กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ โดยฝึกทักษะการลอยตัวในน้ำและประเมินทักษะเป็นรายกลุ่ม และอบรมเชิงปฏิบัติการวิธีช่วยเหลือคนตกน้ำ/จมน้ำ(จมน้ำ ตะโกน โยน ยื่น)ทักษะการช่วยเหลือคนจมน้ำพร้อมประเมินและทดสอบโดยการจำลองสถานการณ์เป็นรายกลุ่ม 13 สิงหาคม 2561
13
สิงหาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนเทศบาลตำบลฉลุง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

อบรมเชิงปฏิบัติการ โดยฝึกทักษะการลอยตัวในน้ำและประเมินทักษะเป็นรายกลุ่ม และอภิปรายให้ความรู้วิธีช่วยเหลือคนตกน้ำ/จมน้ำ(ตะโกน โยน ยื่น) ทักษะการช่วยเหลือคนจมน้ำพร้อมประเมินและทดสอบโดยการจำลองสถานการณ์เป็นรายกลุ่ม(กลุ่มเด็ก เยาวชนฯ จำนวน 20 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการจำลองสถานการณ์จมน้ำ พบว่า กลุ่มเป้าหมาย ทั้ง 2 กลุ่ม ได้ทำการจำลองเหตุการณ์การจมน้ำเป็นรายกลุ่ม โดยในแต่ละกลุ่ม สามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตามลำดับขั้นตอน ตั้งแต่การตั้งสติ มีผู้ควบคุมสถานการณ์ ความปลอดภัยของผู้ประสบเหตุ การประเมินสถานการณ์ การขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ การแบ่งภาระหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ การจัดลำดับการช่วยเหลือ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายได้ผ่านการประเมินทุกคน
ทักษะการลอยตัว
  (1.1) ทักษะการลอยตัวกับขวดพลาสติก วิธีการฝึก ให้นักเรียนยืนอยู่ในน้ำจับขวดน้ำดื่มพลาสติกเอนตัวไปข้างหลังยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นพยายามให้ลำตัวขนานกับน้ำหูจมน้ำหน้าเงยแอ่นหน้าอก (1.2) ทักษะการลอยตัวกับถุงพลาสติก วิธีการฝึก ให้นักเรียนยืนอยู่ในน้ำใส่มือทั้งสองข้างไว้ในถุงพลาสติกโดยชูมือขึ้นแล้วนำมือลงน้ำ เมื่อในถุงมีอากาศถุงก็จะพองออกให้ใช้มือรวบปิดปากถุงไว้ให้แน่น จับถังไว้ที่หน้าอกของตนเอง แล้วเอนตัวไปข้างหลังยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นพยายามให้ลำตัวขนานกับน้ำหูจมน้ำหน้าเงยแอ่นหน้าอก โดยจากการประเมินทักษะการลอยตัวทุกคนสามารถทำได้ทุกคน บางคนทำได้เร็ง บางคนทำได้ช้า แต่ทุกคนก็สามารถทำได้

อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ โดยฝึกทักษะการลอยตัวในน้ำ พร้อมประเมินทักษะเป็นรายกลุ่ม(ลงสระว่ายน้ำ) 12 สิงหาคม 2561
12
สิงหาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนเทศบาลตำบลฉลุง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

