กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาการจัดระบบสุขภาพตำบลคลองขุดสู่เป้าหมายลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L5300-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา)
วันที่อนุมัติ 8 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 45,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปิยวรรณ แสงทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.625,100.12place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 1200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
17.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
26.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงนับเป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ได้คุกคามชีวิตของคนไทยจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุของการป่วย พิการ และเสียชีวิต ตลอดจนเป็นภาระต่องบประมาณด้านการดูแลสุขภาพของคนไทยที่เพิ่มมากขึ้นในประเทศไทยนั้นมีอุบัติการณ์ของโรคเรื้อรังเบาหวานและความดันโลหิตสูงในแต่ละปีเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมากดังจะเห็นได้จากสถานบริการสาธารณสุขทั้งของภาครัฐ เอกชน และสถานบริการทุกระดับตั้งแต่ปฐมภูมิ ทุติยภูมิและตติยภูมิ ต่างแออัดไปด้วยผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ส่งผลให้งบประมาณที่รัฐจัดสรรให้สำหรับโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าตามรายหัวประชากรจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้จ่ายด้านยา บุคลากร การจัดสถานที่และเครื่องมือแพทย์ต่างๆ ในขณะที่งบประมาณของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด กระทรวงสาธารณสุขจึงมีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหากลุ่มโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (Metabolic syndrome) โดยมีการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยมีเป้าหมายประชากรกลุ่มอายุ35 ปีขึ้นไปทุกราย ต้องได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรค Metabolicด้วยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม (Verbal Screening) การวัดค่าความดันโลหิต การชั่งน้ำหนัก การวัดความสูง การวัดเส้นรอบเอว และการเจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อค้นหาพฤติกรรมเสี่ยงและค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น เพื่อที่จะมีการดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง รวมทั้งกลุ่มที่สงสัยจะเป็นโรคต้องส่งไปรับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกทุกราย อันจะส่งผลให้ลดความรุนแรงของโรคในรายที่ป่วยแล้วพร้อมบันทึกข้อมูลลงตามโปรแกรมคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง จากการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา) ได้ดำเนินงานตรวจคัดกรอง เบาหวานและความดันโลหิต ตามโครงการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในปีงบประมาณ 2560 พบว่าประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ทั้งหมด 800 คนพบว่า ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิต คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งจากการคัดกรองเบาหวาน พบว่า มีกลุ่มปกติ จำนวน 612 คน คิดเป็นร้อยละ 76.5 กลุ่มเสี่ยง จำนวน 136 คน คิดเป็นร้อยละ 17 และกลุ่มที่ต้องได้รับการรักษา/ส่งต่อ จำนวน 52 คน คิดเป็นร้อยละ 6.5 จากการคัดกรองความดันโลหิต พบว่า มีกลุ่มปกติ จำนวน 489 คน คิดเป็นร้อยละ 61.12 กลุ่มเสี่ยง จำนวน 213 คน คิดเป็นร้อยละ 26.63 และกลุ่มที่ต้องได้รับการรักษา/ส่งต่อ จำนวน 98 คน คิดเป็นร้อยละ 12.25 จากการตรวจคัดกรองดัชนีมวลกาย พบว่ากลุ่ม BMI ปกติ จำนวน 363 คน คิดเป็นร้อยละ 45.4 กลุ่ม BMI ต่ำ (ผอม) จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 16.7 และกลุ่ม BMI สูง (อ้วน) จำนวน 303 คน คิดเป็นร้อยละ 37.9 จากข้อมูลดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา) มีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปในปีงบประมาณ ๒๕๖๑ ทั้งสิ้น ๔,๐๕๐ คน จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาการจัดระบบสุขภาพตำบลคลองขุดสู่เป้าหมายลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 256๑ ขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตอย่างต่อเนื่องและบรรลุตามตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดไว้ร้อยละ 90 ของประชากร 35 ปีขึ้นไปตามชุดสิทธิประโยชน์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานอย่างน้อยร้อยละ 50

17.00 17.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง อย่างน้อยร้อยละ 50

26.00 26.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 45,700.00 3 45,700.00
28 มิ.ย. 61 ประชุมชี้แจงคณะทำงาน 0 250.00 250.00
11 ก.ค. 61 - 30 ส.ค. 61 กิจกรรมตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 0 31,250.00 31,250.00
12 ก.ย. 61 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงสูง 0 14,200.00 14,200.00
  1. อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย
  2. ตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันในกลุ่มเป้าหมายตามแผนที่ทำไว้
    1. ให้ อสม. ติดตามตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันในกลุ่มเป้าหมายที่ตกหล่นตามบ้าน
    2. จัดทำทะเบียนผู้เข้ารับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิต
    3. คีย์ข้อมูลการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตเข้าโปรแกรมคัดกรอง
    4. ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงไปยังชมรมออกกำลังกายของชุมชน -กลุ่มเสี่ยง ม.3 ส่งต่อไปยังชมรมออกกำลังกาย อสพส.หมู่ 3 -กลุ่มเสี่ยง ม.4 และ ม.7 ส่งต่อไปยังชมรมออกกำลังกาย อสพส.หมู่ ๔,7
  3. สรุปผลการคัดกรองแยกกลุ่มผู้ที่พบภาวะเสี่ยงเพื่อเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและแยกกลุ่มภาวะป่วยเข้ารับการรักษา
    ขั้นติดตามและประเมินผล 1.ติดตามและประเมินผลการดำเนินกิจกรรม 1.1.จำนวนผู้เข้ารับการอบรมและแบบสอบถามก่อนและหลัง (กิจกรรมอบรม) 1.2.จำนวนผู้เข้าการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิต (กิจกรรมตรวจคัดกรอง) 2.สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต 1. ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามชุดสิทธิประโยชน์อย่างน้อยร้อยละ 50 ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. กลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการคัดกรองเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 100 3. ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ที่ได้รับการคัดกรองเข้าสู่กระบวนการรักษาทุกราย ร้อยละ 100 4. เกิดนวัตกรรมโดยใช้ “ใบส่งต่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม HT,DM” ผลลัพธ์ 1. ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามชุดสิทธิประโยชน์ 2. ผู้ได้รับการคัดกรองตรวจพบภาวะเสี่ยงได้ผ่านกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3. ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ได้ผ่านกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2561 12:49 น.