กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทะเลน้อย


“ โครงการประชารัฐทะเลน้อยร่วมใจ ปลอดภัยอุบัติเหตุทางถนน ”

ตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นางประพิศ เพชรรักษ์

ชื่อโครงการ โครงการประชารัฐทะเลน้อยร่วมใจ ปลอดภัยอุบัติเหตุทางถนน

ที่อยู่ ตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 61-L3319-02-06 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2561 ถึง 31 สิงหาคม 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการประชารัฐทะเลน้อยร่วมใจ ปลอดภัยอุบัติเหตุทางถนน จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทะเลน้อย ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการประชารัฐทะเลน้อยร่วมใจ ปลอดภัยอุบัติเหตุทางถนน



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการประชารัฐทะเลน้อยร่วมใจ ปลอดภัยอุบัติเหตุทางถนน " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 61-L3319-02-06 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 สิงหาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 27,650.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทะเลน้อย เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

การบาดเจ็บเป็นปัญหาที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วย เสียชีวิต พิการและก่อความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมทั่วทุกแห่งในโลก โดยเฉพาะการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน องค์การอนามัยโลกประมาณการว่าในแต่ละวันจะมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมากกว่า 3,000 คน คาดการณ์ว่าระหว่าง พ.ศ. 2543 - 2563 ประเทศที่มีรายได้สูงจะมีการเสียชีวิตจากการจราจรลดลงประมาณร้อยละ 30 แต่จะมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง ถ้าปราศจากการดำเนินการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม สำหรับประเทศไทย องค์การอนามัยโลกรายงานความปลอดภัยทางถนนของโลก (Global Status on Road Safety, 2015) รายงานข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนของโลก พ.ศ.2556 จากการสำรวจ 180 ประเทศทั่วโลก พบว่า ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อุบัติเหตุทางถนนที่เกิดขึ้น คิดเป็นอัตรา 17.3 ต่อประชากรแสนคน โดยประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอัตราการตายเป็นอันดับหนึ่งในภูมิภาคนี้และจากรายงานดังกล่าว ได้ประมาณการว่าประเทศไทยมีอันตรายการเสียชีวิตเป็นอันดับ 2 ของโลก อัตราตาย 36.2 รายต่อแสนประชากร (ประมาณ 24,237 คน) และประเทศไทยยังเป็นอันดับ 1 ของเอเชียและอาเซียน ที่มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงที่สุด และในปีงบประมาณ 2560 ที่ผ่านมา จากข้อมูลมรณะบัตร พบว่าอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนอยู่ที่ 19.21 ต่อประชากรแสนคน ประเทศไทยมีการกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานอุบัติเหตุทางถนน คือ การลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้ได้ไม่เกิน 10 คน ต่อประชากรแสนคน ภายใน พ.ศ.2563 โดยในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานอุบัติเหตุทางถนน ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศ และสอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) จำนวน 17 เป้าหมาย ซึ่งใน เป้าหมายที่ 3สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย ข้อ 3.6 ลดอัตราการเสียชีวิตและการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุการจราจรทางถนนให้ได้ครึ่งหนึ่งภายในปี 2563 การกำหนดให้ลดจำนวนการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจากการจราจรทางถนนถือเป็นก้าวครั้งสำคัญต่อประเด็นความปลอดภัยทางถนน สะท้อนให้เห็นถึงการยอมรับมากขึ้นว่าการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน เป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของการเสียชีวิตของคนทั่วโลก สำหรับในปีงบประมาณ 2561 กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเป้าหมายในการการดำเนินงานอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนไม่เกิน 16 ต่อประชากรแสนคน ส่วนเป้าหมายในระดับเขตและจังหวัดให้ลดจำนวนผู้เสียชีวิตลงร้อยละ 21 จากฐานข้อมูลมรณะบัตรปี พ.ศ.2553 - 2555 โดยคำนวณจากค่ามัธยมฐาน 3 ปี กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางในการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ใน 4 มาตรการหลัก แต่จะมุ่งเน้นในประเด็นที่สำคัญ 2 ส่วนที่สามารถวัดและติดตามผลการดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ 1) การขับเคลื่อนการจัดการข้อมูลให้มีความต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ได้แก่ IS Online และการบูรณาการข้อมูล 3 ฐานในจังหวัด ซึ่งมีความก้าวหน้าไปมากในหลายจังหวัด 2) ขยับการป้องกันไปที่เข้มข้นในระดับอำเภอและชุมชนมากขึ้น ได้แก่ อำเภอ (สสอ./รพช./คปสอ.) เป็นเลขาร่วมใน ศปถ. อำเภอ และบูรณาการการขับเคลื่อนภายใต้คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ. : District Health Board : DHB) และมีกระบวนการทำงานทั้งเชิงผลผลิตและเชิงคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้โครงการ D-RTI (District-Road Traffic Injury) ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในระดับอำเภอที่ครอบคลุมทุกประเด็น ทั้งการจัดการข้อมูล การบูรณาการทีมสหสาขา การขับเคลื่อนในระดับชุมชน การจัดการจุดเสี่ยง มาตรการชุมชน มาตรการองค์กร พร้อมทั้งมีการติดตามประเมินผลในระดับอำเภอ/ตำบล ในปี 2561 จังหวัดพัทลุง เป็น 1 ใน 48 จังหวัดเสี่ยงสูงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน เป็น 1 ใน 4 จังหวัดของเขตบริการสุขภาพที่ 12 (นราธิวาส สงขลา ตรัง พัทลุง) และอำเภอควนขนุน กับอำเภอเมือง เป็นพื้นที่เสี่ยงสูงทางอุบัติเหตุทางถนน กรมควบคุมโรคได้เชิญตัวแทนจากหลายภาคส่วนเข้าร่วมประชุมเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บทางถนน โดยเน้นการดำเนินงานมาตรการชุมชน (การตั้งด่านชุมชน) เพื่อสกัดกลุ่มเสี่ยง เลี่ยงอุบัติเหตุ ซึ่งตำบลชะมวงมีผลงานโดดเด่น และได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดจำนวนและอัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตทางถนนมาอย่างต่อเนื่อง จากการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลควนขนุนในเดือน ตุลาคม 2560 พบว่า จำนวนประชาชนในอำเภอควนขนุน ประสบอุบัติเหตุทางถนนทั้งหมด 115 ราย อุบัติการณ์136.61 ต่อประชากรแสนคน เป็นเพศชาย 76 ราย (ร้อย 66.08) หญิง 39 ราย (ร้อย 33.92) กลุ่มอายุที่ประสบอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุดกลุ่มอายุ 0-13 ปี จำนวน 25 ราย รองลงมา มากกว่า 60 ปี จำนวน 23 ราย 14-20 ปี จำนวน 16 ราย ,กลุ่มอายุ 31-40 ปี ,41-50 ปี 51-60 ปี กลุ่มอายุละ 13 ราย และ 21-30 ปี จำนวน 12 ราย ตำบลที่มีจำนวนผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุด ตำบลควนขนุน จำนวน 16 ราย รองลงมาคือตำบลชะมวง 14 ราย ดอนทราย 13 ราย ปันแต และพนางตุง ตำบลละ 12 ราย พนมวังก์ 11 ราย นาขยาด 10 ราย โตนดด้วน 7 ราย มะกอกเหนือ และแหลมโตนด ตำบลละ 7 ราย ทะเลน้อย 4 ราย และแพรกหา 3 ราย ยานพาหนะที่ประสบอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุด รถจักรยานยนต์ จำนวน 87 ราย รองลงมารถจักรยาน จำนวน 13 ราย เดินเท้า จำนวน 10 รายรถเก่ง 5 รายสถานภาพก่อนจำหน่ายผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน มากที่สุด หายกลับบ้าน จำนวน 98 ราย ส่งต่อ 15 ราย และตายก่อนถึง รพ. 1 ราย ตายในโรงพยาบาล 1 ราย จากสถานการณ์ดังกล่าว ชมรมคนสุขภาพดีโคกศักดิ์ - โคกเมา ได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน จึงได้จัดทำ “โครงการประชารัฐ ทะเลน้อยร่วมใจ ปลอดภัยอุบัติเหตุทางถนน” ขึ้น โดยขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลทะเลน้อย

