กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาความแข็งแกร่งในชีวิตผูู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลควนธานีด้วยแนวคิดธรรมานามัย
รหัสโครงการ 61-L1464-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.512,99.563place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (12,000.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในศตวรรษนี้การสูงวัยของประชากรเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก อันเป็นผลมาจากการที่อัตราการเกิดของของประเทศต่างๆได้ลดต่ำลง องค์การสหประชาชาติได้ประเมินสถานการณ์ว่าปี พ.ศ.2544-2643 จะเป็นศตวรรษแห่งผู้สูงอายุ หมายถึงการมีประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ปี ของประชากรรวมทั่วโลก และมีแนวโน้มว่าประชากรผู้สูงอายุเหล่านี้จะมีฐานะยากจนสำหรับประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติ สรุปว่าไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2548 โดยมีประชากรผู้สูงอายุ ร้อยละ 10.4 ของประชากรทั้งประเทศ เนื่องจากการเกิดที่ลดต่ำลงอย่างรวดเร็วมาก และอายุของคนไทยที่ยืนยาวขึ้นทำให้โครงสร้างอายุของประชากรไทยได้เปลี่ยนผ่านจากท่ีเคยเป็นประชากรเยาว์วัยกลายเป็นประชากรสูงวัย ในปี 2566 ประชากรอายุ 60ปี ขึ้นไป ในประเทศไทยจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 14.1 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 21 ของประชากรทั้งหมด เท่ากับว่าประเทศไทยจะกลายเป็น สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ เมื่อพิจารณาเฉพาะตำบลควนธานี มีประชากรทั้งหมด 5,227คน และบริเวณใกล้เคียงยังมีชุมชนเคหะตรังประมาณ 505 หลังคาเรือน ในจำนวนนี้เป็นประชากรผู้สูงอายุ จำนวน 563 คน คิดเป็นร้อยละ 10.77 ของประชากรทั้งหมด แบ่งเป็นผู้สูงอายุระหว่าง 60-69 ปี จำนวน 310 คน ,อายุระหว่าง70-79 ปีจำนวน 153คน , อายุระหว่าง 80-89 ปี จำนวน 90 ปี ,อายุระหว่าง 90-99 ปี จำนวน 8 คน จากข้อมูลการสำรวจความสามารถในการดำรงชีวิต พบว่า มีผู้สูงอายุป่วยโรคเบาหวาน 28 คนโรคความดันโลหิต จำนวน 75 คนโรคหัวใจหลอดเลือด 5 คนโรคหลอดเลือดสมอง 3 คน ฯลฯ จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร ในฐานะสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาด้านสุขภาพ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเสริมสร้างแข็งแกร่งในชีวิตให้กับผู้สูงอายุ เพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาพทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมของผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำโครงการการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุของพื้นที่ตำบลควนธานี ด้วยหลักธรรมานามัย โดยแยกกิจกรรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตให้กับผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย แบ่งแออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ผู้สูงอายุติดสังคม ติดบ้าน ติดเตียงศาสตร์การดูแลรักษาสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย สามารถนำมาใช้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุุแบบองค์รวมตามหลักของธรรมานามัย คือ กายานามัย จิตตานามัย และชีวิตานามัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตการเห็นค่าในตนเอง และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุของพื้นที่ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

1.ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุในพื้นที่ควนธานีที่เข้าร่วมโครงการมีความแข็งแกร่งในชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้น 2.ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุในพื้นที่ควนธานีที่เข้าร่วมโครงการมีการเห็นคุณค่าในตนเองที่เพิ่มสูงขึ้น 3.ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุในพื้นที่ควนธานีที่เข้าร่วมโครงการมีคุณภาพชีวิตท่เพิ่มสูงขึ้น

0.00
2 2.เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านของพื้นที่ตำบลควนธานี

ร้อยละ 80 ของผู้ดูแลผู้สูงอายุและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพืนที่ตำบลควนธานีที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมมนามัยเพิ่มสูงขึ้น

0.00
3 3.เพื่อพัฒนาคู่มือและหลักสูตรการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตสำหรับผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย

1.หลักสูตรการเสริมสร้างความแข็แกร่งในชีวิตสำหรับผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย จำนวน 1 หลักสูตร 2.คู่มือการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตสำหรับผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย จำนวน 1 เล่ม

0.00
4 4.เพื่อบูรณาการโครงการบริการวิชาการในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่ควนธานี กับการเรียนการสอน การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และการวิจัยของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร

1.จำนวนรายวิชาที่จัดการเรียนการสอนในวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร อย่างน้อย 2 รายวิชา มีการบุูรณาการกับโครงการบริการวิชาการในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุในพ้ืนที่ควนธานี 2.โครงการบริการวิชาการในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่ควนธานี มีการบูรณาการกับการวิจัยอย่างน้อย 1 เรื่อง 3.โครงการบริการวิชาการในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่ควนธานี มีการบูรณาการกับกิจกรรมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิริธร อย่างน้อย 1กิจกรรม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,000.00 2 12,000.00 0.00
1 - 31 พ.ค. 61 การจัดการอบรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งงในชีวิตสำหรับผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย 0 3,000.00 3,000.00 0.00
1 พ.ค. 61 - 30 มิ.ย. 61 การจัดการอบรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตสำหรับผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย 0 9,000.00 9,000.00 0.00
รวมทั้งสิ้น 0 12,000.00 2 12,000.00 0.00

1.จัดทำคู่มือเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตด้วยหลักธรรมานามัยสำหรับผู้สูงอายุติดสังคม ติดบ้าน และติดเตียง 2.กิจกรรมวันผู้สูงอายุ ประกอบด้วย กิจกรรมรดน้ำดำหัว การตรวจสุขภาพกายละสุขภาพช่องปาก กิจกรรมสันทนาการและศิลปะวัฒนธรรม 3.จัดทำหลักสูตรการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตสำหรับผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย 4.การจัดการอบรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตสำหรับผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย 5.การติดตามเยี่ยมบ้านด้วยหลักการ inhomess สำหรับผู้สูงอายุติดบ้าน จำนวน 20 คน และติดเตียง 2 คน 6.ประเมินผลโครงการและสรุปผลการดำเนินงานด้วยแบบประเมินที่ผู้รับผิดชอบโครงการ 7.จัดทำรายงานส่งกองทุนหลกประกันสุขภาพตำบลควนธานี

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และอสม. ที่ผ่านการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเสริมสร้างคาวมแข็งแกร่งในชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ สามารถนำความรู้ที่ได้รับใช้ในชีวิตประจำวัน และเผยแพร่หรือช่วยเหลือผู้สูงอายุอื่นต่อไปได้บูรณาการ 2.ผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลควนธานี จำนวน 50 คน มีความแข็งแกร่งในชีวิตเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การเห็นคุณค่าในตนเองเพิ่มขึ้นและคุณภาพชีิวิตทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมดีขึ้น 3.นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง ตระหนักและเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุว่าบุคคลที่ทรงคุณค่า 4.การเสริมสร้างความสัมพันธ์ิที่ดีระหว่างสถาบันการศึกษา ผู้สูงอายุ ประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของพื้นที่ต.ควนธานี 5.มีการบูรณาการโครงการบริการวิชาการในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีิวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่ควนธานี กับการจัดการเรียนการสอน การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และการวิจัยของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ุ6.เพื่อพัฒนาคู่มือและหลักสูตรการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตสำหรับผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย ที่หน่วยงานหรือสถาบันอื่นๆอาจนำไปประยุกต์ใช้ได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2561 14:51 น.