กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L1480-1-8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปะเหลียน
วันที่อนุมัติ 1 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 16,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุภพงษ์ หาญวัฒนกุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ผู้สูงอายุพื้นที่หมู่ที่ 1, 5, 6, 8 และ 9 ต.ท่าข้าม อ.ปะเหลียน จ.ตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.127,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุ เป็นอีกวัยหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าควรส่งเสริมสุขภาพช่องปากในวัยเด็กเท่านั้น แต่ความจริงแล้ววัยสูงอายุก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อร่างกายมีอายุมากขึ้น ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายก็จะเสื่อมสภาพ รวมทั้งเหงือกและฟันด้วย เป้าหมายทันตสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2563 (กองทันตสาธารณสุข,2549) ในกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ ๘๐ มีฟันอยู่ในสภาพใช้งานได้ อย่างน้อย ๒๐ ซี่ จากรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555 ในกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป พบว่าร้อยละ ๕๗.๘๐ มีฟันอยู่ในสภาพใช้งานได้ 20 ซี่ และมีฟันคู่สบฟันหลังที่ใช้บดเคี้ยวอาหารอย่างน้อย 4 คู่ เพียงร้อยละ ๔๓.๓๐ จากการสำรวจภาวะสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุภาพรวมของอำเภอปะเหลียน พบว่าผู้สูงอายุมีฟันใช้งานได้ ไม่น้อยกว่า20 ซี่ร้อยละ ๒๘.๑๙ มีฟันใช้งานมากกว่า 20 ซี่ ร้อยละ ๖.๕๐ มีฟันคู่สบฟันแท้ 4 คู่ขึ้นไป ร้อยละ ๔๕.๑๐ "ฟัน" จึงเป็นอวัยวะอันดับต้นๆที่เราต้องใส่ใจ ในกลุ่มผู้สูงอายุนั้น เป็นกลุ่มที่พบการสูญเสียฟันอย่างชัดเจน การสูญเสียฟันในผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ยมากกว่า 10 ซี่/คนอาจกล่าวได้ว่า ผู้สูงอายุเกือบทุกคนมีปัญหาการบดเคี้ยวอาหาร การปราศจากฟันทั้งปากซึ่งเป็นดัชนีที่บ่งบอกถึงผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างชัดเจน ดังนั้นสุขภาพช่องปากจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งกับสุขภาพโดยรวมของร่างกายโดยเฉพาะในวัยสูงอายุที่สภาพร่างกายเริ่มทรุดโทรมจากการใช้งาน การมีสุขภาพช่องปากที่ดีส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถรับประทานอาหารได้หลากหลายได้สารอาหารครบถ้วน ที่จะไปช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย สามารถที่จะดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุขต่อไป

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ทำให้ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปะเหลียน ได้จัดทำโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ ปี 2561 ขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุ มีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปาก สามารถดูแลสุขภาพฟันของตัวเองได้ดีขึ้น รวมทั้งการรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับไปสู่ผู้สูงอายุคนอื่นๆได้อย่างถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้สูงอายุเครือข่ายตำบลท่าข้าม

ร้อยละ๑๐๐ ผู้สูงอายุ/ญาติผู้ดูแล และอสม. มีการพัฒนาความรู้ ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง 

0.00
2 เพื่อให้ ผู้สูงอายุ/ญาติผู้ดูแลและ อสม. มีความรู้ ทักษะและตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง

ร้อยละ ไม่ต่ำกว่า๘๐ ผู้สูงอายุ /ญาติผู้ดูแล และอสม.มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง

0.00
3 เพื่อสร้างความเข้มแข็งเป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง และ สามารถถ่ายทอดไปสู่ผู้สูงอายุคนอื่นๆได้

ร้อยละไม่ต่ำกว่า ๘๐
-ผู้สูงอายุ/ญาติผู้ดูแลและ อสม.ได้รับการตรวจสุขภาพและฝึกทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปาก
-เป็นแกนนำในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองและสามารถถ่ายทอดไปสู่ผู้สูงอายุคนอื่นๆได้

0.00
4 เพื่อสร้างเครือข่ายและมีส่วนร่วมในชุมชน

เกิดความร่วมมือในการแก้ปัญหาระหว่างทันตบุคลากรผู้นำชุมชน อสม. ผู้สูงอายุ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
14 พ.ค. 61 - 30 มิ.ย. 61 ค้นหาปัญหาทันตสุขภาพในชุมชน 5 หมู่บ้าน "ผู้สูงอายุ ฟันดี" 0 0.00 0.00
1 ก.ค. 61 - 28 ก.ย. 61 การดูแลสุขภาพช่องปากโดยหมอครอบครัว (ผู้สูงอายุ/อสม./แกนนำชุมชน) 0 0.00 0.00
9 ก.ค. 61 - 9 เม.ย. 61 อบรมเชิงปฏิบัติการ "เรียนรู้สุขภาพช่องปากผู้สูงวัย" 100 16,200.00 16,200.00
รวม 100 16,200.00 3 16,200.00

ขั้นเตรียมการ

  1. แต่งตั้งคณะทำงานชมรมผู้สูงอายุแต่ละหมู่บ้าน
  2. ประชุมวางแผนการดำเนินงานในชมรมผู้สูงอายุร่วมกับภาคีเครือข่าย (อสม. แกนนำชุมชน)
  3. ประชาสัมพันธ์ผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการ
  4. ประสานอสม.ทำหนังสือแจ้งกลุ่มเป้าหมาย
  5. จัดทำทะเบียนชมรมผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ

ขั้นดำเนินงาน

กิจกรรมที่๑ค้นหาปัญหาทันตสุขภาพในชุมชน 5 หมู่บ้าน (ทำประชาคมเพื่อหาปัญหา) “ผู้สูงอายุ ฟันดี” • ประชุมวางแผนการดำเนินงานในชมรมผู้สูงอายุโดยอสม./องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม/แกนนำชุมชนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง • ตรวจสุขภาพช่องปาก เบื้องต้น/ประเมินความเสี่ยงต่อฟันผุ • สอนสาธิต/ฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปาก กิจกรรมที่๒อบรมเชิงปฏิบัติการ “เรียนรู้สุขภาพช่องปากผู้สูงวัย” • เรื่องโรคปริทันต์ โรคฟันผุ ฟันสึก การดูแลฟันปลอม • เรื่องการสาธิต/ฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี/ย้อมสี • เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก พฤติกรรมการเคี้ยวหมาก/คัดกรองมะเร็งช่องปากอย่างง่ายๆ กิจกรรมที่๓ การดูแลสุขภาพช่องปากต่อเนื่อง(ผู้สูงอายุ) • กลุ่มที่๑ช่วยเหลือตัวเองได้ (ติดสังคม) • กลุ่มที่๒ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง (ติดบ้าน) • กลุ่มที่๓ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ติดเตียง (ติดเตียง)

ขั้นหลังดำเนินงาน

• ประเมินผลโครงการ • สรุปผลโครงการ • คัดเลือกผู้สูงอายุฟันดี

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุ อสม.มีการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ จากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง
  2. ผู้สูงอายุ อสม.ทุกคนได้รับความรู้ การตรวจสุขภาพ และฝึกทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปาก
  3. สร้างความเข้มแข็งเพื่อเป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง และ สามารถถ่ายทอดไปสู่ผู้สูงอายุคนอื่นๆได้
  4. เกิดความมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาทันตสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2561 13:32 น.