความรู้เรื่องสมุนไพรไทยและการทำลูกประคบสมุนไพร จำนวน 50 แผ่น x 1 บาท เป็นเงิน 50 บาท 3  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้จัดและผู้เข้าร่วมการอบรม
จำนวน 20 คน x 1 มื้อ  x 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท รวมเงิน 2,280 บาท (สองพันสองร้อยแปดสิบบาทถ้วน)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชาชนมีการใช้ยาสมุนไพรเพิ่มขึ้นและตระหนักถึงคุณค่าและประโยชน์ของสมุนไพรไทยและสามารถนำสมุนไพรที่มีอยู่มาทำลูกประคบได้

 

20 0

4. 4.กิจกรรรม ให้ความรู้สมุนไพรกินได้กับเมนูอาหารสุขภาพ

วันที่ 1 กรกฎาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรรม ให้ความรู้สมุนไพรกินได้กับเมนูอาหารสุขภาพ 1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้จัดและผู้เข้าร่วมการอบรม  จำนวน 20 คน x 1 มื้อ  x 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท 2 ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้จัดและผู้เข้าร่วมการอบรม  จำนวน 20 คน x 1 มื้อ x 50 บาท เป็นเงิน1,000บาท
รวมเป็นเงินทั้งหมด 16,600 บาท(หนึ่งหมื่นหกพันหกร้อยบาทถ้วน)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชาชนนำสมุนไพรในรั้วบ้านมาประกอบอาหารเพื่อสุขภาพได้

 

20 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ผลที่ได้รับ 1 มีศูนย์เรียนรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตำบลละ 1 แห่ง 2 ผู้รับบริการเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกมากขึ้น 3 กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่าได้รับการพอกเข่าด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย 4 มีการใช้ยาสมุนไพรเพิ่มขึ้น
กิจกรรมที่ดำเนินการ 1 กิจกรรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรรมสมาธิบำบัด SKT และมณีเวช
ตามกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่มวัย จำนวน 150 คน ดังนี้ 1.1 กลุ่มวัยเรียน ชั้น ป.1 – ชั้น ป.6 จำนวน 70 คนโรงเรียนวัดสุนทราวาส วันที่ 24 พฤษภาคม 2561 เวลา 9.00 น. – 12.00 น. 1.2 แกนนำกลุ่มวัยทำงาน จำนวน 40 คนวันที่ 2 พฤษภาคม 2561 เวลา 13.30 น. – 16.00 น. 1.3 แกนนำผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน วันที่ 9 พฤษภาคม 2561 เวลา 13.30 น. – 16.00 น. 2 กิจกรรมพอกเข่าให้กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่มีอาการปวดเข่าระดับ3 จำนวน 60 คน ทุกวันพุธ ของสัปดาห์ เวลา 13.00 น. – 16.00 น. ตั้งแต่วันพุธที่ 16 พฤษภาคม 2561– วันพุธที่ 25 กรกฎาคม 2561 จำนวน 11 วัน 3 กิจกรรมทำลูกประคบสมุนไพรและอาหารสมุนไพรเพื่อสุขภาพให้แกนนำกลุ่มวัยทำงาน 30-59 ปี จำนวน 20 คน วันพฤหัสบดี ที่ 14 มิถุนายน 2561 เวลา 9.00 น. – 12.00 น. 4 รวบรวมข้อมูล บันทึกผลการปฏิบัติงานลงในโปรแกรม JHCIS เดือน กรกฎาคม 2561 ถึง เดือนสิงหาคม 2561

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้การดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกอย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด :
0.00

 

2 เพื่อเพิ่มจำนวนของผู้ป่วยนอกได้รับบริการทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่ได้มาตรฐานเป้าหมายร้อยละ 50
ตัวชี้วัด :
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 210
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้การดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกอย่างต่อเนื่อง (2) เพื่อเพิ่มจำนวนของผู้ป่วยนอกได้รับบริการทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่ได้มาตรฐานเป้าหมายร้อยละ 50

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) 2.กิจกรรมพอกเข่าให้กับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า  (2) 1. กิจกรรรมให้ความรู้และจัดกิจกรรรมสมาธิบำบัด SKT และมณีเวช ตามกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่มวัย  (3) 3.กิจกรรมการให้ความรู้เรื่องสมุนไพรไทยและการทำลูกประคบ (4) 4.กิจกรรรม ให้ความรู้สมุนไพรกินได้กับเมนูอาหารสุขภาพ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการวิถีชุมชนน่าอยู่ ฟื้นฟูแพทย์แผนไทย จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางทัศนีย์ คงเทพ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด