กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมอครอบครัวเพื่อผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการในชุมชน ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
รหัสโครงการ 61L70080104
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 14 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 38,760.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิรันดร์แวจูนา
พี่เลี้ยงโครงการ นายไพจิตรบุญทอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.868,101.335place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจพบว่า ประชาชนในเขตตำบลบางปู มีปัญหาด้านสุขภาพและมีวิธีดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวยังไม่ดีเท่าที่ควรซึ่งปัญหาสุขภาพที่สำคัญของครอบครัว ได้แก่ การเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ เช่น โรคไข้หวัด ปวดศีรษะ ปวดขา โรคกระเพาะ ปัญหาโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อและปัญหาสุขภาพจิตซึ่งล้วนแต่เป็นปัญหาสุขภาพที่มีผลกระทบต่อครอบครัวในด้านการใช้ชีวิตประจำวันการประกอบอาชีพ ค่าใช้จ่าย และด้านจิตใจซึ่งวิธีการดูแลสุขภาพของครอบครัวเมื่อเกิดการเจ็บป่วย พบว่าครอบครัวส่วนใหญ่ จะทราบวิธีการดูแลสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อยได้ดีนอกจากนี้ยังมีการดูแลที่ไม่ถูกต้อง เช่น การดูแลฟื้นฟูผู้พิการเพื่อลดปัญหาแผลกดทับ การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน เป็นต้น ทำให้เกิดปัญหาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ น้ำตาลในเลือดสูง หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เป็นต้นซึ่งถ้ามีวิธีการดูแลที่ไม่ถูกต้องอาจส่งผลให้เกิดอันตรายหรือทำให้เกิดความพิการมากยิ่งขึ้นทั้งที่สามารถป้องกันหรือรักษาได้ ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยขาดความรู้ หมดกำลังใจ ท้อแท้ผู้ดูแลขาดความรู้ ความเข้าใจ หรือชุมชนขาดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟู และจากข้อมูลพบว่า ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือผู้พิการที่ถูกส่งตัวกลับมารักษาตัวต่อที่บ้านจากโรงพยาบาลจึงมักเกิดปัญหาว่ามีวิธีการดูแลที่ไม่ถูกต้อง ผู้พิการเกิดความพิการมากขึ้น เกิดแผลกดทับมากขึ้น ต้องเสียเงิน เสียเวลา พากลับไปรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลเหมือนเดิมดังนั้น ถ้าหากมีการส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนและครอบครัวสามารถดูแลตนเองได้และมีระบบการเฝ้าระวัง ดูแลปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยเรื้อรังและของผู้พิการ เพื่อลดอันตรายหรือเพื่อลดความพิการที่อาจเกิดขึ้นกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู จำนวนหมู่บ้านรับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน (8 ชุมชน) จำนวนประชากร10,298 คน เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพในชุมชนให้มีประสิทธิภาพ ประชาชนเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม จึงมีความจำเป็นที่จะพัฒนานักสุขภาพครอบครัว(นสค.) และ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ( อสม.)เพื่อเป็น “หมอประจำครอบครัว” ที่จะร่วมกันพัฒนาระบบการออกเยี่ยมบ้านทุกครัวเรือน ประชาสัมพันธ์พร้อมทั้งสร้างระบบฐานข้อมูล รายครัวเรือน รวมเป็น CommunityFolder ของหมู่บ้านให้ถูกต้องและสามารถนำไปใช้ได้ โดยสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมมากที่สุด ด้วยกระบวนการ คืนข้อมูลชุมชนตลอดจน ร่วมสรุป วิเคราะห์ปัญหาและจัดทำแผนแก้ไขปัญหาโดยสร้างให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทุกกลุ่มองค์กร ที่มีในหมู่บ้านชุมชน โดยคาดหวังว่าระบบสุขภาพชุมชน จะมีประสิทธิภาพ สามารถดูแลประชาชนให้บรรลุเป้าหมายตามที่คาดหวัง ซึ่งจะเห็นได้ว่า จำนวนบุคลากรสาธารณสุขมีไม่เพียงพอแก่การให้บริการ โดยเฉพาะการให้บริการในชุมชนซึ่งพบว่ายังมีปัญหาสุขภาพอีกมากมายที่ยังเข้าไปไม่ถึง แต่เนื่องจากยังมีองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน อีกมากมายที่ถ้าได้มีการพัฒนาศักยภาพให้สามารถดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง หรือผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสในชุมชนได้ น่าจะเป็นอีกทางหนึ่งที่สามารถทำได้และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวผู้ป่วยและผู้พิการดังนั้น โครงการนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ของครอบครัวในการดูแลสุขภาพของตนเอง โดยมีบุคลากรสาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยและผู้พิการในชุมชนได้รับการดูแลเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และฟื้นฟูร่างกาย ได้อย่าง ถูกต้องตามเกณฑ์ โดยแกนนำที่ผ่านการอบรม

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยและผู้พิการในชุมชนให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพของตนเอง และความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง เพื่อลดอันตรายและลดความพิการให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด

 

0.00
3 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในเรื่องการจัดการปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน

 

0.00
4 เพื่อให้แกนนำหมอครอบครัว ได้รับการอบรมฟื้นฟูความรู้ ในเรื่องการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยและผู้พิการในครอบครัวหรือในชุมชน

 

0.00
5 เพื่อให้ชุมชนได้รับทราบข้อมูลของตนเอง ร่วมกันจัดทำแผนงานเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของชุมชนทำให้ชุมชนเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้อย่างเหมาะสม

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 71,230.00 3 38,760.00 32,470.00
23 - 25 เม.ย. 61 อบรม แกนนำสุขภาพ (หมอครอบครัว) การเยี่ยมบ้านและจัดการสุขภาพ 0 32,470.00 32,470.00 0.00
23 - 24 เม.ย. 61 กิจกรรม สำรวจข้อมูลโดย อสม.และเจ้าหน้าที่เพื่อจัดทำฐานข้อมูล Community Folder 0 0.00 0.00 0.00
30 เม.ย. 61 จัดเวทีถอดบทเรียนการทำงานและผลการดำเนินงานร่วมกัน ระหว่าง แกนนำสุขภาพ (หมอครอบครัว)เจ้าหน้าที่ และตัวแทน ครอบครัว 0 38,760.00 6,290.00 32,470.00
รวมทั้งสิ้น 0 71,230.00 3 38,760.00 32,470.00

1.ประชุมชี้แจงและจัดทำแผนงานโครงการ 2.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาศักยภาพ แกนนำสุขภาพ เป็น หมอครอบครัว การจัดการสุขภาพและเยี่ยมบ้านโดยมีเนื้อหาการอบรมดังนี้ - ชี้แจงวัตถุประสงค์ - กำหนดบทบาทหน้าที่ร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับ แกนนำสุขภาพ ( หมอครอบครัว) - เครื่องมือและสำรวจการเก็บข้อมูล กลุ่มเป้าหมาย ในเขตที่รับผิดชอบ - ฝึกทักษะการฟัง การเขียน การพูด
- ทักษะ การประเมินการเจ็บป่วย และการเยี่ยมบ้าน - สรุป วิเคราะห์ ประเมินผล 3.สำรวจข้อมูลรายครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายโดยหมอประจำครอบครัว เพื่อจัดทำฐานข้อมูล CommunityFolderทำแผนที่เดินดินและ บันทึกลง โปรแกรม Hcis พร้อมกับ แนะนำตัว“หมอประจำครอบครัว” หลักสูตร 2 วัน 4.ประชุมเชิงปฏิบัติการฯเพื่อสรุปวิเคราะห์ข้อมูล แยกกลุ่ม WECANDO ( วัยทำงาน,วัยรุ่น,วัยเรียน,วัยเด็ก,แม่และทารก,กลุ่มโรคเรื้อรัง ( DM/HT) ผู้พิการและผู้สูงอายุ ) ตามหมู่บ้านที่รับผิดชอบ หลักสูตร 1 วัน - สรุป วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำแฟ้มครอบครัว - จัดกลุ่มเป้าหมายและวางแผนการดูแลร่วมกัน ได้แก่
1) กลุ่มดูแล หรือพึ่งตนเองได้ดี ให้ หมอครอบครัว ออก เยี่ยมบ้าน และให้ญาติ ดูแล 2) กลุ่มดูแล หรือพึ่งตนเองได้บ้าง ให้ หมอครอบครัว ออกเยี่ยมบ้าน ร่วมกับเจ้าหน้าที่
3)กลุ่มดูแลหรือพึ่งตนเองไม่ได้เลยต้องอาศัยคนอื่นให้หมอครอบครัวออกเยี่ยมพร้อมกับ เจ้าหน้าที่และ คณะกรรมการ รพ.สต. ทุกราย
-การวิเคราะห์ชุมชน ปัญหาสุขภาพรายบุคคล ครอบครัว หมู่บ้านและตำบล เพื่อจัดทำแผนงานโครงการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ 5.หมอครอบครัว(แกนนำสุขภาพ ) ออกเยี่ยมบ้านตามแผน โดยเยี่ยมรายกลุ่มและรายบุคคลโดยหมอครอบครัว(แกนนำสุขภาพ ) ร่วมกับ ญาติ ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง เยี่ยมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ผู้ป่วยเรื้อรังที่ต้องดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ผู้ป่วยติดเตียงพิการและจิตเวชผู้สูงอายุ และอื่นๆที่สมควรรับการเยี่ยม อย่างน้อย รายละ 2 ครั้ง / ปี หรือตามความเหมาะสม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ป่วยและผู้พิการในชุมชนมีความรู้และมีกำลังใจในการดูแลสุขภาพของตนเอง ๒. หมอครอบครัวสามารถดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้พิการในชุมชนได้ ๓. ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของประชาชน ๔. อัตราความรุนแรงของโรคลดลง อัตราความพิการลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2561 11:22 น.