กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ป่าแก่บ่อหิน


“ ชุมชนร่วมใจต้านภัยโรคไม่ติดต่อแบบยั่งยืน ”

ตำบลป่าแก่บ่อหิน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นายสะบัน สำนักพงศ์

ชื่อโครงการ ชุมชนร่วมใจต้านภัยโรคไม่ติดต่อแบบยั่งยืน

ที่อยู่ ตำบลป่าแก่บ่อหิน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 61-L5295-1-03 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2561 ถึง 30 กันยายน 2561


กิตติกรรมประกาศ

"ชุมชนร่วมใจต้านภัยโรคไม่ติดต่อแบบยั่งยืน จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลป่าแก่บ่อหิน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ป่าแก่บ่อหิน ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ชุมชนร่วมใจต้านภัยโรคไม่ติดต่อแบบยั่งยืน



บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (2) เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และป้องกันตนเองไม่ให้เกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (3) เพื่อให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแก่เจ้าหน้าที่ และ อสม.ในการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็ง (2) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ 2ส ในกลุ่มเสี่ยงที่มีรอบเอวเกินมาตรฐาน (3) การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน (4) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้มหกรรมสุขภาพ (5) ตรวจคัดกรองความเสี่ยงในผู้ป่วยโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ในการทำกิจกรรมในครั้งต่อไป อาจทำกลุ่มย่อยเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้น .ปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ .ผู้ที่ร่วมคัดกรองเบาหวานความดันโลหิตสูง แล้วพบภาวะเสี่ยง ไม่ยอมตรวจซ้ำและปฏิเสธเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ส่วนที่ผู้ที่ป่วยเป็นโรคแล้วก็ไม่ตระหนักถึงอันตรายหรือภาวะแทรกซ้อนของโรค

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งดินลุ่ม ตำบลป่าแก่บ่อหิน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ในปีงบประมาณ 2560 (ตุลาคม 2558-กันยายน 2559) พบผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 79 ปี โรคความดันโลหิตสูง 201 ราย พบก้อนที่ผิดปกติบริเวณเต้านม 1 ราย และพบความผิดปกติบริเวณปากมดลูก 2 ราย ซึ่งพบว่าทั้งโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีอัตราป่วยค่อนข้างสูงง สาเหตุการเกิดโรคส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกายพบมากในคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ส่วนน้อยที่เกิดจากกรรมพันธุ์ กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร่วมกับรพ.สต.บ้านทุ่งดินลุ่ม ได้เล็งเห็นความสำคัญของการให้ความรู้ การค้นหาผู้ป่วย และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค โดยเน้นการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม มุ่งเน้นฝึกทักษะการดูแลตนเองของผู้ป่วย ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ญาติผู้ป่วย และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) โดยได้รวมกลุ่มเพื่อจัดตั้งเป็นชมรมผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งดินลุ่ม ตำบลป่าแก่บ่อหิน ปีงบประมาณ2560 ดังนั้น รพ.สต.บ้านทุ่งดินลุ่ม ตระหนักถีงปัญหาและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เนื่องจากสามารถป้องกันและรักษาได้ หากตรวจพบในระยะเริ่มแรก จึงได้จัดทำโครงการขึ้น โดยดึงพลังแกนนำของประชาชนทุกภาคส่วน เช่น อสม. กลุ่มสตรี กลุ่มสามี ร่วมดำเนินการโดยมุ่งหวังความสำเร็จสู่สุขภาพของประชาชนที่ดีขึ้นต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และป้องกันตนเองไม่ให้เกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  3. เพื่อให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแก่เจ้าหน้าที่ และ อสม.ในการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็ง
  2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ 2ส ในกลุ่มเสี่ยงที่มีรอบเอวเกินมาตรฐาน
  3. การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน
  4. ตรวจคัดกรองความเสี่ยงในผู้ป่วยโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)
  5. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้มหกรรมสุขภาพ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลงร้อยละ 5
  2. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 70
  3. กลุ่มเสี่ยงที่มีค่า BMIเกิน ลดลงมากกว่าร้อยละ 40
  4. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควบคุมความดันโลหิตได้ดีมากกว่าร้อยละ 50

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้มหกรรมสุขภาพ

วันที่ 28 กันยายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

1.ประกวดกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพในชุมชน (เหมาะสม มีความต่อเนื่อง และยั่งยืน) -ออกกำลังกายแบบบาสโลบ -แอโรบิกหนุ่มฟ้อหล่อเฟี้ยว -แอโรบิก 2.ประกวดอาหารเพื่อสุขภาพ -ยำปลาทูสมุนไพร -ขนมจีนเพื่อสุขภาพ -แกงเลียงเพื่อสุขภาพ 3.อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพเพื่อลดโรคเรื้อรัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 100 คน กระแสการตอบรับให้ความสนใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดีมาก ประเมินจากผลการสอบถาามความพึงพอใจผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทุกคนอยากให้มีกิจกรรมแบบนี้อีกในครั้งต่อๆไป

 

100 0

2. ตรวจคัดกรองความเสี่ยงในผู้ป่วยโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)

วันที่ 11 ตุลาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

ร่วมกิจกรรมตรวจคัดกรองความเสี่ยง ประเมินภาวะแทรกซ้อน ของโรคเบาหวาน โดยการตรวจประเมิน ไต ตา เท้า ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ไม่พบความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน

 

60 0

3. ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแก่เจ้าหน้าที่ และ อสม.ในการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็ง

วันที่ 16 ตุลาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแก่เจ้าหน้าที่ และ อสม.ในการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็ง
-โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงคืออะไร -อสม.กับการดูแลผู้ป่วย -การเจาะเลืดและการวัดความดัน -ฝึปฏิบัติการเจาะเลือดและการวัดความดัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีอสม. ผู้เข้ารับการอบรม และฝึกปฏิบัติ จำนวน 38 คน สามรถปฏิบัติได้ครบ100%

 

47 0

4. การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

-อบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง -สาธิตเมนูอาหารสุขภาพ -ทางเลือกในการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 242 คน ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีจำนวน 113 คน
ผํู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง เข้ารับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 53 คน รวมเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 60 คน

 

60 0

5. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ 2ส ในกลุ่มเสี่ยงที่มีรอบเอวเกินมาตรฐาน

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

-ประเมินระดับพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง -อบรมให้ความรู้ 3อ 2ส -มอบสมุดประจำตัวกลุ่มเสี่ยงเพื่อประเมินตนเองและเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ -จัดกิจกรรมในคลินิคหุ่นเพรียว เช่น การออกกำลังกายช่วงเย็นของทุกวัน -ประกวดผู้ที่สามารถลดพุงได้มากที่สุด ตามเกณฑ์ที่กำหนด -ประเมินการการปรับเปลี่ยนทุกเดือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มเสี่ยงที่มีค่าBMIเกิน ลดลง มากกว่าร้อยละ 40 -ประชากร 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจวัดBMI จำนวน338คน และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายกลุ่ม  1ครั้ง  จำนวน 100 คน มีBMI ลดลง 8 คน คิดเป้นร้อยละ 0.95

 

100 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

1.อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวานลดลงร้อยละ 5 -กลุ่มเสี่ยงเบาหวานจากการคัดกรอง 246คน ป่วยเป็นเบาหวานรายใหม่จำนวน 5 คน คิดเป้นร้อยละ 2.03 -กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงจากการคัดกรอง 92ราย ป่วยเป็นความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 1 ราย คิดเป้นร้อยละ 1.09 2.กลุ่มเสี่่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 70 -กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวานรวม 338คน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายบุคคลทุกคน และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายกลุ่ม 1 ครั้ง จำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 29.58 3.กลุ่มเสี่ยงที่มีค่า BMIเกินลดลง มากกว่าร้อยละ 40 -ประชากร 35ปีขึ้นไปได้รับการตรวจBMIจำนวน 838คน และได้ัรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายกลุ่ม1ครั้ง จำนวน 100 คน มีBMI ลดลง 8 คน คิดเป็นร้อยละ 0.95 4.ผู้ป่วยความดันโหลิตสูงสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดีมากกว่าร้อยละ 5-0 -ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน 242 คน สามารถควบคุมความดันได้ดีจำนวน 113 คน คิดเป็นร้อยละ 46.69

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
ตัวชี้วัด : .อัตราป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลงร้อยละ 5
0.00 2.03

พบกลุ่มเสี่ยงป่วยเป็นเบาหวานรายใหม่ จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.03 กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง ป่วยรายใหม่ความดันโลหิตสูง จำนวน 1 คน คิดเป้นร้อยละ 1.09

2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และป้องกันตนเองไม่ให้เกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
ตัวชี้วัด : กลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 70
0.00 70.00

กลุ่มเสี่ยงเบา่หวานและความดันโลหิตสูงจำนวน 338 คน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายบุคคลทุกคน รายกลุ่ม 1 ครั้ง จำนว 100 คนคิดเป้นร้อยละ 29.58

3 เพื่อให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
ตัวชี้วัด : 1.ผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีมากกว่าร้อยละ 40 2. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมความดันโลหิตได้ดีมากกว่าร้อยละ 50
0.00 46.69

ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน 242คน สามารถควบคุมความดันได้ดีจำนวน 113 คน คิดเป็นร้อยละ 46.69

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 160
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (2) เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และป้องกันตนเองไม่ให้เกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (3) เพื่อให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแก่เจ้าหน้าที่ และ อสม.ในการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็ง (2) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ 2ส ในกลุ่มเสี่ยงที่มีรอบเอวเกินมาตรฐาน (3) การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน (4) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้มหกรรมสุขภาพ (5) ตรวจคัดกรองความเสี่ยงในผู้ป่วยโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า)

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ในการทำกิจกรรมในครั้งต่อไป อาจทำกลุ่มย่อยเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้น .ปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ .ผู้ที่ร่วมคัดกรองเบาหวานความดันโลหิตสูง แล้วพบภาวะเสี่ยง ไม่ยอมตรวจซ้ำและปฏิเสธเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ส่วนที่ผู้ที่ป่วยเป็นโรคแล้วก็ไม่ตระหนักถึงอันตรายหรือภาวะแทรกซ้อนของโรค

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ชุมชนร่วมใจต้านภัยโรคไม่ติดต่อแบบยั่งยืน จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 61-L5295-1-03

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายสะบัน สำนักพงศ์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด