กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอนามัยสิ่งแวดล้อมดี ใส่ใจสุขภาพประชาชนของชุมชนการเคหะตรัง
รหัสโครงการ 61-L1464-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดตรัง
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2018
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2018 - 30 กันยายน 2018
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.512,99.563place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เมืองน่าอยู่ แนวคิดขององค์การอนามัยโลก คือ กระบวนการที่ทำให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาพสังคม และพร้อมที่จะร่วมกันสรรค์สร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมในการดำรงชีวิตและในขณะเดียวกัน เมืองน่าอยู่ ก็คือเมืองที่มีการสร้างสรรค์และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทั้งด้านกายภาพและสังคมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการขยายแหล่งทรัพยากรชุมชนโดยให้ประชาชนในชุมชนนั้นมีส่วนร่วมและช่วยเหลือซึ่งกันและกันเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต เพื่อให้ได้ศักยภาพหรือคุณภาพของชีวิตที่ดีที่สุดการรักษาสภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น การจัดบ้านเรือนให้สะอาดเรียบร้อย การกำจัดขยะมูลฝอย การกำจัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลเป็นต้น จะเป็นการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุแมลงนำโรคและทำลายที่อยู่อาศัยของสัตว์พาหะโรคติดต่อต่างๆ
บ้านหรือที่พักอาศัยถือเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานต่อการดำนงชีวิตของมนุษย์ เป็นสถานที่ที่ประชาชนใช้ในการอยู่อาศัยและทำกิจกรรมต่างๆ แต่ปัจจุบันวิถีชีวิตและสภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ประชาชนละเลยต่อสภาพคาวามเป็นอยู่ของครอบครัว และไม่มีการจัดการดูแลที่พักอาศัยที่เหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องของการสุขาภิบาลขั้นพื้นฐานในครัวเรือน เช่น ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย สำหรับชุมชนหมู่บ้านการเคหะ หมู่ที่ 1 ตำบลควนธานี เป็นชุมชนที่มีพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ มีประชากรอาศัยประมาณ 505 หลังคาเรือนจากการสำรวจบ้านที่พักอาศัยด้วยแบบประเมินบ้านสะอาด อนามัยดี ชีวีสมบูรณ์เบื้องต้น ซึ่งมีรายละเอียดของเกณฑ์การประเมินรวมทั้งส้ิน 34 ข้อ พบว่าที่อยู่อาศัยของหมู่บ้านการเคหะ มีสภาพทรุดโทรม บริเวณบ้านสกปรกเลอะเทอะ มีน้ำขังเฉอะแฉะ มีกลิ่นรบกวน ท่อระบายน้ำในหมู่บ้านตัน มีกลิ่นเหม็นเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงและสัตว์นำโรคบ้านเรือนไม่มีการคัดแยกขยะมูลฝอย มีปริมาณขยะมูลฝอยจำนวนมาก และทิ้งกองในบริเวณที่ไม่เหมาะสม จากสภาพปัญหาข้างต้น วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง จึงให้ความสนใจที่แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลที่พักอาศัยของหมู่บ้านเคหะ หมูุ่ที่ 1 โดยจัดทำโครงการอนามัยสิ่งแวดล้อมดี ใส่ใจสุขภาพประชาชนของชุมชนการเคหะตรัง เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดและร่วมมือกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมในหมู่บ้านในทีี่พักอาศัยของตนเองให้สะอาด ถูกสุขลักษณะและรักษาให้เกิดความต่อเนื่องยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาความรู้ด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมของประชาชนในชุมชนการเคหะตรัง

ร้อยละ 80 ของประชาชนในชุมชนการเคหะตรังที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมเพิ่มสูงขึ้น

0.00
2 2.เพื่อพัฒนาแกนนำเยาวชนเฝ้าระวังอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชนการเคหะตรัง และโรงเรียนวัดควนธานี

1.ร้อยละ 80 ของนักเรียนในโรงเรียนวัดควนธานีได้รับการพัฒนาเป็นแกนนำเยาวชนเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชนที่อยู่อาศัย 2.ร้อยละ 80 ของเยาวชนในชุมชนการเคหะตรังได้รับการพัฒนาเป็นแกนนำเยาวชนเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่อยู่อาศัย 3.ร้อยละ 80 ของนักเรียนในโรงเรียนวัดควนธานีที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชนที่อยู่อาศัย 4.ร้อยละ 80 ของเยาวชนในชุมชนการเคหะตรังที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่อยู่อาศัย

0.00
3 3.เพื่อสงเสริมทักษะในการนำขยะกลับมาใช้ในรูปแบบต่างๆ ของประชาชน แกนนำ และเยาวชนในชุมชนการเคหะตรัง และโรงเรียนวัดควนธานี และการประกวดความคิดสร้างสรรค์ในการนำขยะกลับมาใช้ใหม่

1.ร้อยละ 80 ของประชาชนและเยาวชนในชุมชนการเคหะตรังที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการนำขยะกลับมาใช้ในรูปแบบต่างๆ 2.ร้อยละ 60 ของประชาชนและเยาวชนในชุมชนการเคหะตรังที่เข้าร่วมโครงการส่งประกวดความคิดเห็นสร้างสรรค์ในการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ 3.ร้อยละ 80 ของนักเรียนโรงเรียนวัดควนธานีที่เข้าร่วมโครงการทักษะในการนำขยะกลับมาใช้ในรูปแบบต่างๆ 4.ร้อยละ 80 ของนักเรียนโรงเรียนวัดควนธานีที่เข้าร่วมโครงการส่งประกวดความคิดสร้างสรรค์ในการนำขยะกลับมาใช้ใหม่

0.00
4 4.เพื่อพัฒนานวัตกรรมประผลิตภัณฑ์

มีนวัตกรรมประเภทผลิตภัณฑ์ด้านการลดปริมาณขยะและการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนเกิดขึ้นอย่างน้อย 1 นวัตกรรม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,700.00 4 24,600.00
17 พ.ค. 61 กิจกรรมการพัฒนาความรู้ด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมของประชาชนในชุมชนการเคหะตรัง 0 4,000.00 4,000.00
14 มิ.ย. 61 พัฒนาแกนนำเยาวชนเฝ้าระวังอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชนการเคหะตรัง และโรงเรียนวัดควนธานี 0 2,600.00 5,200.00
10 ก.ค. 61 การพัฒนาทักษะในการนำขยะกลับมาใช้ในรูปแบบต่างๆของประชาชน แกนนำ และเยาวชนในชุมชนการเคหะตรัง โรงเรียนวัดควนธานี และการประกวดความคิดสร้างสรรค์ในการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ 0 4,900.00 11,200.00
1 ส.ค. 61 พัฒนานวัตกรรมประเภทผลิตภัณฑ์ 0 4,200.00 4,200.00
  1. การสำรวจและวิเคราะห์สถานการณ์อนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชนการเคหะตรังเช่น การจัดการมูลฝอยในครัวเรือน
  2. การจัดกิจกรรมรณรงค์สร้างความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชน และแกนนำของชุมชนการเคหะตรัง
  3. การจัดกิจกรรมการเสริมสร้างความรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชนในชุมชนการเคหะตรังและโรงเรียนวัดควนธานี เพื่อพัฒนาแกนนำเยาวชนอนามัยเฝ้าระวังอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชนและโรงเรียน
  4. การจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะในการนำขยะกลับมาใช้ในรูปแบบต่างๆ
  5. การพัฒนานวัตกรรมประเภทผลิตภัณฑ์
  6. ประเมินผลโครงการและจัดทำรายงานเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลควนธานี
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เพื่อพัฒนาความรู้ด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมของประชาชนในชุมชนการเคหะตรัง 2.เพื่อพัฒนาแกนนำเยาวชนเฝ้าระวังอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชนการเคหะตรัง และโรงเรียนวัดควนธานี 3.เพื่อให้มีการเฝ้าระวังอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชนเคหะตรัง 4.เพื่อส่งเสริมทักษะในการนำขยะกลับมาใช้ในรูปแบบต่างๆกับประชาชน แกนนำ และเยาวชนในชุมชนการเคหะตรัง และโรงเรียนวัดควนธานีและการประกวดความคิดสร้างสรรค์ในการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ 5.เพื่อมีนวัตกรรมชุมชนด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ที่ช่วยลดหรือจัดการปัญหาความเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของชุมชนที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ชุมชนการเคหะตรัง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2018 10:52 น.