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ผ่านระบบสุขภาพอำเภอ (DHS-RTI) หรือตำบลควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน ให้มีการดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม
  2. เพื่อสร้างกลไกการดำเนินงานและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในระดับตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านความปลอดภัยทางถนนในระดับตำบล
  3. เพื่อลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน
  4. เพื่อประเมินการใช้หมวกนิรภัย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. จัดอบรมให้ความรู้

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. อัตราการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ตำบลทะเลน้อยลดลง
  2. เกิดพื้นที่ต้นแบบ (นำร่อง) นวัตกรรมการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน โดยประชาชนในชุมชนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่
  3. ประชาชนผู้ใช้เส้นทางจราจรมีพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนที่ถูกต้องและปลอดภัย
  4. เกิดเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในระดับพื้นที่ (RTI-Team)

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ผ่านระบบสุขภาพอำเภอ (DHS-RTI) หรือตำบลควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน ให้มีการดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม
ตัวชี้วัด : มีการจัดการข้อมูล การบูรณาการทีมสหสาขา การขับเคลื่อนในระดับชุมชน การจัดการจุดเสี่ยง มาตรการชุมชน มาตรการองค์กร พร้อมทั้งมีการติดตามประเมินผลในระดับตำบล
0.00

 

2 เพื่อสร้างกลไกการดำเนินงานและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในระดับตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านความปลอดภัยทางถนนในระดับตำบล
ตัวชี้วัด : มีศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนระดับตำบล มีกระบวนการพัฒนาทีมและขับเคลื่อนงาน มีการจัดทำนโยบายและแผนการจัดการด้านอุบัติเหตุระดับตำบล เกิดการทำงานอุบัติเหตุแบบบูรณาการและมีส่วนร่วม การพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อใช้ในการวางแผนการทำงาน
1.00

 

3 เพื่อลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน
ตัวชี้วัด : อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนไม่เกิน 16 ต่อ ประชากรแสนคน
0.00

 

4 เพื่อประเมินการใช้หมวกนิรภัย
ตัวชี้วัด : จำนวนผู้ใช้หมวกนิรภัยในการขับขี่ ร้อยละ 100
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 200
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ผ่านระบบสุขภาพอำเภอ (DHS-RTI) หรือตำบลควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน ให้มีการดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม (2) เพื่อสร้างกลไกการดำเนินงานและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในระดับตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านความปลอดภัยทางถนนในระดับตำบล (3) เพื่อลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน (4) เพื่อประเมินการใช้หมวกนิรภัย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) จัดอบรมให้ความรู้

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการประชารัฐทะเลน้อยร่วมใจ ปลอดภัยอุบัติเหตุทางถนน จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 61-L3319-02-06

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางประพิศ เพชรรักษ์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด