กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู


“ โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2561 ”

ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นายอริญชัย หลงเก

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2561

ที่อยู่ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 61-L5313-1-01 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2560 ถึง 30 กันยายน 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2561 จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2561



บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ความรู้และแนวทางในการป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่เครือข่าย (2) เพื่อเตรียมความพร้อมโรคระบาดไข้เลือดออกแก่เครือข่าย (3) เพื่อหามาตรการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่เครือข่าย (4) เพื่อสร้างกระแสความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก (2) เตรียมความพร้อมโรคระบาดไข้เลือดออกแก่เครือข่าย (3) ประชุม / อบรม / เวทีชุมชน (ประชุม) (4) กิจกรรมรณรงค์กำจัดขยะและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่เสี่ยง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ. 2560 (ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 สํานักระบาดวิทยา ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2560) มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (Dengue fever : DF, Dengue haemorrhagic fever : DHF, Dengue shock syndrome : DSS) สะสมรวม 46,712 ราย อัตราป่วย 71.40 ต่อประชากรแสนคน มีการรายงานจํานวนผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 16.39 (0.83 เท่า) เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2559 ณ ช่วงเวลาเดียวกัน ผู้ป่วยเสียชีวิต 58 ราย อัตราป่วยตายเท่ากับ ร้อยละ 0.12 ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 831 ราย การกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกตามกลุ่มอายุ ส่วนใหญ่พบในกลุ่มอายุ 10-14 ปี มีอัตราป่วยสูงสุด คือ 216.67 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาได้แก่ กลุ่มอายุ 5-9 ปี (152.99), อายุ 15-24 ปี (124.71) อายุ 0-4 ปี (72.67) และอายุ 25-34 ปี (71.70) ตามลําดับ สัดส่วนอาชีพที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือ นักเรียน ร้อยละ 42.83 รองลงมาได้แก่ รับจ้าง (ร้อยละ 20.26) และ ไม่ทราบอาชีพ (ร้อยละ 19.12) ตามลําดับ ผู้ป่วยเพศชาย 24,155 ราย เพศหญิง 22,557 ราย คิดเป็นอัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 1 : 0.93 การกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกรายภาค พบว่าภาคใต้ มีอัตราป่วยสูงที่สุด เท่ากับ 124.60 ต่อประชากรแสนคน จํานวนผู้ป่วย 11,525 ราย รองลงมา ได้แก่ ภาคกลาง อัตราป่วย 77.22 ต่อประชากรแสนคน จํานวนผู้ป่วย 16,993 ราย ภาคเหนืออัตราป่วย 74.42 ต่อประชากรแสนคน จํานวนผู้ป่วย 9,147 ราย และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อัตราป่วย 41.35 ต่อประชากรแสนคน จํานวนผู้ป่วย 9,047 ราย ตามลําดับ จังหวัด สตูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2560ถึงวันที่24 พฤศจิกายน 2560 นับตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2560 ถึงวันที่24 พฤศจิกายน 2560 สสจ.สตูลได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรวม(26,27,66)จำนวนทั้งสิ้น 61 รายคิดเป็นอัตราป่วย 19.48ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 2ราย อัตราตายต่อประชากรแสนคน เท่ากับ 0.64 อัตราผู้ป่วยตายเท่ากับร้อยละ3.28 พบผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชายโดยพบเพศหญิง 33รายเพศชาย 28รายอัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย เท่ากับ1.18 : 1 กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 15 -24ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ30 ราย รองลงมาคือ กลุ่มอายุ10 - 14ปี 25 - 34ปี,5 - 9ปี,0 - 4ปี, 55 -64 ปี, 45 - 54ปี,35 - 44 ปี และ 65ปี ขึ้นไปจำนวนผู้ป่วยเท่ากับ8,6,6,5,2, 2, 2และ 0ราย ตามลำดับ อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือนักเรียนจำนวนผู้ป่วยเท่ากับ28รายรองลงมาคือ อาชีพรับจ้าง, อาชีพ นปค., อาชีพเกษตร, อาชีพงานบ้าน, อาชีพราชการ, อาชีพอื่นๆ, อาชีพประมง, อาชีพทหาร/ตำรวจ, อาชีพบุคคลากรสาธารณสุข, อาชีพอาชีพพิเศษ, อาชีพนักบวช, อาชีพเลี้ยงสัตว์, อาชีพครู, อาชีพค้าขาย, จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 11,7,7,3,2,1,1,1,0,0,0,0,0,0, ราย ตามลำดับ อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคืออำเภอ มะนัง อัตราป่วยเท่ากับ 45.11ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ อำเภอท่าแพ, อำเภอทุ่งหว้า, อำเภอ เมือง, อำเภอละงู, อำเภอควนกาหลง,อำเภอควนโดน, อัตราป่วยเท่ากับ 35.04, 33.84,19.56, 11.31, 8.78, 7.73ราย ตามลำดับ จากสถานการณ์ในพื้นที่อำเภอละงู มีผู้ป่วยสะสม ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 25๖๐ จำนวน ๙๖ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๑๑.๓๑ ต่อประชากรแสนคน (รายงาน E1 ศูนย์ระบาดโรงพยาบาลละงู: 25๖๐) อัตราป่วยต่อแสนประชากร 5 ปี ย้อนหลัง ๒๕๕๖-25๖๐ เท่ากับ 233.62, 117.81, ๔.๓๑, ๕๑.๖๒ และ ๑๑.๓๑ ตามลำดับ (รายงาน 506 ศูนย์ระบาดโรงพยาบาลละงู: 25๖๐) และจำนวนผู้ป่วยสะสม โรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยไทร ทั้ง 7 หมู่บ้าน จำนวน ๗ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๑๐๑.๒๖ ต่อประชากรแสนคน พบว่ามีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วย 3 ปีย้อนหลัง และจากการวิเคราะห์การกระจายโรคตามพื้นที่พบว่ามีการกระจายโรคในชุมชนเป็นหลัก ที่มีหลังคาเรือนติดกัน 15 – 20 หลัง (พื้นที่หมู่ 5 บ้านทุ่งและหมู่ 8 บ้านนาพญา) รองลงมาเป็นโรงเรียน ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในวัยเรียน และวัยทำงาน สาเหตุการแพร่กระจายโรค ส่วนใหญ่จากการเคลื่อนย้ายระหว่างหมู่บ้านที่มีความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ และอีกปัจจัยคือการสุ่มสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย แสดงให้เห็นว่ามาตรการในการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคยังขาดความร่วมมือของชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือในระดับครัวเรือน ในการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจำเป็นต้องมีการรณรงค์ สื่อสารความเสี่ยงให้ทั่วถึง และบูรณาการทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาจากความสำคัญข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยไทร จึงตระหนักและให้ความสำคัญในการดำเนินงานควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขในพื้นที่ อันส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาระดับประเทศ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ เพื่อจัดการการป้องกันควบคุมโรคในชุมชนให้มีประสิทธิภาพด้วยการเสริมพลังการทำงานของเครือข่ายในชุมชนอย่างมีระบบและยั่งยืนต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ความรู้และแนวทางในการป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่เครือข่าย
  2. เพื่อเตรียมความพร้อมโรคระบาดไข้เลือดออกแก่เครือข่าย
  3. เพื่อหามาตรการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่เครือข่าย
  4. เพื่อสร้างกระแสความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก
  2. เตรียมความพร้อมโรคระบาดไข้เลือดออกแก่เครือข่าย
  3. ประชุม / อบรม / เวทีชุมชน (ประชุม)
  4. กิจกรรมรณรงค์กำจัดขยะและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่เสี่ยง

