กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็ก 0-5 ปี ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L5313-1-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพสต.บ้านในเมือง
วันที่อนุมัติ 7 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางธิดา สองเมือง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.842,99.826place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (Well-being) ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัว และสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้และรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ปัญหาในการดำเนินส่งเสริมสุขภาพเด็ก 0-5 ปี ในปี 2560 ผลการดำเนินการคัดกรองพัฒนาการเด็ก 0-5 ปีโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จากเป้าหมาย 394 คน ผลงาน 396 คน คิดเป็นร้อยละ 97.7 แต่จากการติดตามงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูยังขาดทักษะในการประเมินคัดกรองพัฒนาการเด็ก และยังมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการเป็นจำนวนมาก จากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี ปี พ.ศ.2558-2560 พบว่า เด็กมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการร้อยละ5.29 , 4.92, 3.95 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามแม้จากรายงานขนาดของปัญหาจะลดลง แต่ก็ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ระดับภาคและเป้าหมายแผนสาธารณสุขฉบับที่ 10 ที่กำหนดไว้ว่า ภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี ไม่เกินร้อยละ 7 ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของและการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กจากเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก
จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็ก 0-5 ปี ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจและเกิดทักษะในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้หลังการอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการและเด็กที่เสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ

เด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการและเด็กที่เสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามร้อยละ 100 

100.00
3 เพื่อให้เครือข่ายในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพเด็ก 0 - 5

มีเครือข่ายในชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพเด็ก 0-5 ปี

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,100.00 3 20,100.00
1 - 30 มิ.ย. 61 อบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการและพัฒนาการแก่ครูผู้ดูแลเด็กและแกนนำ อสม. 0 5,800.00 5,800.00
1 - 30 มิ.ย. 61 อบรมเชิงปฏิบัติการดูแลเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ 0 11,800.00 11,800.00
1 - 31 ส.ค. 61 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ติดตามเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ 0 2,500.00 2,500.00
  1. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กและแกนนำ อสม. เรื่องภาวะโภชนาการและพัฒนาการตามวัยเด็ก0 – 5 ปี
  2. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในการดูแลเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการและเด็กกลุ่มเสี่ยง(อ้วน ผอม เตี้ย)
  3. ติดตามชั่งน้ำหนักเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการที่บ้าน และลงบันทึกในสมุดบันทึกสุขภาพ ฯ เดือนละ 1 ครั้งจนครบ 3 เดือน
    1. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ติดตามเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ
  4. สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครอง ผู้เลี้ยงดูเด็กเกิดความตระหนักและให้ความสำคัญในการเลี้ยงดูเด็ก 2.เด็กที่มีปัญหาได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องและอยู๋ในเกณฑ์ปกติ 3.เด็กได้รับการคัดกรองพัฒนาการตามช่วงวัยโดยเครือข่าย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2561 10:30 น.