กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการจัดการแบบมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L1480-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปะเหลียน
วันที่อนุมัติ 1 พฤษภาคม 2018
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 พฤษภาคม 2018 - 30 กันยายน 2018
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2018
งบประมาณ 7,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุภพงษ์ หาญวัฒนกุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าข้าม อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.127,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ความดันโลหิตสูงยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ จากสถานการณ์ความดันโลหิตสูงในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในปี 2557 ประชาชนไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป เป็นโรคความดันโลหิตสูงประมาณร้อยละ 25 หรือคนไทย 1 ใน 4 คน เป็นโรคความดันโลหิตสูงนั่นเองสาเหตุส่วนใหญ่มาจากปัจจัยการดำเนินชีวิต เช่น การออกกำลังกายน้อย การบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของเกลือ และไขมันสูง การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ นำมาสู่ภาวะโรคที่เพิ่มมากขึ้น

ในปี งบประมาณ2560 จากการสำรวจข้อมูลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในเขต องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้ามที่มารับบริการคลินิกเรื้อรัง ณ ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปะเหลียน จำนวน 238คน มีผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์ คือค่าความดันโลหิตสูงที่มีค่า BP สูงกว่า 140/90 mmHg จำนวน20คน คิดเป็นร้อยละ8.4 หากผู้ป่วยดูแล รักษา และควบคุมอาการของโรคที่เกิดขึ้นได้ไม่ดี ผลที่จะเกิดตามมานั้นมักจะรุนแรง จนเป็นเหตุให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา อาทิ โรคหลอดเลือดหัวใจ , โรคหลอดเลือดสมอง , โรคไตเรื้อรัง ที่อาจทำให้พิการและเสียชีวิตได้ นอกจากนั้นก็อาจจะมีเป็นโรคหลอดเลือดของจอตาและประสาทตาที่ส่งผลให้ตาบอดได้ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปะเหลียนได้เล็งเห็นความสำคัญของอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)ในการ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพอนามัยเป็นต้นแบบในการสร้างสุขภาพโดยการสื่อสารสร้างเสริมสุขภาพเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนนำไปสู่การพัฒนาการดูแลสุขภาพของตนเองประชาชน ครอบครัวและชุมชน

ดังนั้นศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปะเหลียนซึ่งเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิ ที่ให้บริการสุขภาพในชุมชน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพที่มีสุขภาพ แบบบูรณาการและต่อเนื่อง เพื่อลดปัญหาสุขภาพทั้งระดับบุคคลครอบครัวและชุมชน จึงได้จัดโครงการการจัดการแบบมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพอสม.ในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

อสม.มีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 (โดยประเมินผลก่อน-หลัง จากแบบสอบถามของกองสุขศึกษา พฤติกรรมที่ส่งผลต่อโรคความดันโลหิตสูง)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 7,650.00 3 7,650.00
18 พ.ค. 61 จัดประชุมชี้แจงอสม. บทบาทการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 0 0.00 0.00
18 พ.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 ติดตามเยี่ยมบ้านโดยอสม. ทุก 1 เดือน ติดต่อกัน 3 เดือน โดยอสม. บันทึกลงสมุดเยี่ยมบ้าน 0 0.00 0.00
25 พ.ค. 61 อบรมเชิงปฏิบัติการ "โดยแบ่งฐาน 3 ฐาน และใช้วิทยากรกลุ่ม" 0 7,650.00 7,650.00

ขั้นเตรียมการ

  1. ทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตในรอบปีงบประมาณ
  2. คัดเลือกผู้ป่วยที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้(ดูค่าความดันโลหิต ที่มารับบริการ ๓ ครั้ง ≥140/90mmHg)
  3. แจ้งอสม.ที่รับผิดชอบครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย
  4. ทำหนังสือแจ้งกลุ่มเป้าหมาย
  5. จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับจัดอบรม

ขั้นดำเนินการ

  1. จัดประชุมชี้แจงอสม.บทบาทการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
  2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการโดยแบ่งฐาน 3ฐานและใช้วิทยากรกลุ่ม(เวียนฐาน) ฐานที่ 1. รูปแบบตุ๊กตาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง (เพื่อให้ผู้ป่วยได้ประเมินตนเองเกี่ยวกับภาวะโรคความดันโลหิตสูง) ฐานที่ 2. การบำบัดด้วยยา ให้ความรู้โดยเภสัชกรเกี่ยวกับการทำงานของยา ตอบข้อสงสัย และตรวจสอบปัญหา ที่อาจเกิดจากการใช้ยา
    ฐานที่ 3. วางแผนทางโภชนาการและการออกกำลังกาย ให้ความรู้โดยพยาบาลช่วยในการวางแผนพัฒนารูปแบบการเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสม และออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายเฉพาะบุคคล
  3. ติดตามเยี่ยมบ้านทุก 1เดือนติดต่อกัน 3 เดือน โดยอสม.บันทึกลงสมุดบันทึกการเยี่ยมบ้าน

ขั้นหลังดำเนินงาน

• ประเมินผลการดำเนินงานร่วมกับอสม. โดยใช้แบบบันทึกปิงปองจราจร 7 สี • สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยอสม.
  2. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันโลหิต‹140/90 mmHg)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2018 13:56 น.