อบรมเชิงปฏิบัติการ โดยฝึกทักษะการลอยตัวในน้ำ พร้อมประเมินทักษะเป็นรายกลุ่ม(ลงสระว่ายน้ำ) 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการจำลองสถานการณ์จมน้ำ พบว่า กลุ่มเป้าหมาย ทั้ง 2 กลุ่ม ได้ทำการจำลองเหตุการณ์การจมน้ำเป็นรายกลุ่ม โดยในแต่ละกลุ่ม สามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตามลำดับขั้นตอน ตั้งแต่การตั้งสติ มีผู้ควบคุมสถานการณ์ ความปลอดภัยของผู้ประสบเหตุ การประเมินสถานการณ์ การขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ การแบ่งภาระหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ การจัดลำดับการช่วยเหลือ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายได้ผ่านการประเมินทุกคน
ทักษะการลอยตัว
  (1.1) ทักษะการลอยตัวกับขวดพลาสติก วิธีการฝึก ให้นักเรียนยืนอยู่ในน้ำจับขวดน้ำดื่มพลาสติกเอนตัวไปข้างหลังยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นพยายามให้ลำตัวขนานกับน้ำหูจมน้ำหน้าเงยแอ่นหน้าอก (1.2) ทักษะการลอยตัวกับถุงพลาสติก วิธีการฝึก ให้นักเรียนยืนอยู่ในน้ำใส่มือทั้งสองข้างไว้ในถุงพลาสติกโดยชูมือขึ้นแล้วนำมือลงน้ำ เมื่อในถุงมีอากาศถุงก็จะพองออกให้ใช้มือรวบปิดปากถุงไว้ให้แน่น จับถังไว้ที่หน้าอกของตนเอง แล้วเอนตัวไปข้างหลังยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นพยายามให้ลำตัวขนานกับน้ำหูจมน้ำหน้าเงยแอ่นหน้าอก โดยจากการประเมินทักษะการลอยตัวทุกคนสามารถทำได้ทุกคน บางคนทำได้เร็ง บางคนทำได้ช้า แต่ทุกคนก็สามารถทำได้

อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องวิธีช่วยเหลือคนตกน้ำ/จมน้ำ (ตะโกน โยน ยื่น) ทักษะการช่วยเหลือคนจมน้ำพร้อมฝึกปฏิบัติกับอุปกรณ์ช่วยชีวิต12 สิงหาคม 2561
12
สิงหาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนเทศบาลตำบลฉลุง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

อภิปรายให้ความรู้เรื่องวิธีช่วยเหลือคนตกน้ำ/จมน้ำ (ตะโกน โยน ยื่น) ทักษะการช่วยเหลือคนจมน้ำพร้อมฝึกปฏิบัติกับอุปกรณ์ช่วยชีวิต 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทักษะในการช่วยเหลือตนเองในท่าต่างๆ เช่น
* ท่าลอยตัว มี 4 ท่า ได้แก่ ท่าปลาดาวหงาย ท่าปลาดาวคว่ำ ท่าแมงกะพรุน และท่าเต่า * ท่าว่ายน้ำเอาชีวิตรอด มี 2 ท่า ได้แก่ ท่าหมาตกน้ำ และท่ากรรเชียงหงาย ซึ่งก่อนที่จะทำท่าต่างๆ แกนนำด้านสุขภาพ ได้ฝึกการกำหนดลมหายใจใต้น้ำ และฝึกการเป่าลมใต้น้ำ ถึงแม้บางคนอาจจะทำได้ช้าแต่ทุกคนก็สามารถทำได้ทุกคน ทักษะในการช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำ โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1. ตะโกนขอความช่วยเหลือ ว่า “ช่วยด้วยๆมีคนตกน้ำ” 2. โยนอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวเพื่อให้คนตกน้ำเกาะจับพยุงตัว เช่น เชือก ถังแกนลอนพลาสติก ขวดพลาสติก หรือวัสดุที่ลอยน้ำได้ 3. ยื่นสิ่งของยาวๆที่อยู่ใกล้ตัวให้คนตกน้ำจับ เช่น ท่อนไม้ เข็มขัด ผ้าขาวม้า ยื่นอุปกรณ์ไปข้างใดข้างหนึ่ง แล้วจึงกวาดเข้าหาตัวคนที่ตกน้ำและดึงขึ้นฝั่ง     (3) ทักษะการใช้อุปกรณ์ต่างๆเพื่อช่วยเหลือคนตกน้ำ ดังนี้ (3.1) การโยนได้แก่ (3.1.1) การโยนเชือก * ท่ายืน โดยยืนกางขาออกให้ขาที่ถนัดอยู่ด้านหน้า ขาที่ไม่ถนัดไว้ด้านหลัง เพื่อการทรงตัวที่ดี ใช้มือที่ข้างเท้าที่ถนัดจับปลายเชือกไว้ มืออีกด้านถือเชือกไว้พร้อมที่จะโยน การโยนเชือกให้โยนเลยเหนือศีรษะคนตกน้ำระหว่างช่วงไหล่ขณะดึงให้ย่อขาหน้าที่ถนัด ขาหลังตึงแล้วดึงขึ้นมา ระหว่างดึงให้เอนตัวไปข้างหลัง ขาหน้าตึงขาหลังงอ (3.1.2) การโยนห่วงชูชีพ * ท่าโยนเหนือศีรษะโดยยืนกางขาออกให้ขาที่ถนัดอยู่ด้านหน้า ขาที่ไม่ถนัดไว้ด้านหลัง เพื่อการทรงตัวที่ดี แล้วใช้มือทั้งสองข้างจับห่วงชูชีพยกขึ้นเหนือศีรษะ พร้อมทั้งโยนไปด้านหน้าของคนตกน้ำ ขณะดึงให้ย่อขาหน้าที่ถนัด ขาหลังตึงแล้วดึงขึ้นมา ระหว่างดึงให้เอนตัวไปข้างหลัง ขาหน้าตึง ขาหลังงอ * ท่าโยนใต้ขาโดยยืนกางขาออกให้ขาที่ถนัดอยู่ด้านหน้า ขาที่ไม่ถนัดไว้ด้านหลัง เพื่อการทรงตัวที่ดี ใช้มือทั้งสองข้างจับห่วงชูชีพถือไว้ระหว่างขาแล้วโยนไปด้านหน้าของคนตกน้ำ ขณะดึงให้ย่อขาหน้าที่ถนัด ขาหลังตึงแล้วดึงขึ้นมา ระหว่างดึงให้เอนตัวไปข้างหลัง ขาหน้าตึงขาหลังงอ

  • ท่าโยนมือเดียว โดยยืนกางขาออกให้ขาที่ถนัดอยู่ด้านหน้า ขาที่ไม่ถนัดไว้ด้านหลัง เพื่อการทรงตัวที่ดี ใช้มือที่ถนัดจับห่วงชูชีพ แล้วกางแขนออกประมาณ 45 องศา โยนห่วงชูชีพไปด้านหน้าของคนตกน้ำขณะดึงให้ย่อขาหน้าที่ถนัด ขาหลังตึงแล้วดึงขึ้นมา ระหว่างดึงให้เอนตัวไปข้างหลัง
    ขาหน้าตึงขาหลังงอ


    (3.1.3) การโยน Rescue Tube *ท่ายืน โดยยืนกางขาออกให้ขาที่ถนัดอยู่ด้านหน้า ขาที่ไม่ถนัดไว้ด้านหลัง เพื่อการทรงตัวที่ดี ใช้มือทั้งสองข้างจับ Rescue Tube แล้วโยน Rescue Tube ไปด้านหน้าของคนตกน้ำขณะดึงให้ย่อขาหน้าที่ถนัด ขาหลังตึงแล้วดึงขึ้นมา ระหว่างดึงให้เอนตัวไปข้างหลัง ขาหน้าตึง ขาหลังงอ (3.2) การยื่น ได้แก่ (3.2.1) การยื่นไม้
  • ท่ายืนโดยนำขาที่ถนัดก้าวไปข้างหน้า ขาที่ไม่ถนัดไว้ด้านหลัง ใช้มือทั้งสองข้างจับปลายไม้ไว้ในท่าที่ถนัด แล้วย่อขาด้านหน้าลง ขาหลังตึง พร้อมทั้งก้มตัวและยื่นไม้ไปด้านข้างแล้วกวาดเข้าหาตัวคนตกน้ำเมื่อคนตกน้ำจับไม้ได้ ให้สาวไม้นำคนตกน้ำขึ้นมา ขณะสาวไม้ให้เอนตัวไปด้านหลัง ขาหน้าตึง ขาหลังงอ
  • ท่านั่งโดยนั่งคุกเข่า 1 ข้าง ส่วนอีกข้างขาที่ถนัดให้ตั้งตรง ใช้มือทั้งสองข้างปลายไม้ไว้แนบข้างลำตัวข้างที่คุกเข่า พร้อมทั้งก้มตัวและยื่นไม้ไปด้านข้างแล้วกวาดเข้าหาตัวคนตกน้ำเมื่อคนตกน้ำจับไม้ได้ ให้สาวไม้นำคนตกน้ำขึ้นมา ขณะสาวไม้ให้เอนตัวไปด้านหลัง ขาหน้าตึง และวางก้นไว้บนขาหลัง
  • ท่านอนโดยให้นอนคว่ำ แล้วใช้มือทั้งสองข้างจับปลายไม้ไว้ยื่นไปยังคนจมน้ำ เมื่อคนตกน้ำจับไม้ได้ ให้คนช่วยพลิกตัวตะแคงและสาวไม้ดึงคนตกน้ำขึ้นมา (3.2.2) การยื่น Rescue Tube
  • ท่ายืนโดยนำขาที่ถนัดก้าวไปข้างหน้า ขาที่ไม่ถนัดไว้ด้านหลัง ใช้มือทั้งสองข้างจับ Rescue Tube แล้วย่อขาด้านหน้าลงพร้อมทั้งยื่น Rescue Tube ไปยังคนจมน้ำ เมื่อคนตกน้ำจับ Rescue Tube ได้ ให้สาว Rescue Tube นำคนตกน้ำขึ้นมา ขณะสาว Rescue Tube ให้เอนตัวไปด้านหลัง ขาหน้าตึง ขาหลังงอ
  • ท่านั่ง โดยนั่งคุกเข่า 1 ข้าง ส่วนอีกข้างขาที่ถนัดให้ตั้งตรง ใช้มือทั้งสองข้างปลายไม้ไว้แนบข้างลำตัวข้างที่คุกเข่า พร้อมทั้งก้มตัวและยื่นไม้ไปหน้าคนตกน้ำเมื่อคนตกน้ำจับ Rescue Tube ได้ ให้สาว Rescue Tube นำคนตกน้ำขึ้นมา ขณะสาวไม้ให้เอนตัวไปด้านหลัง ขาหน้าตึง และวางก้นไว้บนขาหลัง
กิจกรรมสันทนาการสร้างความสัมพันธ์12 สิงหาคม 2561
12
สิงหาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนเทศบาลตำบลฉลุง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมสันทนาการสร้างความสัมพันธ์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เด็กและเยาวชน และแกนนำจิตอาสาในชุมชนสร้างความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จากการเข้าร่วมกิจกรรมสันทนาการสร้างความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ให้ความร่วมมือที่ดีในการทำกิจกรรม มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกันทุกคน ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างเต็มใจ รู้จักการเสียสละแบ่งปัน ให้อภัยซึ่งกันและกัน รู้จักการแก้ปัญหาร่วมกัน รวมทั้งเกิดความสนุกสนาน เกิดรอยยิ้มที่จริงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ

อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องการฟื้นคืนชีพ (CPR) พร้อมฝึกปฏิบัติ11 สิงหาคม 2561
11
สิงหาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนเทศบาลตำบลฉลุง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

อภิปรายให้ความรู้เรื่องการฟื้นคืนชีพ (CPR) พร้อมฝึกปฏิบัติ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เด็กและเยาวชน และแกนนำจิตอาสาในชุมชน มีทักษะในการช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้อย่างต่อเนื่อง จากการฝึกปฏิบัติทักษะในการช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ ซึ่งทดสอบเป็นรายกลุ่มพบว่า ทุกคนสามารถทำได้ทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100 บรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 โดยมีเนื้อหาการอบรม ดังนี้ (1) การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) หรือ การกู้ชีวิต หรือการกู้ชีพ หมายถึง การปฏิบัติการเพื่อช่วยฟื้นการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด ที่หยุดทำงานอย่างกะทันหัน เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นเองได้ตามปกติ โดยไม่เกิดความพิการของสมอง   ซึ่งเมื่อเราพบคนหมดสติ สิ่งแรกที่ควรมี คือ สติ และสิ่งที่สำคัญ คือ ความปลอดภัยของผู้ให้การช่วยเหลือและผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือแล้วจะประเมินสถานการณ์หรือประเมินสภาพผู้ป่วย การประเมินสภาพผู้ป่วยเจ็บเบื้องต้น ๑. ตรวจระดับความรู้สึกตัว โดยการเรียกผู้ป่วยเจ็บและตีที่ไหล่เบา ๆ
๒. ร้องขอความช่วยเหลือ
๓. ตรวจทางเดินหายใจ นำสิ่งแปลกปลอมและฟันปลอมออกจากปาก แล้วเปิดทางเดินหายใจ โดยใช้สันมือกดหน้าผาก ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลาง ของมืออีกข้างหนึ่งเชยคางให้แหงนหน้าขึ้น ๔. ตรวจการหายใจ โดยสังเกตการเคลื่อนไหวของหน้าอก และ ลมหายใจ ใช้หลักตาดู หูฟัง แก้มสัมผัส ๕. ตรวจหาการบาดเจ็บ โดยตรวจตั้งแต่ศีรษะ จรดปลายเท้า
ขั้นตอนการกู้ฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานในผู้ใหญ่ ๑. ตรวจระดับความรู้สึกตัวโดยการเรียกผู้ป่วยเจ็บ และตีที่ไหล่เบา ๆ
๒. ร้องขอความช่วยเหลือ และพลิกผู้ป่วยเจ็บให้นอนหงายราบบนพื้นเรียบแข็ง
๓. ถ้าผู้ป่วยเจ็บไม่ตอบสนอง ให้ช่วยการไหลเวียนโลหิตโดยการกดหน้าอก 30 ครั้ง ด้วยอัตราเร็วมากกว่า ๑๐๐ ครั้งต่อนาที กดลึก ๒ นิ้ว หรือ ๕ เซนติเมตร (ใช้มือข้างหนึ่งวางและใช้มืออีกข้างวางทับ แล้วใช้ส้นมือกดที่กึ่งกลางหน้าอก ) ๔. เปิดทางเดินหายใจ โดยใช้สันมือกดหน้าผาก ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมืออีกข้างหนึ่งเชยคางให้หน้าแหงนขึ้น และช่วยหายใจ โดยการเป่าปาก ๒ ครั้ง ครั้งละ ๑ วินาที
๕. หลังจากนั้นให้กดหน้าอกสลับกับการเป่าปาก ด้วยอัตรา ๓๐ ต่อ ๒ (นับเป็น ๑ รอบ) ประเมินผลการกู้ชีพทุก ๕ รอบ (ใช้เวลา ๒ นาที)
ในกรณีที่มีผู้ปฏิบัติการกู้ชีพมาช่วยเหลือเพิ่มขึ้น ควรสลับหน้าที่ของผู้ที่กดหน้าอก กับผู้ที่เป่าปากทุก ๒ นาที หรือทุก ๕ รอบ หมายเหตุ: ในกรณีไม่สามารถช่วยเป่าปากได้ สามารถใช้การกดหน้าอกอย่างต่อเนื่อง ด้วยอัตราเร็วมากกว่า ๑๐๐ ครั้งต่อนาที

อบรมให้ความรู้เรื่องสถานการณ์เด็กจมน้ำและปัจจัยเสี่ยงในการเกิด การจมน้ำ 11 สิงหาคม 2561
11
สิงหาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนเทศบาลตำบลฉลุง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

อภิปรายให้ความรู้เรื่องสถานการณ์เด็กจมน้ำและปัจจัยเสี่ยงในการเกิด การจมน้ำ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เด็กและเยาวชน และแกนนำจิตอาสาในชุมชนมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและพื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการปฐมพยาบาลให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นได้ จากการประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรมให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและพื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการปฐมพยาบาลให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นได้มีจำนวนคำถามทั้งหมด 10 ข้อ โดยใช้เกณฑ์แปลผล ดังนี้
1. ระดับคะแนน 9-10  แปลผลว่า มีความรู้อยู่ในระดับมากที่สุด
2.ระดับคะแนน 7-8 แปลผลว่า มีความรู้อยู่ในระดับมาก
3.ระดับคะแนน 5-6  แปลผลว่า มีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง
4.ระดับคะแนน 3-4  แปลผลว่า มีความรู้อยู่ในระดับน้อย
5.ระดับคะแนน 1-2 แปลผลว่า มีความรู้อยู่ในระดับน้อยที่สุด

ตารางประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรม

กลุ่มเป้าหมาย จำนวน เกณฑ์แปลผล ทดสอบความรู้ ก่อนการอบรม คิดเป็นร้อยละ หลังการอบรม คิดเป็นร้อยละ 1.เด็กและเยาวชน 30 มากที่สุด 0 0 20 66.67 มาก 9 30 7 23.33 ปานกลาง 17 56.7 3 10 น้อย 4 13.3 0 0 น้อยที่สุด 0 0 0 0 รวม 30 100 30 100 2.แกนนำจิตอาสา 20 มากที่สุด 0 0 16 80 มาก 11 55 4 20 ปานกลาง 9 45 0 0 น้อย 0 0 0 0 น้อยที่สุด 0 0 0 0 รวม 20 100 30 100

จากตารางประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรม พบว่า ก่อนการอบรมกลุ่มเป้าหมาย 1. เด็กและเยาวชนมีความรู้อยู่ในระดับมาก จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 30 ระดับปานกลาง จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 56.7 และระดับน้อย จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 13.3กลุ่มเป้าหมาย2.แกนนำจิตอาสา มีความรู้อยู่ในระดับมาก จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 55 และระดับปานกลาง จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 45 หลังการอบรมกลุ่มเป้าหมาย 1. เด็กและเยาวชน มีความรู้อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 66.67 ระดับมาก จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 23.33 และระดับปานกลาง จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 10 กลุ่มเป้าหมาย 2.แกนนำจิตอาสามีความรู้อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 80 และระดับมาก จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 20

ตารางเปรียบเทียบคะแนนก่อน-หลังการอบรม กลุ่มเป้าหมาย 1. เด็กและเยาวชน

ก่อนการอบรม หลังการอบรม คะแนนที่ได้ จำนวนคน คิดเป็นร้อยละ คะแนนที่ได้ จำนวนคน คิดเป็นร้อยละ 8 3 10 10 15 50 7 6 20 9 5 16.7 6 9 30 8 6 20 5 8 26.7 7 1 3.3 4 3 10 6 3 10 3 1 3.3 - - - รวม 30 100 รวม 30 100
จากตารางเปรียบเทียบคะแนนก่อน-หลังการอบรม พบว่า กลุ่มเป้าหมาย 1. เด็กและเยาวชนก่อนการอบรมได้คะแนนสูงสุดที่ 8 คะแนน จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 10 รองลงมา 7 คะแนน จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 20คะแนนน้อยที่สุดที่ 3 คะแนน จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 3.3และความถี่ที่ได้มากที่สุด คือ 6 คะแนน จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 30หลังการอบรมได้คะแนนสูงสุดที่ 10 คะแนน จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 50 รองลงมา 9 คะแนน จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 16.7คะแนนน้อยที่สุดที่ 6 คะแนน จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 10และความถี่ที่ได้มากที่สุดคือ 10 คะแนน จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 50เมื่อนำมาเปรียบเทียบการประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรม เด็กและเยาวชน มีความรู้เพิ่มขึ้นจำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 100

กลุ่มเป้าหมาย 2.แกนนำจิตอาสา

ก่อนการอบรม หลังการอบรม คะแนนที่ได้ จำนวนคน คิดเป็นร้อยละ คะแนนที่ได้ จำนวนคน คิดเป็นร้อยละ 8 5 25 10 12 60 7 6 30 9 4 20 6 3 15 8 2 10 5 6 30 7 2 10 รวม 20 100 รวม 20 100 จากตารางเปรียบเทียบคะแนนก่อน-หลังการอบรม พบว่า กลุ่มเป้าหมาย 2.แกนนำจิตอาสาก่อนการอบรม ได้คะแนนสูงสุดที่ 8 คะแนน จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 25 รองลงมา 7 คะแนน จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 30 คะแนนน้อยที่สุดที่ 5 คะแนน จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 30 และความถี่ที่ได้มากที่สุด คือ 5 และ 7 คะแนน จำนวนละ 6 คน คิดเป็นร้อยละ 30 หลังการอบรม ได้คะแนนสูงสุดที่ 10 คะแนน จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 60 รองลงมา 9 คะแนน จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 20 คะแนนน้อยที่สุดที่ 7 คะแนน จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 10และความถี่ที่ได้มากที่สุดคือ 10 คะแนน จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 60 เมื่อนำมาเปรียบเทียบการประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรม 2.แกนนำจิตอาสา มีความรู้เพิ่มขึ้นจำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 100 สรุปได้ว่าจาการทำแบบทดสอบทั้ง 2 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้นทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100บรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 1