กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่างิ้ว (รุ่นที่ 1)
รหัสโครงการ 61-L1529-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุตำบลท่างิ้ว
วันที่อนุมัติ 7 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 31 มกราคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กุมภาพันธ์ 2562
งบประมาณ 82,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาคมชูผล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.845,99.651place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2561 31 ม.ค. 2562 82,650.00
รวมงบประมาณ 82,650.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มง่าย เป็นต้น
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเข้าสู่ "สังคมสูงอายุ" มาแล้ว ตั้งแต่ปี 2548 โดยเกณฑ์ ที่สหประชาชาติกำหนด
คือมีสัดส่วนของผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินกว่าร้อยละ 10 หรือมีผู้มีอายุ 65 ปีขึ้นไปเกินกว่าร้อยละ 7 ถึงปี 2560 สัดส่วนผู้สูงอายุในประเทศไทยเกินกว่าร้อยละ 17 แล้ว กล่าวคือมีผู้สูงอายุมากกว่า 10 ล้านคน จากประชากรของประเทศ
ราว 65 ล้านคน ผู้สูงอายุกว่า 10 ล้านคนนี้มีส่วนหนึ่งที่ต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิง (Depen dent) จากความเสื่อมสภาพของร่างกายและจากโรคภัยไข้เจ็บที่ทำให้เกิดความพิการ เช่น จากโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ทำให้เกิดภาวะอัมพฤกษ์หรืออัมพาต หรือจากอุบัติเหตุต่างๆ จากการสำรวจเป็นระยะๆ พบผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงราวร้อยละ 10 หรือราว 1 ล้านคน โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ที่ต้องพึ่งพิงบางส่วน หรือเป็นประเภท"ติดบ้าน" ออกไปไหนไม่ได้ราวร้อยละ 85 หรือราว 8.5 แสนคน และต้องพึ่งพิงทั้งหมด หรือเป็นประเภท "ติดเตียง" ราวร้อยละ 15 หรือราว 1.5 แสนคน จำนวนผู้สูงอายุที่ติดบ้านติดเตียงมีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งจากสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจากสัดส่วนผู้สูงอายุ "วัยปลาย" ที่มากขึ้น เพราะอายุขัยเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็นลำดับ ประเทศไทยกำหนดนิยามผู้สูงอายุไว้ในพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ว่าหมายถึงผู้ที่มีอายุเกินกว่า 60 ปีขึ้นไป (ขณะที่ประเทศเจริญแล้วส่วนมากกำหนดที่อายุเกินกว่า 65 ปีขึ้นไปหรือมากกว่านั้น) ทั้งนี้มีการแบ่งผู้สูงอายุออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ วัยต้นอายุ 60-69 ปี วัยกลางอายุ 70-79 ปี และวัยปลายอายุ 80 ปีขึ้นไป ผู้สูงอายุวัยปลายย่อมมีโอกาส "ติดบ้านติดเตียง" สูงกว่าวัยต้นและวัยกลาง ปัญหาผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงปัจจุบันเป็นปัญหาใหญ่ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ประเทศไทยให้ความสนใจการแก้ปัญหาผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบมานานแล้ว โดยมีแผนผู้สูงอายุแห่งชาติเป็นแผนระยะยาว 20 ปี ฉบับแรกมาตั้งแต่ปี 2525 ในสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรมติณสูลานนท์ ปัจจุบันเป็นแผนฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) และมีกฎหมายเฉพาะ คือ พ.ร.บ. ผู้สูงอายุมาตั้งแต่ พ.ศ. 2546 แต่ระบบการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิง คือประเภทติดบ้าน ติดเตียงยังต้องการการพัฒนาอีกมาก ปัจจุบันในประเทศไทยมีระบบการดูแลที่พัฒนาขึ้นหลากหลาย เช่น (1) โรงพยาบาลบางแห่งเปิดแผนกบริการดูแลผู้สูงอายุติดเตียงขึ้นเป็นการเฉพาะ (2) มีสถานรับเลี้ยงดูผู้สูงอายุรวมกับ ผู้ป่วยติดเตียงอื่น (Nursing Home) (3) มีบริการส่งพนักงานไปดูแลประจำตามบ้าน เป็นต้น บริการเหล่านี้ยังต้องมีการพัฒนามาตรฐาน ระบบการกำกับดูแลและระบบการสนับสนุนอีกมาก โดยบริการเหล่านี้มีค่าใช้จ่ายสูงทั้งสิ้น รวมทั้งที่แต่ละบ้านใช้ญาติดูแลกันเอง โดยบางคนต้องลาออกจากงานมาดูแลและจำนวนมากที่จ้างแรงงานต่างชาติมาช่วยดูแล
ชมรมผู้สูงอายุตำบลท่างิ้วได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมให้สมาชิกในชมรมผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและสุขภาพจิตใจที่ดี ไม่ให้เป็นภาระแก่ครอบครัวชุมชน และสังคมต่อไป จึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลท่างิ้วขึ้น เนื่องจากโรงเรียนผู้สูงอายุ เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนาทักษะ และการศึกษาตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุ กิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุจะเป็นเรื่องที่ผู้สูงอายุสนใจและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ช่วยเพิ่มพูนความรู้ ทักษะชีวิตที่จำเป็น โดยวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถจากหน่วยงานต่างๆ ขณะเดียวกันก็เป็นพื้นที่ที่ผู้สูงอายุจะได้แสดงศักยภาพ โดยการถ่ายทอดภูมิความรู้ประสบการณ์ที่สั่งสมแก่บุคคลอื่นเพื่อสืบสานภูมิปัญญาให้คงคุณค่าคู่กับชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการกับทุกภาคส่วนในพื้นที่
  2. รับสมัครผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการฯ
  3. จัดกิจกรรมตามหลักสูตรเดือนละ 2 ครั้ง ตามแผนการสอนดังต่อไปนี้ แผนการสอนหน่วยที่ 1 ความมั่นคงแห่งชีวิตและสวัสดิการของผู้สูงอายุ ใช้เวลา ...4..ชั่วโมง

- สถานการณ์ของผู้สูงอายุไทย - สุขภาพของผู้สูงอายุในปัจจุบันของประเทศไทย - สวัสดิการ กฎหมายสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุ - กฎหมายในชีวิตประจำวันและสิทธิผู้สูงอาย แผนการสอนหน่วยที่ 2 การสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ใช้เวลา ...4.. ชั่วโมง - การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 4 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ และอนามัย) - ประเภทของอาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ - อาหารที่เหมาะสมในผู้สูงอายุเฉพาะโรค แผนการสอนหน่วยที่ 3 ความพิการจากความเสื่อม ใช้เวลา .4.. ชั่วโมง - โรคและความพิการที่เกิดจากความเสื่อม - แนวทางการป้องกันและการดูแลรักษาโรคที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ แผนการสอนหน่วยที่ 4 การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุใช้เวลา ...4.. ชั่วโมง - ความสำคัญในการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ - ขั้นตอนการออกกำลังกายที่ถูกต้อง - สาธิตการออกกำลังกาย “ท่าออกกำลังกายระดับง่าย” - สาธิตการออกกำลังกาย “ท่าออกกำลังกายระดับยาก”

แผนการสอนหน่วยที่ 5 ผู้สูงอายุกับการหกล้มใช้เวลา ...8.. ชั่วโมง - อบรมกระบวนการชราที่มีผลต่อการหกล้ม - อบรมวิธีออกกำลังกายเพื่อป้องกันการหกล้ม - ปัจจัยเสี่ยงต่อการล้มในผู้สูงอายุ
- เกร็ดกันล้ม - ฝึกท่าการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันการหกล้ม(กิจกรรม กันล้ม กันลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย) - กิจกรรมส่งเสริมการป้องกันการหกล้มหัวข้อ “การทรงตัวที่ดี” - กิจกรรมส่งเสริมการป้องกันการหกล้มหัวข้อ “เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ”

แผนการสอนหน่วยที่ 6 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตแก่ผู้สูงอายุ ใช้เวลา ..16.. ชั่วโมง - การส่งเสริมสุขภาพจิตการจัดการความเครียดและอารมณ์ผู้สูงอายุ
- ประเมินความเศร้าผู้สูงอายุตามแบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย
- ประเมินความวิตกกังวล - เทคนิคการคลายเครียด - ความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ - กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตแก่ผู้สูงอายุ แผนการสอนหน่วยที่ 7 การป้องกันโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ใช้เวลา ..16... ชั่วโมง - สาเหตุการเกิดภาวะสมองเสื่อม
- อาการอาการแสดงและแนวทางการป้องการเกิดภาวะสมองเสื่อม - กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ แผนการสอนหน่วยที่ 8 การเยี่ยมบ้านเพื่อดูแลสังคมจิตใจผู้สูงอายุ ใช้เวลา ..4... ชั่วโมง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีจิตใจแจ่มใส
  2. ลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
  3. พัฒนาผู้สูงจากกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน เป็นกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม ติดชุมชน
  4. ผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
  5. เกิดความรัก ความสามัคคี มีการเอื้ออาทรในชมรม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2561 14:36 น.