กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครหาดใหญ่


“ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อสร้างรากฐานที่ดีของชีวิต ”

ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ

ชื่อโครงการ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อสร้างรากฐานที่ดีของชีวิต

ที่อยู่ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 61-L7258-2-15 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2561 ถึง 30 กันยายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อสร้างรากฐานที่ดีของชีวิต จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครหาดใหญ่ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อสร้างรากฐานที่ดีของชีวิต



บทคัดย่อ

โครงการ " ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อสร้างรากฐานที่ดีของชีวิต " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 61-L7258-2-15 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 75,500.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครหาดใหญ่ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

นมแม่เป็นสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และจิตใจ เนื่องจากในนมแม่มีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองครบถ้วน ทำให้ทารกเจริญเติบโตสมวัยและฉลาด โดยพบว่านมแม่จะช่วยเพิ่มระดับความฉลาดเฉลี่ย 3.44 จุด (Horta, Loret de Mola, & Victora, 2015) และจากการตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพบว่าสมองทารกที่ได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียวมีการเจริญเติบโตดีกว่าสมองของทารกที่ได้รับนมแม่ร่วมกับนมผสม (Deoni et al., 2013) นมแม่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคทำให้ทารกไม่เจ็บป่วยง่าย ลดการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง และระบบทางเดินอาหาร (Duijts, Jaddoe, Hofman, & Moll, 2010) โดยพบว่าทารกที่ได้รับนมแม่จะมีอัตราการนอนโรงพยาบาลจากการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนล่างน้อยกว่าทารกที่ได้รับนมผสม (Bachrach, Schwarz, & Bachrach, 2003) ลดโอกาสการเกิดโรคภูมิแพ้จากส่วนผสมของนมวัวที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ในร่างกาย และลดอัตราการตายในทารก (Bahl et al., 2005)การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยเสริมสร้างความรักความผูกพันระหว่างแม่และลูก ทำให้ทารกรู้สึกอบอุ่น อารมณ์ดี ผ่อนคลาย และปลอดภัย ซึ่งการตอบสนองความต้องการของทารกอย่างอ่อนโยนนี้เป็นรากฐานสำคัญในการที่ทารกจะสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลในสังคม พัฒนาความมั่นใจและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองต่อไป (กรรณิการ์, พรรณรัตน์, นันทินา, สิพินดา, และสุดาภรณ์, 2559; กุสุมา, 2555; จันทรรัตน์, 2554) การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็นการป้องกันโรคและสร้างเสริมสุขภาพของทารก ดังนั้น การสร้างเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงนับเป็นการสร้างรากฐานที่สำคัญของชีวิตให้กับทารก นอกจากนี้ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังมีประโยชน์กับมารดาหลังคลอดหลายประการ ได้แก่ ช่วยลดการเสียเลือดหลังคลอดและมดลูกคืนสภาพได้เร็ว ช่วยให้มารดามีรูปร่างและน้ำหนักตัวคืนสู่สภาพเดิมเหมือนก่อนการตั้งครรภ์ได้เร็ว เป็นการเว้นระยะห่างของการมีบุตรโดยธรรมชาติ (กรรณิการ์และคณะ, 2559; กุสุมา, 2555; จันทรรัตน์, 2554; บุณยาพร, 2555) ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม (Franca-Botelho, Ferreira, Franca, Franca, & Honorio-Franca, 2012) และมะเร็งรังไข่ (Li et al., 2014) ช่วยให้ประหยัดเงิน ประหยัดเวลา และที่สำคัญคือช่วยให้มารดามีความภาคภูมิใจในตนเองที่สามารถทำหน้าที่มารดาที่ดีได้ (กรรณิการ์และคณะ, 2559; กุสุมา, 2555; จันทรรัตน์, 2554; บุณยาพร, 2555) การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็นการป้องกันโรคและสร้างเสริมสุขภาพที่ดีของมารดาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นการสร้างเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับสโลแกนขององค์กรพันธมิตรโลกเพื่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (World Alliance for Breastfeeding Action หรือ WABA) ที่กำหนดไว้สำหรับการรณรงค์ในสัปดาห์นมแม่โลก ประจำปี 2561 ว่านมแม่คือรากฐานที่สำคัญของชีวิต (Breastfeeding foundation of life) (World Alliance for Breastfeeding Action [WABA], 2018) เพราะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนมีความสำคัญทั้งต่อภาวะสุขภาพของมารดาและทารกซึ่งปัจจุบันทั่วโลกได้ให้การยอมรับ โดยองค์การอนามัยโลกแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน(Exclusive Breastfeeding for 6 Months) และหลังจากนั้นแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควบคู่อาหารตามวัยจนอายุครบ 2 ปี หรือนานกว่านั้น (World Health Organization [WHO], 2012)
อย่างไรก็ตาม จากรายงาน The state of the World’s Children พ.ศ. 2560 พบอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวไม่เกิน 6 เดือนของทั่วโลกอยู่ที่ร้อยละ 40 แต่ในประเทศไทยมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวมีเพียงร้อยละ 23 (United Nations International Children's Emergency Fund [UNICEF], 2017) ซึ่งยังไม่บรรลุเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนดให้มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 (กรมอนามัย, 2557; วชิระ, 2560) ในจังหวัดสงขลาพบว่าร้อยละของเด็กแรกเกิดถึงต่ำกว่า 6 เดือนที่ได้นมแม่อย่างเดียว ปีงบประมาณ 2558 - 2560 คือ 71.92, 66.32 และ 55.22 ตามลำดับ (กระทรวงสาธารณสุข, 2561) แม้ว่าอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนของจังหวัดสงขลาจะบรรลุตามเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ คือ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 (กรมอนามัย, 2557; วชิระ, 2560) แต่อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนกลับมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ สำหรับเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ซึ่งเป็นชุมชนเมืองใน จังหวัดสงขลา พบว่าอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนต่ำกว่าเกณฑ์ โดยพบว่าระหว่างปี พ.ศ. 2554 – 2558 มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ร้อยละ 22.67, 24.85, 25.50, 22.89 และ 20.20 ตามลำดับ (ทะเบียนข้อมูลงานอนามัยแม่และเด็กเทศบาลนครหาดใหญ่, 2560) ดังนั้นการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้บรรลุตามเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 จึงยังเป็นเป้าหมายที่สำคัญในงานอนามัยแม่และเด็กในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีของหญิงตั้งครรภ์และทารกอย่างยั่งยืน
ตามประกาศฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2557 ได้กำหนดวัตถุประสงค์กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจับบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น ๆ หรือสนับสนุนให้กลุ่มองค์กรภาคประชาชนดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก สามารถเข้าถึงสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค เรื่องการจัดบริการสาธารณะสุขของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ในหัวข้อที่ 2 เพื่อส่งเสริมและสนับสนับสนุนในกลุ่มเด็กแรกเกิด-เด็กเล็ก ได้รับบริการตามชุดสิทธิประโยชน์อย่างครอบคลุม ทั่วถึง และเข้าถึงการบริการอย่างเสมอภาค สร้างระบบการดูแลสุขภาพในเด็กแรกเกิด-เด็กเล็ก อย่างมีคุณภาพ และบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน เพื่อเด็กเจริญเติบโต มีพัฒนาการสมวัย เป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข พัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีการเจริญเติบโต สมองได้รับการเรียนรู้ตามช่วงวัยและมีพัฒนาการสมวัย และสร้างการมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูเด็กอย่างองค์รวมจากครอบครัวสู่ชุมชนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามข้อที่ 2.11 การพัฒนาความรู้และทักษะการดูแลเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนแก่พ่อแม่ ทางคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เห็นความสำคัญในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และเด็กเล็ก เพราะนมแม่มีประโยชน์ และช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก และยังช่วยส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคในมารดาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จึงจัดทำโครงการการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อสร้างรากฐานที่ดีของชีวิต จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการมีความรู้และทักษะของมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การสนับสนุนจากสามีและบุคคลในครอบครัว การส่งเสริมจากบุคลากรในทีมสุขภาพ (อาภา,นิตยา, และอุษณีย์, 2554) และความตั้งใจที่จะเลี้ยงบุตรด้วยนมตนเอง (นิอร, 2558; วรัญญาและสันติ, 2552) นอกจากนี้ยังมีอุปสรรคต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่สำคัญในสังคมปัจจุบัน คือ มารดาต้องกลับไปทำงานก่อน 6 เดือน มารดาคิดว่าน้ำนมตัวเองไม่เพียงพอทำให้ต้องเสริมนมผสม ในที่สุดจึงตัดสินใจใช้นมผสมเลี้ยงลูกแทนนมแม่ และการส่งเสริมการตลาดของนมผสมผ่านการโฆษณาต่าง ๆ ที่ทำให้แม่เข้าใจผิดว่าน้ำนมตนเองไม่มีคุณค่าหรือนมผสมดีกว่า (วชิระ, 2560) ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้มารดาไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างต่อเนื่อง และต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้
การจัดโครงการการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อสร้างรากฐานที่ดีของชีวิตจึงมีเป้าหมายเพื่อเป็นการเพิ่มความรู้และทัศนคติของหญิงตั้งครรภ์และบุคคลในครอบครัว เรื่องความสำคัญและประโยชน์ของนมแม่ ความแตกต่างของนมแม่และนมผสม หลักการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การจัดท่าให้นมแม่ที่ถูกต้อง แม่ทำงานสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ และเพิ่มทักษะการนวดเต้านม การบีบเก็บน้ำนม และการนำน้ำนมที่เก็บไว้ออกมาใช้เลี้ยงลูกของหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งหญิงตั้งครรภ์และบุคคลในครอบครัวมีความรู้และทัศนคติที่ดีแล้ว จะนำไปสู่ความตั้งใจของหญิงตั้งครรภ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน โดยได้รับการสนับสนุนจากบุคคลในครอบครัว นำไปสู่ภาวะสุขภาพที่ดีของมารดาหลังคลอด และความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน และต่อเนื่องจนถึง 2 ปี ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ส่งผลให้ทารกมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา และมารดามีสุขภาพดีด้วย โครงการนี้จึงนับเป็นการสร้างรากฐานที่ดีของชีวิตให้กับหญิงตั้งครรภ์และทารก ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนที่ยั่งยืน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ให้มีความพร้อมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมประชุมชี้แจงทีมงานเตรียมงาน วางแผน และสรุป ผลการดำเนินงาน
  2. กิจกรรมเตรียมงานสถานที่
  3. กิจกรรมสื่อและประชาสัมพันธ์
  4. กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงาน
  5. เงินส่วนที่เหลือจากโครงการ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อสร้างรากฐานที่ดีของชีวิต
  6. กิจกรรมอบรมให้ความรู้

