กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุห้วยมะพร้าว
รหัสโครงการ 61-L5313-2-33
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มผู้สูงอายุชุมชนบ้านห้วยมะพร้าว
วันที่อนุมัติ 5 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 63,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกอเดช จิตหลัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.842,99.826place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 95 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสังคมไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากรครั้งสำคัญ คือ การเข้าสู่สังคมผุ้สูงอายุ โดยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุในสังคมไทยนั้น ได้มีสาเหตุหลัก อันเนื่องมาจากการลดลงของภาวะวัยเจริญพันธุ์อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนและสัดส่วน ประชากรผู้สูงอายุและส่งผลกระทบต่อสังคมและระบบเศรษฐกิจ วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุในประเทศไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 10014706 คน คิดเป็นร้อยละ 14.9 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นของประชากรที่อยู่ในวัยพื่งพิงทั้งในเชิงเศร็ษฐกิจ สังและสุขภาพ โดยการที่มีอายุยืนยาวขึ่้นกลับตามด้วยโรคเรื้อรังยาวนานขึ้น และโอกาสที่จะอยู่ในภาวะพึ่งพิงอันเนื่องมาจากทุพพลภาพมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ่นส่งผลให้ครอบครัวในปัจจุบันและครอบครัวใหม่ในอนาคตแบกรับภาระในการดูแลผู้สูงวัย สำหรับปัญหาด้านสุขภาพผู้สูงอายุ พบว่า โรคสมองเสื่อมและโรคซึมเศร้าเป็นหนึ่งในป้ญหาสุขภาพ 5 อันดับแรกของผู้สูงอายุไทย ปัญหาที่พบบ่อยคือความกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ภาวะสมองเสี่อม และปัญหาเรื่องเพศ นอกจากนี้จาการสำรวจสุขภาพจิตผู้สูงอายุในปี 2554 พบว่าคะเเนนเฉลี่ยของผู้สูงอายุต่ำกว่าคนทั่วไป โดยทั่วไป 1/3 ของผู้สูงอายุเป็นผู้มีความเปราะบางทางจิตใจ ทำให้ต้อมมีการดูแลระยะยาว รวมทั้งผุ้สูงอายุเป็นวัยที่พบความสูญเสียคนไกล้ชิดและฐานะทางสังคม การเกษียณจากงานหรือเกิดความพิการ ทำให้ประสบกับภาวะโดดเดี่ยวและเกิดแผนยุทธศาสตร์ กรมสุขภาพจิต ในช่วงความทุกข์ทางใจ (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พศ 2560-2564)2559:18-19)
วัยผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายไปในทางที่เสีื่อม ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตต่อผู้สูงอายุ การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกับอย่างจริงจัง ทั้งภาครัฐ เอกชน โดยเน้นห่นักความพร้อมเพรียงของผุ้สูงอายุ ครอบครัว ชุมชน และสังคม ในเรื่องการป้องกัน ส่งเสริม ฟื้นฟู และรักษาตัวเองเพื่อให้ผู้สูงอายุเหล่านั้นมีสุขภาพสมบูรณ์ทั่งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุขและได้รับความคุ้มครองจากสังคมจากวิสัยทัศน์ตามแผนผุ้สุงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พศ 2545-2564) ผู้สูงอายุเป็นหลักชัยของสังคม โดยประชากรผู้สูงอายุที่มีสถารภาพดี สุขภาพ ดีทั้งกายและจิต พึ่งตนเองได้มีส่วนร่วม มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารอย่างต่อเนื่อง ครอบครังและชุมชนเป็นสถาบันหลักในการเดื้อหนุนผู้สูงอายุ ระบบสวัสดิการและการบริการจะต้องสามารถรองรับผู้สูงอายุให้สามารถดำรงอยู่กับครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีคุณภาพ รัฐจะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในระบบบริการผู้สูงอายุ ถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญอย่างยิ่งของสังคมและประเทศชาติ เป็นต้นทุนทางสังคมท่ีมีค่ามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมไทยที่นับถือผู้สุงอายุในฐานะผู้มีประสบการณ์มาก่อนและเป็นผู้สั่งสมภูมิปัญญาของท้องถิ่นในด้านต่างๆประกอบกับการพัฒนาด้านสาธารรสุขและทางการแพทย์ ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุมีชีวิตที่ยืน่ยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่มถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื่้อรังหรืออุบัติเหตุ จึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพิง ไม่สามรถช่่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อย หรือมีอาการสมองเสื่อม ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแล เกิดภาวะทุพพลภาพในทีสุด สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข กลุ่มผู้สูงอายุชุมชนบ้านห้วมะพร้าว หมู่ที่ 11 ตำบลละงุ อำเภอละงู จังหวัดตูล เป็นกลุ่มทีมีสมาชิกผู้สูุงอายุในชุมชนเขตรับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลละงู ได้เล็งเห็นความสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตผุ้สูงอายุ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลละงู ในสถาบันพัