กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ
รหัสโครงการ 61-L8284-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 18 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 15 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 0.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน แต่ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะเป็นด้านการควบคุมและป้องกันโรค ด้านการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา สำหรับบทบาทในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของชุมชน โดย อสม.ทำได้โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ . ตลอดจนประชาชน และนอกจากความร่วมมือจากทุกฝ่ายแล้ว ความต่อเนื่องและสม่ำเสมอของการปฏิบัติงานก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้การควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ของตำบลยามู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ส่วนใหญ่ พบในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝน เพราะพาหะของโรคคือยุงลาย ลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้เลือดออก จากข้อมูล 3 ปี ที่ผ่านมามีผู้ป่วยเป็นไข้เป็นไข้เลือดดังนี้คือ ดังนี้คือ ปี พ.ศ. 2559 จำนวน 22 ราย พ.ศ.2560 จำนวน 17 ราย และ พ.ศ.2561 (15 ส.ค.61) จำนวน 21 ราย ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดย ม.1 จำนวน 4 ราย ม.2 จำนวน 4 ราย และม. 5 จำนวน 13 ราย ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีการระบาดของไข้เลือดออก จึงต้องมีการป้องกันโดยการทำลายยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์ โดยการสร้างความเข้าใจ ตระหนักให้ความสำคัญ จึงเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันไข้เลือดออกได้ ดังนั้น กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลยามู จึงจัดทำโครงการกำจัดขยะและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายเพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลยามู  อำเภอยะหริ่ง  จังหวัดปัตตานี ปี 2561 ขึ้น เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย กำจัดตัวแก่ยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก เพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนตลอดจนถึงควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1 ร่วมกับทีม SRRT ตำบล และ ทีมงาน เทศบาลตำบลยะหริ่ง ประชุม เพื่อวางแผนกำหนดพื้นที่เป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - แต่งตั้งคณะทำงานกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลยามู แกนนำชุมชน อสม. และตัวแทนครัวเรือนหรือผู้นำที่สนใจและมีความสามารถในการทำงานด้านปรับปรุงสิ่งแวดล้อม และจัดประชุมเพื่อกำหนดแนวทางทำงานร่วมกัน - ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2 ประชุมชี้แจงและอบรมให้ความรู้ เรื่องแนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออกและการจัดการขยะในครัวเรือน การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ชุมชน ทุกหมู่บ้าน ที่ประชุมผู้นำชุมชน พร้อมคัดเลือกตัวแทนครอบครัวให้เข้าร่วมโครงการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน จัดอบรมการค้นหาแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และการกำจัดแหล่งที่ถูกวิธี 3 ปฏิบัติการเกี่ยวกับการปรับปรุงสภาพแวดล้อม ครั้งที่ 1 ด้วยการจัดการขยะ เครื่องมือและอุปกรณ์ในการจัดการขยะเปียก (การหมัก) และการแยกขยะแห้งเพื่อการนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ (การจัดเก็บและกำจัดด้วยถังขยะแยกประเภท และการแปรรูปขยะให้เป็นประโยชน์)
4 การปฏิบัติการชุมชนในการเฝ้าระวังและควบคุมพื้นที่ซึ่งมีการระบาดของไข้เลือดออกระยะ 100 เมตร รอบบ้านเป้าหมาย ซึ่งเป็นพื้นที่ๆ เกิดโรค และสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลาย
5 แกนนำสุ่มประเมินบ้านจัดการขยะ รอบที่ 2 เพื่อค้นหาข้อดีของการจัดการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมพร้อมจัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของสมาชิกในครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ และสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลาย 6 ประเมินผลการดำเนินงานและ สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลยะหริ่ง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 สามารถควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อย่างต่อเนื่องและทันเวลา 2 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในตำบลยามูลลดลง 3 ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2561 09:52 น.