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมประชุมชี้แจงทีมงานเตรียมงาน วางแผน และสรุป ผลการดำเนินงาน

วันที่ 18 สิงหาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

.

 

0 0

2. กิจกรรมเตรียมงานสถานที่

วันที่ 19 สิงหาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

.

 

0 0

3. กิจกรรมสื่อและประชาสัมพันธ์

วันที่ 19 สิงหาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

.

 

0 0

4. กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงาน

วันที่ 19 สิงหาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

.

 

0 0

5. กิจกรรมอบรมให้ความรู้

วันที่ 23 สิงหาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

.

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ให้มีความพร้อมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ตัวชี้วัด : 1) หลังเข้าร่วมโครงการหญิงตั้งครรภ์มีความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของนมแม่ ภาวะโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์ หลักการปฏิบัติเพื่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และแนวทางการแก้ไขเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเข้าอบรม ร้อยละ 85 2) หลังเข้าร่วมโครงการหญิงตั้งครรภ์มีทัศนคติที่ดี ต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้นกว่าก่อนเข้าอบรม ร้อยละ 85 3) หลังเข้าร่วมโครงการหญิงตั้งครรภ์มีความตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้นกว่าก่อนเข้าอบรม ร้อยละ 85 4) หลังเข้าร่วมโครงการหญิงตั้งครรภ์ ร้อยละ 100 มีความพร้อมในการปฏิบัติทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ ทักษะการอุ้มลูกให้กินนมแม่ การนวดเต้านมและการบีบเก็บน้ำนม
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ให้มีความพร้อมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมประชุมชี้แจงทีมงานเตรียมงาน วางแผน และสรุป ผลการดำเนินงาน (2) กิจกรรมเตรียมงานสถานที่ (3) กิจกรรมสื่อและประชาสัมพันธ์ (4) กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงาน (5) เงินส่วนที่เหลือจากโครงการ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อสร้างรากฐานที่ดีของชีวิต (6) กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อสร้างรากฐานที่ดีของชีวิต จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 61-L7258-2-15

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด