กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการทั้งหมด จำนวน 50 คนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.เด็กและเยาวชน จำนวน 30 คน 2.แกนนำจิตอาสา 20 คน คิดเป็นร้อยละ 100 1.1 วัตถุประสงค์ข้อที่ 1เพื่อให้เด็กและเยาวชน และแกนนำจิตอาสาในชุมชนมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและพื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการปฐมพยาบาลให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นได้ จากการประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรมให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำและพื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการปฐมพยาบาลให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นได้มีจำนวนคำถามทั้งหมด 10 ข้อ โดยใช้เกณฑ์แปลผล ดังนี้
1. ระดับคะแนน 9-10  แปลผลว่า มีความรู้อยู่ในระดับมากที่สุด
2.ระดับคะแนน 7-8 แปลผลว่า มีความรู้อยู่ในระดับมาก
3.ระดับคะแนน 5-6  แปลผลว่า มีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง
4.ระดับคะแนน 3-4  แปลผลว่า มีความรู้อยู่ในระดับน้อย
5.ระดับคะแนน 1-2 แปลผลว่า มีความรู้อยู่ในระดับน้อยที่สุด

ตารางประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรม

กลุ่มเป้าหมาย จำนวน เกณฑ์แปลผล ทดสอบความรู้ ก่อนการอบรม คิดเป็นร้อยละ หลังการอบรม คิดเป็นร้อยละ 1.เด็กและเยาวชน 30 มากที่สุด 0 0 20 66.67 มาก 9 30 7 23.33 ปานกลาง 17 56.7 3 10 น้อย 4 13.3 0 0 น้อยที่สุด 0 0 0 0 รวม 30 100 30 100 2.แกนนำจิตอาสา 20 มากที่สุด 0 0 16 80 มาก 11 55 4 20 ปานกลาง 9 45 0 0 น้อย 0 0 0 0 น้อยที่สุด 0 0 0 0 รวม 20 100 30 100

จากตารางประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรม พบว่า ก่อนการอบรมกลุ่มเป้าหมาย 1. เด็กและเยาวชนมีความรู้อยู่ในระดับมาก จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 30 ระดับปานกลาง จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 56.7 และระดับน้อย จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 13.3กลุ่มเป้าหมาย2.แกนนำจิตอาสา มีความรู้อยู่ในระดับมาก จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 55 และระดับปานกลาง จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 45 หลังการอบรมกลุ่มเป้าหมาย 1. เด็กและเยาวชน มีความรู้อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 66.67 ระดับมาก จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 23.33 และระดับปานกลาง จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 10 กลุ่มเป้าหมาย 2.แกนนำจิตอาสามีความรู้อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 80 และระดับมาก จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 20

ตารางเปรียบเทียบคะแนนก่อน-หลังการอบรม กลุ่มเป้าหมาย 1. เด็กและเยาวชน

ก่อนการอบรม หลังการอบรม คะแนนที่ได้ จำนวนคน คิดเป็นร้อยละ คะแนนที่ได้ จำนวนคน คิดเป็นร้อยละ 8 3 10 10 15 50 7 6 20 9 5 16.7 6 9 30 8 6 20 5 8 26.7 7 1 3.3 4 3 10 6 3 10 3 1 3.3 - - - รวม 30 100 รวม 30 100
จากตารางเปรียบเทียบคะแนนก่อน-หลังการอบรม พบว่า กลุ่มเป้าหมาย 1. เด็กและเยาวชนก่อนการอบรมได้คะแนนสูงสุดที่ 8 คะแนน จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 10 รองลงมา 7 คะแนน จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 20คะแนนน้อยที่สุดที่ 3 คะแนน จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 3.3และความถี่ที่ได้มากที่สุด คือ 6 คะแนน จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 30หลังการอบรมได้คะแนนสูงสุดที่ 10 คะแนน จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 50 รองลงมา 9 คะแนน จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 16.7คะแนนน้อยที่สุดที่ 6 คะแนน จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 10และความถี่ที่ได้มากที่สุดคือ 10 คะแนน จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 50เมื่อนำมาเปรียบเทียบการประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรม เด็กและเยาวชน มีความรู้เพิ่มขึ้นจำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 100

