กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรูปแบบกระตุ้นการฝากครรภ์โดยการมีส่วนร่วมของพี่เลี้ยง ANC ปี ๒๕๖๑
รหัสโครงการ 61-L5300-1-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา)
วันที่อนุมัติ 8 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 58,155.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกรรณิการ์ ปานทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.625,100.12place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง(คน)
60.00
2 จำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์(คน)
60.00
3 จำนวนหญิงคลอดได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด(คน)
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโต แข็งแกร่ง ยั่งยืนในทุกด้าน ประการสำคัญคือการมุ่งเน้นพัฒนาคนเป็นหลัก เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีมีศักยภาพ ซึ่งต้องเริ่มส่งเสริมดูแลตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งมารดาและเด็กควรได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและหลังคลอด งานอนามัยแม่และเด็กเป็นปัญหาสาธารณสุขเฉพาะที่สำคัญของพื้นที่อำเภอเมืองสตูล โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ได้แก่ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ เท่ากับร้อยละ ๔๓.๐๖ (เกณฑ์ของตัวชี้วัดมากกว่าร้อยละ ๖๐) ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ เท่ากับร้อยละ ๔๖.๖๗ (เกณฑ์ของตัวชี้วัดมากกว่าร้อยละ ๖๐) ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์สอดคล้องกับข้อมูลงานอนามัยแม่และเด็กของ รพ.สต.คลองขุด (สาขา) ในปี ๒๕๖๑ พบว่า หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๔๗ หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ ๓๘.๒๙ จากข้อมูลดังกล่าว พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเริ่มตั้งแต่การฝากครรภ์ครั้งแรกเกิน ๑๒ สัปดาห์จึงส่งผลให้มีการฝากครรภ์คุณภาพได้ไม่ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์อีกด้วย ดังนั้นกลุ่มเป้าหมายควรได้รับความรู้ให้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นของการฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์จึงเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญอันดับแรกในการดูแล คัดกรองเพื่อลดความเสี่ยง และให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องตามไตรมาสและการเสริมสร้างกิจกรรมรูปแบบของการกระตุ้นการฝากครรภ์ไวนี้จะเน้นหญิงตั้งครรภ์ได้มีส่วนร่วมในการดูแลตนเองเพื่อให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย
จากปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา) จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหา จึงได้มีการจัดรูปแบบของการกระตุ้นการฝากครรภ์ขึ้น เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลได้อย่างถูกต้องเหมาะสมโดยต้องอาศัยความร่วมมือและการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านแกนนำสตรีเพื่อให้มีส่วนร่วมในการค้นหาหญิงตั้งครรภ์เพื่อให้มีการฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ หรือฝากครรภ์ทันที่ที่รู้ว่าตนเองตั้งครรภ์เพื่อจะได้ค้นหาปัจจัยเสี่ยงเพื่อให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการฝากครรภ์คุณภาพ
๕ ครั้งตามเกณฑ์ มากกว่าร้อยละ ๖๐

60.00 60.00
2 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ลดการผิดปกติจากการตั้งครรภ์

ระบบงานอนามัยแม่และเด็กของ รพ.สต.ได้มาตรฐานงานคุณภาพตามกระทรวงกำหนด

60.00 60.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์เมื่ออายุครรภ์ ≤ ๑๒ สัปดาห์ มากกว่าร้อยละ ๖๐

60.00 60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 31,311.00 4 58,155.00
20 มิ.ย. 61 กิจกรรมให้ความรู้พัฒนาศักยภาพ “พี่เลี้ยง ANC” 0 26.00 31,070.00
3 ก.ค. 61 ประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของหญิงตั้งครรภ์ 0 6,530.00 6,530.00
20 ก.ค. 61 กระบวนการค้นหาติดตาม และเยี่ยมหลังคลอด โดยใช้ “สมุดกิจกรรม พี่เลี้ยง ANC” 0 15,075.00 8,250.00
26 ก.ย. 61 กิจกรรม ถอดบทเรียน 0 9,680.00 12,305.00

กิจกรรม ระบุวัน/ช่วงเวลา ๑. ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง มิถุนายน ๒. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน มิถุนายน ๓. จัดกิจกรรมให้ความรู้ ๓.๑ พัฒนาศักยภาพ “พี่เลี้ยง ANC” - อบรมให้ความรู้ - ระดมสมอง สู่กระบวนการค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่/หญิงวัยเจริญพันธุ์ และอภิปรายกลุ่ม - อบรมติดตามกระบวนการระดมสมอง มิถุนายน-กรกฎาคม ใช้เวลา ๑วัน


ใช้เวลา ๑วัน ๓.๒ ประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของหญิงตั้งครรภ์
- อบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และญาติ - แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ มิถุนายน-กรกฎาคม ใช้เวลา ๑ วัน

๔. กิจกรรม กระบวนการค้นหา ติดตาม และเยี่ยมหลังคลอด โดยใช้ “สมุดกิจกรรม พี่เลี้ยง ANC” - ค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ในเขตที่รับผิดชอบ - ติดตามให้ได้รับการฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ - ติดตามเยี่ยมหลังคลอด ๓ ครั้งตามเกณฑ์
โดยมี “สมุดกิจกรรมพี่เลี้ยง ANC” เป็นเครื่องมือในการติดตาม - ให้คำปรึกษาเบื้องต้นแก่หญิงตั้งครรภ์/หญิงวัยเจริญพันธุ์ มิถุนายน -กันยายน รายไตรมาส ๕.กิจกรรม ถอดบทเรียน
- พี่เลี้ยงANC แต่ละคน แชร์ประสบการณ์จากกรณีศึกษาที่ได้ปฏิบัติอย่างละเอียด เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- สรุปปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการ - ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงและพัฒนารูปแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับแต่ละชุมชน สิงหาคม – กันยายน ใช้เวลา ๑วัน ๖. สรุปและรายงานผล ภายใน ๓๐ วันหลังเสร็จสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต ๑. ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์เมื่ออายุครรภ์ ≤ ๑๒ สัปดาห์ มากกว่าร้อยละ ๖๐ ๒. ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการฝากครรภ์คุณภาพ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ มากกว่าร้อยละ ๖๐ ๓. ระบบงานอนามัยแม่และเด็กของ รพ.สต.ได้มาตรฐานงานคุณภาพตามกระทรวงกำหนด
๔. เกิดแกนนำ พี่เลี้ยง ANC ๕. เกิดนวัตกรรมในการติดตามโดยใช้ “สมุดกิจกรรมพี่เลี้ยง ANC” ผลลัพธ์ ๑. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์เมื่ออายุครรภ์ ≤ ๑๒ สัปดาห์ ลดภาวะเสี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ ๒. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแล และคัดกรองความเสี่ยง ๕ ครั้งตามเกณฑ์อย่างมีคุณภาพ ภายใต้การใช้ “สมุดกิจกรรมพี่เลี้ยง ANC” ๓. ระบบงานอนามัยแม่และเด็กของ รพ.สต. ได้มาตรฐานงานคุณภาพตามกระทรวงกำหนด ทำให้เกิด ความเชื่อมั่นแก่ผู้รับบริการและระบบงานมีประสิทธิภาพในการดูแลแม่และเด็กได้อย่างปลอดภัย
4. พี่เลี้ยง ANC สามารถนำความรู้ คำแนะนำในการดูแลตนเองเบื้องต้นแก่แม่และเด็กได้อย่างถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2561 14:15 น.