กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโภชนาการพัฒนาการเด็กอายุ 0 -5 ปี
รหัสโครงการ 61-L2514-1-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ลาโละ
วันที่อนุมัติ 30 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 12,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฟูซียะห์ เจ๊ะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาว มารียัม เจ๊ะโว๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.343,101.59place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2561 30 ก.ย. 2561 12,500.00
รวมงบประมาณ 12,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 125 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโภชนาการจากการขาดสารอาหารเป็นสิ่งที่พบได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กแรกเกิดถึง ๕ ปี ซึ่งสาเหตุที่เด็กขาดสารอาหารมีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การเลี้ยงดูบุตร ความเชื่อในการบริโภคอาหารที่ผิดๆ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ เป็นต้นซึ่งปัญหาเหล่านี้มีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพเด็กทำให้เด็กมีร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันโรคต่ำ พัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญาจะช้าลง ดั้งนั้นการส่งเสริมภาวะโภชนาการของเด็กในวัยนี้มีความสำคัญมาก เพื่อเด็กเหล่านี้มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ได้รับอาหารที่มีคุณค่า จึงจำเป็นต้องให้มีความรู้ในเรื่องการบริโภคอาหารและโภชนาการแก่ผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูเด็ก ควรเริ่มตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์และหลังคลอดให้สามารถเลี้ยงดูเด็กได้อย่างถูกต้องตามหลักโภชนาการ ทั้งนี้เพื่อจะได้เป็นรากฐานของการพัฒนาเพื่อให้เป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งทางด้านร่างกายจิตใจอารมณ์สังคมและสติปัญญาเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพสูงในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาโละ ตามรายงานพบว่ามีเด็กอายุ ๐-๕ ปี ทั้งหมด ๓๖๔ คน ได้รับการชั่งน้ำหนักทั้งหมด ๓๕๖ คนคิดเป็นร้อยละ ๙๗.๘๐ เป็นเด็กน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ ๓๑๖ คน เป็นเด็กน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ ๕ คน เป็นเด็กน้ำหนักค่อนข้างมาก ๑ คน เป็นเด็กน้ำหนักค่อนข้างน้อย ๑๒ คน และเป็นเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ๒๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๕.๘๙ ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาที่มีระดับความรุนแรงในระดับหนึ่ง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความร่วมมือกันในการแก้ปัญหาดังกล่าว
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลลาโละ และแกนนำอสม.โภชนาการ ตำบลลาโละ ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการเด็ก ๐-๕ ปี ๖๑ ตำบลลาโละอำเภอรือเสาะจังหวัดนราธิวาสประจำปี ๒๕๖๑ ขึ้นเพื่อลดภาวะ การขาดสารอาหารในเด็กซึ่งจะส่งผลทำให้เด็กมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือน

เด็กของเด็กอายุ ๐ – ๖๐ เดือนได้รับการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงร้อยละ ๙๕

95.00
2 เพื่อให้เด็กแรกเกิด - 6 ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม

เพื่อให้เด็กแรกเกิด - 6 ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม 

80.00
3 เพื่อให้เด็กแรกเกิด - 6 ปี ที่พัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติ

เด็กอายุแรกเกิด- ๖ปี ได้รับการตรวจพัฒนาการ ร้อยละ ๙๕

95.00
4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปกครอง และผู้เลี้ยงดูเด็กให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริมพัฒนาการ เด็กแรกเกิด - 6 ปี

มีภาคีเครือข่ายสนับสนุนในการดำเนินโครงการ

0.00
5 เพื่อสร้างเสริมความรัก ความสัมพันธ์ระหว่างเด็ก และผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก

มีครอบครัวต้นแบบด้านโภชนาการและพัฒนาการที่ดีในชุมชนเพิ่มมากขึ้น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
23 - 31 ก.ค. 61 จัดเวทีให้ความรู้และเสวนาแก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 9-42 เดือนในชุมชน เป็นรายหมู่บ้าน จำนวน 4 หมู่บ้าน โดยให้ผู้ปกครอง ครอบครัวตัวอย่าง ด้านเด็กที่มีโภชนาการดี และพัฒนาการสมวัย มาเป็นวิทยากร 124 12,400.00 12,400.00
รวม 124 12,400.00 1 12,400.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) ขั้นวางแผน(Plan)
๑. กำหนดกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ ๒.สำรวจข้อมูลเด็กช่วงอายุที่ต้องคัดกรองพัฒนาการทุกเดือนและข้อมูลเด็กอายุ0-72เดือนที่ต้องชั่งน้ำหนักทุก3เดือนในเขตรับผิดชอบ ๓. เขียนแผน/โครงการ เพื่อเสนออนุมัติ ๔.. ประชุมชี้แจงโครงการแก่อาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการให้ชุมชนรับทราบ
๕. ดำเนินงานตามโครงการ ขั้นดำเนินการ(Do) ๑. กิจกรรม จัดเวทีให้ความรู้ -จัดเวทีให้ความรู้และเสวนาแก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 9-42 เดือนในชุมชน เป็นรายหมู่บ้าน จำนวน 4 หมู่บ้าน -โดยให้ผู้ปกครอง ครอบครัวตัวอย่าง ด้านเด็กที่มีโภชนาการดี และพัฒนาการสมวัย มาเป็นวิทยากร ๒. กิจกรรม ตรวจคัดกรองพัฒนาการเชิงรุก -แจกรายชื่อเด็ก 4 ช่วงวัย ให้ อสม.ติดตามเด็กในเขตรับผิดชอบ -ตรวจประเมินและคัดกรองพัฒนาการเด็ก 4 ช่วงวัย โดยใช้เครื่องมือ DSPM ทุกเดือน -ในรายที่ตรวจคัดกรองแล้ว พบว่า พัฒนาการล่าช้า นัดกระตุ้นพัฒนาการซ้ำอีก 1 เดือน -ในรายที่กระตุ้นซ้ำแล้ว พบว่า พัฒนาการล่าช้าอีก ส่งต่อพบแพทย์ด้านจิตวิทยา ที่โรงพยาบาลรือเสาะ ต่อไป ๓. กิจกรรม ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และวัดรอบศีรษะ เชิงรุก -แจกรายชื่อแก่ อสม.เพื่อติดตามเด็กในเขตรับผิดชอบมาชั่งน้ำหนักในหมู่บ้านทั้ง 4 หมู่บ้าน -ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และวัดรอบศีรษะ เด็ก อายุ 0-72 เดือน โดยแบ่งตามเขต อสม.รับผิดชอบ - โพสกราฟในสมุดสีชมพู -แจ้งผลการประเมิน ภาวะโภชนาการให้ผู้ปกครองทราบทันที -ในรายที่พบภาวะทุพโภชนาการ ติดตาม ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบศีรษะ ทุกเดือน
-แจกนม จ่ายยาเสริมธาตุเหล็ก และ จ่ายยาถ่ายพยาธิ
ขั้นตรวจสอบและประเมินผล(Check) ๑.ประเมินผลกิจกรรม จากผลการตรวจพัฒนาการ กลุ่มเด็กอายุ 4 ช่วงอายุ ๒.ประเมินผลกิจกรรมกลุ่มเด็กอายุ ๐-72 เดือน จากผลการประเมินภาวะโภชนาการ ๓.ประเมินการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการแกไขปัญหาพัฒนาการล่าช้าและภาวะทุพโภชนาการของชุมชน ๔.สรุปผลการดำเนินงาน ขั้นปรับปรุงและพัฒนา(Action) ๑.รายงานผลการดำเนินงาน ๒.ประชุมร่วมกันเพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ๓.ปรับปรุง/พัฒนาวางแผนการดำเนินงานในปีต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กแรกเกิด – 7๒ เดือน
  2. เด็กแรกเกิด - 6 ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม
  3. เด็กแรกเกิด - 6 ปี ที่พัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก 4.ผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 6 ปี
  4. สร้างเสริมความรัก ความสัมพันธ์ระหว่างเด็ก และผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2561 14:18 น.