กลุ่มเป้าหมาย 2.แกนนำจิตอาสา

ก่อนการอบรม หลังการอบรม คะแนนที่ได้ จำนวนคน คิดเป็นร้อยละ คะแนนที่ได้ จำนวนคน คิดเป็นร้อยละ 8 5 25 10 12 60 7 6 30 9 4 20 6 3 15 8 2 10 5 6 30 7 2 10 รวม 20 100 รวม 20 100 จากตารางเปรียบเทียบคะแนนก่อน-หลังการอบรม พบว่า กลุ่มเป้าหมาย 2.แกนนำจิตอาสาก่อนการอบรม ได้คะแนนสูงสุดที่ 8 คะแนน จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 25 รองลงมา 7 คะแนน จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 30 คะแนนน้อยที่สุดที่ 5 คะแนน จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 30 และความถี่ที่ได้มากที่สุด คือ 5 และ 7 คะแนน จำนวนละ 6 คน คิดเป็นร้อยละ 30 หลังการอบรม ได้คะแนนสูงสุดที่ 10 คะแนน จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 60 รองลงมา 9 คะแนน จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 20 คะแนนน้อยที่สุดที่ 7 คะแนน จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 10และความถี่ที่ได้มากที่สุดคือ 10 คะแนน จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 60 เมื่อนำมาเปรียบเทียบการประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรม 2.แกนนำจิตอาสา มีความรู้เพิ่มขึ้นจำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 100 สรุปได้ว่าจาการทำแบบทดสอบทั้ง 2 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้นทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100บรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 1