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. จำนวนผู้ป่วย ปี 25๖๑ ไม่เกินเกณฑ์อัตราป่วย ๕๐ ต่อประชากรแสนคน
    1. มีระบบรายงานค่า HI CI ออนไลน์โดยเครือข่ายและค่าที่ได้ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน
    2. แก่เครือข่ายความเข้าใจที่ถูกต้องสามารถกระจ่ายข่าวในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ ๔. ประชาชนมีความตระหนักและมีพฤติกรรมป้องกันตนเองจากไข้เลือดออกอย่างมีส่วนร่วม

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. อบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก

วันที่ 4 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

อบรมให้ความรู้เรีืองโรคไข้เลือดออก ณ ห้องประชุมเอนกประสงค์รพสตบ้านห้วยไทร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 100 จากการวัดความรู้ด้วยแบบทดสอบอัตนัย

 

100 0

2. เตรียมความพร้อมโรคระบาดไข้เลือดออกแก่เครือข่าย

วันที่ 4 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

อบรมเตรียมความพร้อมโรคระบาดไข้เลือดออกแก่เครือข่าย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีแนวทาง guideline 1 ชุด มีการซ้อมแผนโรคระบาดไข้เลือดออก 1 ครั้ง

 

100 0

3. ประชุม / อบรม / เวทีชุมชน (ประชุม)

วันที่ 4 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมหามาตรการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและอบรมพัฒนาระบบรายงานค่า HI CI ออนไลน์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทุกหมู่บ้านมีมาตรการทางสังคมในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก/มีฐานข้อมูลสำหรับการรายงานผลดัชนีลููกน้ำยุงลายทุกหมุ่บ้าน และมีการรายงานประจำเดือน เดือนละ 1 ครั้ง

 

100 0

4. กิจกรรมรณรงค์กำจัดขยะและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่เสี่ยง

วันที่ 4 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

รณรงค์กำจัดขยะและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่เสี่ยงดำเนินการวันที่ 13 17 และ 18 ตุลาคม 2561

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการดำเนินกิจกรรมทำความสะอาดบ้านเรือน สถานที่/ถนนสาธารณะ

 

50 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

บรรลุวัตถุประสงค์ จำนวน 3 วัตถุประสงค์ (1) เพื่อให้ความรู้และแนวทางในการป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่เครือข่าย (2) เพื่อเตรียมความพร้อมโรคระบาดไข้เลือดออกแก่เครือข่าย (3) เพื่อหามาตรการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่เครือข่าย ส่วนข้อ (4) เพื่อสร้างกระแสความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน เนื่องจาก ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายเกินเกณฑ์ CI = 10 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนการดำเนินการ เนื่องจากช่วงดำเนินการเป็นช่วงฤดูฝน ประกอบกับเศษภาชนะ ขยะตามบ้านเรือน และถนนสาธารณะยังมีสะสมอยู่ เกิดจากความตระหนักของแระชาชนและจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดในหมู่บ้าน

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ความรู้และแนวทางในการป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่เครือข่าย
ตัวชี้วัด : กลุ่มเป้าหมายมีความรู้หลังการอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐
80.00

 

2 เพื่อเตรียมความพร้อมโรคระบาดไข้เลือดออกแก่เครือข่าย
ตัวชี้วัด : มีแนวทาง Guideline ๑ ชุด มีการซ้อมแผนโรคระบาดไข้เลือดออก อย่างน้อย ๑ ครั้ง
1.00

 

3 เพื่อหามาตรการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่เครือข่าย
ตัวชี้วัด : - มีมาตรการ/ข้อตกลงการป้องกันโรคไข้เลือดออกทุกหมู่บ้าน (๗ หมู่บ้าน) - มีฐานข้อมูลค่า HI CI ออนไลน์
0.00

 

4 เพื่อสร้างกระแสความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
ตัวชี้วัด : - ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายไม่เกินเกณฑ์ CI=10 หรือลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนการดำเนินการ
10.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 100
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ความรู้และแนวทางในการป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่เครือข่าย (2) เพื่อเตรียมความพร้อมโรคระบาดไข้เลือดออกแก่เครือข่าย (3) เพื่อหามาตรการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่เครือข่าย (4) เพื่อสร้างกระแสความตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก (2) เตรียมความพร้อมโรคระบาดไข้เลือดออกแก่เครือข่าย (3) ประชุม / อบรม / เวทีชุมชน (ประชุม) (4) กิจกรรมรณรงค์กำจัดขยะและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่เสี่ยง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2561 จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 61-L5313-1-01

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายอริญชัย หลงเก )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด