กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ปี ๒๕๖๑
รหัสโครงการ 61-L5300-5-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา)
วันที่อนุมัติ 8 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 มิถุนายน 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวต่วนบีรนี ดาราหมานเศษ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.625,100.12place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)
26.00
2 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคไข้ชิคุนกุนยา
19.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นโรคประจำถิ่นของประเทศไทยที่พบว่ามีการเกิดโรคขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหน้าฝน และพบโรคไข้ปวดข้อยุงลาย (โรคชิคุนกุนยา) เป็นบางปีกระจายไปหลายพื้นที่ที่ใกล้เคียงกันซึ่งมีแนวโน้มการเกิดโรคกับประชาชนทุกกลุ่มอายุหากมีการตรวจวินิจฉัยขั้นต้นไม่ถูกต้อง อาจนำไปสู่ภาวะเสี่ยงในผู้ป่วยบางรายถึงขั้นเสียชีวิต โดยเฉพาะในรายที่เป็นโรคไข้เลือดออก ที่มีการรั่วซึมของพลาสมา ในขณะป่วยที่เข้าสู่ระยะช็อก ถึงแม้ว่า โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (โรคชิคุนกุนยา) จะไม่รุนแรงถึงขั้นผู้ป่วยมีอาการช็อกจนเสียชีวิตเฉกเช่นเดียวกับไข้เลือดออก แต่อาการของโรค ซึ่งนั่น คือ อาการปวดข้อที่เป็นอาการร่วมของโรคจะส่งผลอย่างมากในผู้ป่วยบางรายเช่นกัน ดังนั้นโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายจึงนับได้ว่าเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ที่ต้องได้รับการป้องกันและแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ อีกทั้งเป็นการสร้างความตระหนักในการดูแลตนเองของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคที่ป้องกันได้ด้วยตัวเอง สืบเนื่องจากสถานการณ์โรคไข้เลือดออก 5 ปีย้อนหลัง (ปี 2556 –ปี ๒๕60) พบว่าจังหวัดสตูลพบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกที่วินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออกที่แน่ชัดและมีผล Tournique test จำนวน 149, 83, 129, 428, 274 ราย ตามลำดับ ซึ่งเป็นผู้ป่วยในเขตพื้นที่อำเภอเมืองสตูล จำนวน 122, 74, 106, 361,235 ราย ตามลำดับ ในส่วนของตำบลคลองขุด พบว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออก5 ปีย้อนหลัง (ปี 2556 –ปี ๒๕60) ที่ผ่านมา ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูลพบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกที่มีผลยืนยันและมีผล Tournique test จำนวน 17, 27, 14, 58, 13 ราย ตามลำดับและเป็นผู้ป่วยในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา) ได้แก่หมู่ที่ 3, 4 และ 7 จำนวน 11, 8, 8, 22, 4 คิดเป็นอัตราป่วย 114.62, 83.40, 83.40, 229.24, 41.68 ต่อแสนประชากรตามลำดับ เกิน 50 ต่อแสนประชากร (เกินเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงกำหนด)และปัจจุบันในปี 2561 (ข้อมูลตั้งแต่ 1 ม.ค. 61- 22 พ.ค. 61) พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกทั้งสิ้น จำนวน 26 ราย เป็นผู้ป่วยสงสัย จำนวน 18 ราย และเป็นผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 8 ราย อีกทั้งยังพบข้อมูล ผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลายที่ได้รับแจ้งจาก รพ.สตูลที่มีผลยืนยันจำนวน 2 ราย และผู้ป่วยที่สงสัยจากการค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในชุมชน จำนวน 10 ราย ที่ไปรับการรักษาจากสถานพยาบาลหรือคลินิกอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งจากการสืบค้นข้อมูล 5 ปีย้อนหลังในระบบรายงาน 506 ไม่พบการรายงานผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลายระบาดในพื้นที่แต่ทั้งนี้ยังคงมีการเฝ้าระวังต่อเนื่องไปจนกระทั่งสามารถควบคุมการระบาดได้และสามารถคาดการณ์ได้ว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย อาจจะมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น หากชุมชนไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินกิจกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
จากปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา) จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหา จึงได้มีการจัดโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ปี ๒๕๖๑ ขึ้นโดยต้องอาศัยความร่วมมือและการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายแกนนำอาสาพัฒนาสาธารณสุขแกนนำชุมชนโรงเรียน หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เป็นต้น เพื่อให้มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง และร่วมรณรงค์ป้องกัน ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย และควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายที่เกิดขึ้นในชุมชน เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยที่เกิดขึ้น และร่วมกันดูแลชุมชนให้สะอาด ห่างไกลจากโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย เพื่อความปลอดภัยของบุตรหลานและประชาชนในพื้นที่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

xx

26.00 50.00
2 ๒. เพื่อส่งเสริมให้โรงเรียนและชุมชน จัดกิจกรรมการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

xx

10.00
3 ๓. เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนซึ่งเป็นกลุ่มที่อัตราการเจ็บป่วยสูงสุด สามารถดูแลตนเองและบุคคลในครอบครัวที่เจ็บป่วยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

xx

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : ๒. เพื่อส่งเสริมให้โรงเรียนและชุมชน จัดกิจกรรมการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : ๓. เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนซึ่งเป็นกลุ่มที่อัตราการเจ็บป่วยสูงสุด สามารถดูแลตนเองและบุคคลในครอบครัวที่เจ็บป่วยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

25 - 28 มิ.ย. 61 กิจกรรมรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และควบคุมการระบาดของโรคในโรงเรียนและชุมชน 15,000.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

กิจกรรม ระบุวัน/ช่วงเวลา ๑. ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง พฤษภาคม ๒. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน พฤษภาคม ๓. จัดกิจกรรม ๓.๑ กิจกรรมรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และควบคุมการระบาดของโรคในโรงเรียนและชุมชนโดยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา), แกนนำครูและนักเรียนและทีมสุขภาพ มิถุนายน-สิงหาคม ใช้เวลา4วัน ๓.๓ กิจกรรมติดตาม มิถุนายน-สิงหาคม ๔. สรุปและรายงานผล ภายใน ๓๐ วันหลังเสร็จสิ้นโครงการ กิจกรรม ระบุวัน/ช่วงเวลา ๑. ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง พฤษภาคม ๒. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน พฤษภาคม ๓. จัดกิจกรรม ๓.๑ กิจกรรมรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และควบคุมการระบาดของโรคในโรงเรียนและชุมชนโดยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา), แกนนำครูและนักเรียนและทีมสุขภาพ มิถุนายน-สิงหาคม ใช้เวลา4วัน ๓.๓ กิจกรรมติดตาม มิถุนายน-สิงหาคม ๔. สรุปและรายงานผล ภายใน ๓๐ วันหลังเสร็จสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต 1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายในเขตพื้นที่ลดลง ไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร (ตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข)
2. นักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียนและประชาชนในชุมชนมีความตระหนักถึงอันตรายของโรค ไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายและร่วมดำเนินกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกวัน ศุกร์ 3. โรงเรียนและชุมชนมีการเฝ้าระวังและรณรงค์โรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายอย่างต่อเนื่อง และมีการดำเนินมาตรการในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ การป้องกัน และควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลลัพธ์ 1. ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายในเขตพื้นที่ลดจำนวนลงและสามารถควบคุมการ ระบาดของโรคในพื้นที่ได้ 2. โรงเรียน วัด มัสยิด และประชาชนในชุมชนร่วมดำเนินกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
3. โรงเรียนและชุมชนมีการเฝ้าระวังและรณรงค์โรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายนักเรียนและประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกัน และปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2561 15:10 น.