1.2 วัตถุประสงค์ข้อที่ 2เพื่อให้เด็กและเยาวชน และแกนนำจิตอาสาในชุมชน มีทักษะในการช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้อย่างต่อเนื่อง จากการฝึกปฏิบัติทักษะในการช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ ซึ่งทดสอบเป็นรายกลุ่มพบว่า ทุกคนสามารถทำได้ทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100 บรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 โดยมีเนื้อหาการอบรม ดังนี้ (1) การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) หรือ การกู้ชีวิต หรือการกู้ชีพ หมายถึง การปฏิบัติการเพื่อช่วยฟื้นการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด ที่หยุดทำงานอย่างกะทันหัน เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นเองได้ตามปกติ โดยไม่เกิดความพิการของสมอง   ซึ่งเมื่อเราพบคนหมดสติ สิ่งแรกที่ควรมี คือ สติ และสิ่งที่สำคัญ คือ ความปลอดภัยของผู้ให้การช่วยเหลือและผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือแล้วจะประเมินสถานการณ์หรือประเมินสภาพผู้ป่วย การประเมินสภาพผู้ป่วยเจ็บเบื้องต้น ๑. ตรวจระดับความรู้สึกตัว โดยการเรียกผู้ป่วยเจ็บและตีที่ไหล่เบา ๆ
๒. ร้องขอความช่วยเหลือ
๓. ตรวจทางเดินหายใจ นำสิ่งแปลกปลอมและฟันปลอมออกจากปาก แล้วเปิดทางเดินหายใจ โดยใช้สันมือกดหน้าผาก ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลาง ของมืออีกข้างหนึ่งเชยคางให้แหงนหน้าขึ้น ๔. ตรวจการหายใจ โดยสังเกตการเคลื่อนไหวของหน้าอก และ ลมหายใจ ใช้หลักตาดู หูฟัง แก้มสัมผัส ๕. ตรวจหาการบาดเจ็บ โดยตรวจตั้งแต่ศีรษะ จรดปลายเท้า
ขั้นตอนการกู้ฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานในผู้ใหญ่ ๑. ตรวจระดับความรู้สึกตัวโดยการเรียกผู้ป่วยเจ็บ และตีที่ไหล่เบา ๆ
๒. ร้องขอความช่วยเหลือ และพลิกผู้ป่วยเจ็บให้นอนหงายราบบนพื้นเรียบแข็ง
๓. ถ้าผู้ป่วยเจ็บไม่ตอบสนอง ให้ช่วยการไหลเวียนโลหิตโดยการกดหน้าอก 30 ครั้ง ด้วยอัตราเร็วมากกว่า ๑๐๐ ครั้งต่อนาที กดลึก ๒ นิ้ว หรือ ๕ เซนติเมตร (ใช้มือข้างหนึ่งวางและใช้มืออีกข้างวางทับ แล้วใช้ส้นมือกดที่กึ่งกลางหน้าอก ) ๔. เปิดทางเดินหายใจ โดยใช้สันมือกดหน้าผาก ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมืออีกข้างหนึ่งเชยคางให้หน้าแหงนขึ้น และช่วยหายใจ โดยการเป่าปาก ๒ ครั้ง ครั้งละ ๑ วินาที
๕. หลังจากนั้นให้กดหน้าอกสลับกับการเป่าปาก ด้วยอัตรา ๓๐ ต่อ ๒ (นับเป็น ๑ รอบ) ประเมินผลการกู้ชีพทุก ๕ รอบ (ใช้เวลา ๒ นาที)
ในกรณีที่มีผู้ปฏิบัติการกู้ชีพมาช่วยเหลือเพิ่มขึ้น ควรสลับหน้าที่ของผู้ที่กดหน้าอก กับผู้ที่เป่าปากทุก ๒ นาที หรือทุก ๕ รอบ หมายเหตุ: ในกรณีไม่สามารถช่วยเป่าปากได้ สามารถใช้การกดหน้าอกอย่างต่อเนื่อง ด้วยอัตราเร็วมากกว่า ๑๐๐ ครั้งต่อนาที     (2) ทักษะในการช่วยเหลือตนเองในท่าต่างๆ เช่น
* ท่าลอยตัว มี 4 ท่า ได้แก่ ท่าปลาดาวหงาย ท่าปลาดาวคว่ำ ท่าแมงกะพรุน และท่าเต่า * ท่าว่ายน้ำเอาชีวิตรอด มี 2 ท่า ได้แก่ ท่าหมาตกน้ำ และท่ากรรเชียงหงาย ซึ่งก่อนที่จะทำท่าต่างๆ แกนนำด้านสุขภาพ ได้ฝึกการกำหนดลมหายใจใต้น้ำ และฝึกการเป่าลมใต้น้ำ ถึงแม้บางคนอาจจะทำได้ช้าแต่ทุกคนก็สามารถทำได้ทุกคน ทักษะในการช่วยเหลือผู้อื่นจากการจมน้ำ โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1. ตะโกนขอความช่วยเหลือ ว่า “ช่วยด้วยๆมีคนตกน้ำ” 2. โยนอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวเพื่อให้คนตกน้ำเกาะจับพยุงตัว เช่น เชือก ถังแกนลอนพลาสติก ขวดพลาสติก หรือวัสดุที่ลอยน้ำได้ 3. ยื่นสิ่งของยาวๆที่อยู่ใกล้ตัวให้คนตกน้ำจับ เช่น ท่อนไม้ เข็มขัด ผ้าขาวม้า ยื่นอุปกรณ์ไปข้างใดข้างหนึ่ง แล้วจึงกวาดเข้าหาตัวคนที่ตกน้ำและดึงขึ้นฝั่ง     (3) ทักษะการใช้อุปกรณ์ต่างๆเพื่อช่วยเหลือคนตกน้ำ ดังนี้ (3.1) การโยนได้แก่ (3.1.1) การโยนเชือก * ท่ายืน โดยยืนกางขาออกให้ขาที่ถนัดอยู่ด้านหน้า ขาที่ไม่ถนัดไว้ด้านหลัง เพื่อการทรงตัวที่ดี ใช้มือที่ข้างเท้าที่ถนัดจับปลายเชือกไว้ มืออีกด้านถือเชือกไว้พร้อมที่จะโยน การโยนเชือกให้โยนเลยเหนือศีรษะคนตกน้ำระหว่างช่วงไหล่ขณะดึงให้ย่อขาหน้าที่ถนัด ขาหลังตึงแล้วดึงขึ้นมา ระหว่างดึงให้เอนตัวไปข้างหลัง ขาหน้าตึงขาหลังงอ (3.1.2) การโยนห่วงชูชีพ * ท่าโยนเหนือศีรษะโดยยืนกางขาออกให้ขาที่ถนัดอยู่ด้านหน้า ขาที่ไม่ถนัดไว้ด้านหลัง เพื่อการทรงตัวที่ดี แล้วใช้มือทั้งสองข้างจับห่วงชูชีพยกขึ้นเหนือศีรษะ พร้อมทั้งโยนไปด้านหน้าของคนตกน้ำ ขณะดึงให้ย่อขาหน้าที่ถนัด ขาหลังตึงแล้วดึงขึ้นมา ระหว่างดึงให้เอนตัวไปข้างหลัง ขาหน้าตึง ขาหลังงอ * ท่าโยนใต้ขาโดยยืนกางขาออกให้ขาที่ถนัดอยู่ด้านหน้า ขาที่ไม่ถนัดไว้ด้านหลัง เพื่อการทรงตัวที่ดี ใช้มือทั้งสองข้างจับห่วงชูชีพถือไว้ระหว่างขาแล้วโยนไปด้านหน้าของคนตกน้ำ ขณะดึงให้ย่อขาหน้าที่ถนัด ขาหลังตึงแล้วดึงขึ้นมา ระหว่างดึงให้เอนตัวไปข้างหลัง ขาหน้าตึงขาหลังงอ

  • ท่าโยนมือเดียว โดยยืนกางขาออกให้ขาที่ถนัดอยู่ด้านหน้า ขาที่ไม่ถนัดไว้ด้านหลัง เพื่อการทรงตัวที่ดี ใช้มือที่ถนัดจับห่วงชูชีพ แล้วกางแขนออกประมาณ 45 องศา โยนห่วงชูชีพไปด้านหน้าของคนตกน้ำขณะดึงให้ย่อขาหน้าที่ถนัด ขาหลังตึงแล้วดึงขึ้นมา ระหว่างดึงให้เอนตัวไปข้างหลัง
    ขาหน้าตึงขาหลังงอ


    (3.1.3) การโยน Rescue Tube *ท่ายืน โดยยืนกางขาออกให้ขาที่ถนัดอยู่ด้านหน้า ขาที่ไม่ถนัดไว้ด้านหลัง เพื่อการทรงตัวที่ดี ใช้มือทั้งสองข้างจับ Rescue Tube แล้วโยน Rescue Tube ไปด้านหน้าของคนตกน้ำขณะดึงให้ย่อขาหน้าที่ถนัด ขาหลังตึงแล้วดึงขึ้นมา ระหว่างดึงให้เอนตัวไปข้างหลัง ขาหน้าตึง ขาหลังงอ (3.2) การยื่น ได้แก่ (3.2.1) การยื่นไม้
  • ท่ายืนโดยนำขาที่ถนัดก้าวไปข้างหน้า ขาที่ไม่ถนัดไว้ด้านหลัง ใช้มือทั้งสองข้างจับปลายไม้ไว้ในท่าที่ถนัด แล้วย่อขาด้านหน้าลง ขาหลังตึง พร้อมทั้งก้มตัวและยื่นไม้ไปด้านข้างแล้วกวาดเข้าหาตัวคนตกน้ำเมื่อคนตกน้ำจับไม้ได้ ให้สาวไม้นำคนตกน้ำขึ้นมา ขณะสาวไม้ให้เอนตัวไปด้านหลัง ขาหน้าตึง ขาหลังงอ
  • ท่านั่งโดยนั่งคุกเข่า 1 ข้าง ส่วนอีกข้างขาที่ถนัดให้ตั้งตรง ใช้มือทั้งสองข้างปลายไม้ไว้แนบข้างลำตัวข้างที่คุกเข่า พร้อมทั้งก้มตัวและยื่นไม้ไปด้านข้างแล้วกวาดเข้าหาตัวคนตกน้ำเมื่อคนตกน้ำจับไม้ได้ ให้สาวไม้นำคนตกน้ำขึ้นมา ขณะสาวไม้ให้เอนตัวไปด้านหลัง ขาหน้าตึง และวางก้นไว้บนขาหลัง
  • ท่านอนโดยให้นอนคว่ำ แล้วใช้มือทั้งสองข้างจับปลายไม้ไว้ยื่นไปยังคนจมน้ำ เมื่อคนตกน้ำจับไม้ได้ ให้คนช่วยพลิกตัวตะแคงและสาวไม้ดึงคนตกน้ำขึ้นมา (3.2.2) การยื่น Rescue Tube
  • ท่ายืนโดยนำขาที่ถนัดก้าวไปข้างหน้า ขาที่ไม่ถนัดไว้ด้านหลัง ใช้มือทั้งสองข้างจับ Rescue Tube แล้วย่อขาด้านหน้าลงพร้อมทั้งยื่น Rescue Tube ไปยังคนจมน้ำ เมื่อคนตกน้ำจับ Rescue Tube ได้ ให้สาว Rescue Tube นำคนตกน้ำขึ้นมา ขณะสาว Rescue Tube ให้เอนตัวไปด้านหลัง ขาหน้าตึง ขาหลังงอ
  • ท่านั่ง โดยนั่งคุกเข่า 1 ข้าง ส่วนอีกข้างขาที่ถนัดให้ตั้งตรง ใช้มือทั้งสองข้างปลายไม้ไว้แนบข้างลำตัวข้างที่คุกเข่า พร้อมทั้งก้มตัวและยื่นไม้ไปหน้าคนตกน้ำเมื่อคนตกน้ำจับ Rescue Tube ได้ ให้สาว Rescue Tube นำคนตกน้ำขึ้นมา ขณะสาวไม้ให้เอนตัวไปด้านหลัง ขาหน้าตึง และวางก้นไว้บนขาหลัง

    1.3 วัตถุประสงค์ข้อที่ 3เพื่อให้เด็กและเยาวชน และแกนนำจิตอาสาในชุมชน มีส่วนร่วมในการป้องกันเหตุการณ์จมน้ำในเขตพื้นที่ชุมชน กลุ่มเป้าหมายทุกคนมีส่วนร่วมในการป้องกันเหตุการณ์จมน้ำในเขตพื้นที่ชุมชนของตนเอง โดยกลุ่มเป้าหมายได้มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มจิตอาสาป้องกันการจมน้ำในชุมชนขึ้น โดยมีรายชื่อ ดังนี้
    1.  ด.ญ.พริมพิมาธังดิน 3.  ด.ช.อภิสิทธิ์ ศรีอินทรสุทธิ์ 5.  ด.ช.ภูวเนตร  แซ่ตัน
    7.  ด.ญ.ณัฐธิมา  ดวงรัตน์ 9.  ด.ญ.ชูฮาดา  หมาดมานัง 11.  ด.ญ.นัจมี  ระสุโสะ
    13.ด.ญ.นัซรีน่า  หลงสลำ 15.ด.ช.กล้าณรงค์  สมากัส

  1. ด.ช.ธนพัทธ์  สมากัส
  2. ด.ช.วุฒิพงศ์  จิระกุล
  3. น.ส.ณัฏฐธิดา รอดแก้ว
  4. ด.ญ.ลาตีฟะ  หมัดสา
    1. ด.ช.ภูเบศฎ์พูลสวัสดิ์ ๑0. ด.ญ.อัยญรินทร์ หอมนิยม
    2. ด.ญ.ดาริน  แก้วหนูนวล ๑4. ด.ช.วันชนะ  เขียนงาม
  5. นาย คณิน  แซ่ลิ่ม
  6. ด.ญ.ไพลิน  กองงาม
  7. ด.ญ.พชณัน  แซ่ลิ่ม ๒1. ด.ญ.สิรินดา  โกบปุเลา ๒3. ด.ช.ณัชดิศรณ์ทิคามี ๒5. ด.ญ.ธัญญรัตน์  ทิคามี ๒7. ด.ญ.วิลาสินี  สุวรรณรัตน์
  8. ด.ช.วีรภัทร  สุวรรณรัตน์
  9. ด.ช.พชร  ศรีนิ่ม
  10. ด.ช.ธนภัทร  ธรรมโชติ
  11. ด.ช.อธิภัทร กั่วพานิช
  12. ด.ช.ณัฐภัทรรอดแก้ว
  13. ด.ช.นิติธร  กั่วพานิช 41. ด.ช.อนัตตา  เจริญวิกกัย
  14. นางแสงจันทร์ แซ่ลิ่ม 45.นางชญาณ์นินท์สุวรรณรัตน์
  15. นางพิมพ์ชนก  ทิคามี
  16. นางบุญเอื้อ  อังสุธรรม
  17. นางสาวจงกล  ยี่สุ่นศรี
  18. นางจิต  กั่วพานิช
  19. นางฉอ้อน อังสุธรรม
  20. นางจินดา กั่วพานิช
  21. นางจุฑารัตน์ แก้วหนูนวล 30.นางสาวมาริสา  อับดุล 32.นางเพ็ญนภา  ชาตะพันธ์
  22. นายชัยยุทธศิริขันตยกุล
  23. นางสาวสะน๊ะ หมาดเต๊ะ
  24. นางรัชนีวรรณ เขียนงาม
  25. นางผุสดี จันทร์มี
  26. นางสาวสุนีย์ จบศรี
  27. นายนัน  หมาดมานัง
  28. นายอุเส็น  ระสุโสะ
  29. นางสาวยุพดี  พลประสิทธิ์
  30. นางอาจ์ลดา  จงเปาหยิน

    มีหน้าที่ ดังนี้
  31. เฝ้าระวังป้องกันการจมน้ำในชุมชน
  32. สำรวจพื้นที่เสี่ยงต่อการจมน้ำในชุมชน
  33. ประชาสัมพันธ์ เตือนภัยสถานการณ์น้ำ
  34. แก้ปัญหาเบื้องต้นพร้อมประสานงานเมื่อพบผู้ประสบเหตุ

    1.4 วัตถุประสงค์ข้อที่ 4เพื่อให้เด็กและเยาวชน และแกนนำจิตอาสาในชุมชน เพิ่มศักยภาพในการช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้ จากการฝึกปฏิบัติทักษะในการช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำพบว่า ทุกคนสามารถทำได้ทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100 บรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 4 โดยมีเนื้อหาการอบรม ดังนี้ (1) ทักษะการลอยตัว
      (1.1) ทักษะการลอยตัวกับขวดพลาสติก วิธีการฝึก ให้นักเรียนยืนอยู่ในน้ำจับขวดน้ำดื่มพลาสติกเอนตัวไปข้างหลังยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นพยายามให้ลำตัวขนานกับน้ำหูจมน้ำหน้าเงยแอ่นหน้าอก (1.2) ทักษะการลอยตัวกับถุงพลาสติก วิธีการฝึก ให้นักเรียนยืนอยู่ในน้ำใส่มือทั้งสองข้างไว้ในถุงพลาสติกโดยชูมือขึ้นแล้วนำมือลงน้ำ เมื่อในถุงมีอากาศถุงก็จะพองออกให้ใช้มือรวบปิดปากถุงไว้ให้แน่น จับถังไว้ที่หน้าอกของตนเอง แล้วเอนตัวไปข้างหลังยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นพยายามให้ลำตัวขนานกับน้ำหูจมน้ำหน้าเงยแอ่นหน้าอก โดยจากการประเมินทักษะการลอยตัวทุกคนสามารถทำได้ทุกคน บางคนทำได้เร็ง บางคนทำได้ช้า แต่ทุกคนก็สามารถทำได้


    (2) จำลองสถานการณ์การช่วยเหลือคนจมน้ำ   จากการจำลองสถานการณ์จมน้ำ พบว่า กลุ่มเป้าหมาย ทั้ง 2 กลุ่ม ได้ทำการจำลองเหตุการณ์การจมน้ำเป็นรายกลุ่ม โดยในแต่ละกลุ่ม สามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตามลำดับขั้นตอน ตั้งแต่การตั้งสติ มีผู้ควบคุมสถานการณ์ ความปลอดภัยของผู้ประสบเหตุ การประเมินสถานการณ์ การขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ การแบ่งภาระหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ การจัดลำดับการช่วยเหลือ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายได้ผ่านการประเมินทุกคน
    1.4 วัตถุประสงค์ข้อที่ 5เพื่อให้เด็กและเยาวชน และแกนนำจิตอาสาในชุมชนสร้างความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จากการเข้าร่วมกิจกรรมสันทนาการสร้างความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ให้ความร่วมมือที่ดีในการทำกิจกรรม มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกันทุกคน ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างเต็มใจ รู้จักการเสียสละแบ่งปัน ให้อภัยซึ่งกันและกัน รู้จักการแก้ปัญหาร่วมกัน รวมทั้งเกิดความสนุกสนาน เกิดรอยยิ้มที่จริงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชนมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ และพื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการปฐมพยาบาลให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นได้
ตัวชี้วัด : เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชนมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ และพื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการปฐมพยาบาลให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นได้ ร้อยละ 80
0.00

 

2 เพื่อให้เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชน มีทักษะในการช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้อย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด : เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชน มีทักษะในการช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้อย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 80
0.00

 

3 เพื่อให้เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชน มีส่วนร่วมในการป้องกันเหตุการณ์จมน้ำในเขตพื้นที่ชุมชน
ตัวชี้วัด : เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชน มีส่วนร่วมในการป้องกันเหตุการณ์จมน้ำในเขตพื้นที่ชุมชน ร้อยละ 100
0.00

 

4 เพื่อให้แกนนำจิตอาสาในชุมชน เพิ่มศักยภาพในการช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้
ตัวชี้วัด : แกนนำจิตอาสาในชุมชน เพิ่มศักยภาพในการช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้ ร้อยละ 80
0.00

 

5 เพื่อให้เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชนสร้างความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
ตัวชี้วัด : เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชนมีการสร้างความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันได้ ร้อยละ 80
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 30
กลุ่มวัยทำงาน 20 20
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชนมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ และพื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการปฐมพยาบาลให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นได้ (2) เพื่อให้เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชน มีทักษะในการช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้อย่างต่อเนื่อง (3) เพื่อให้เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชน มีส่วนร่วมในการป้องกันเหตุการณ์จมน้ำในเขตพื้นที่ชุมชน (4) เพื่อให้แกนนำจิตอาสาในชุมชน เพิ่มศักยภาพในการช่วยเหลือคนจมน้ำและทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำได้ (5) เพื่อให้เด็ก เยาวชน คณะกรรมการสภาเด็กเยาวชนเทศบาลตำบลฉลุงและแกนนำจิตอาสาในชุมชนสร้างความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมให้ความรู้เรื่องสถานการณ์เด็กจมน้ำและปัจจัยเสี่ยงในการเกิด การจมน้ำ  (2) อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องการฟื้นคืนชีพ (CPR) พร้อมฝึกปฏิบัติ (3) อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ โดยฝึกทักษะการลอยตัวในน้ำ พร้อมประเมินทักษะเป็นรายกลุ่ม(ลงสระว่ายน้ำ)  (4) อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องวิธีช่วยเหลือคนตกน้ำ/จมน้ำ (ตะโกน โยน ยื่น) ทักษะการช่วยเหลือคนจมน้ำพร้อมฝึกปฏิบัติกับอุปกรณ์ช่วยชีวิต (5)      กิจกรรมสันทนาการสร้างความสัมพันธ์ (6) อบรมเชิงปฏิบัติการ โดยฝึกทักษะการลอยตัวในน้ำและประเมินทักษะเป็นรายกลุ่ม และอบรมเชิงปฏิบัติการวิธีช่วยเหลือคนตกน้ำ/จมน้ำ(จมน้ำ ตะโกน โยน ยื่น)ทักษะการช่วยเหลือคนจมน้ำพร้อมประเมินและทดสอบโดยการจำลองสถานการณ์เป็นรายกลุ่ม

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh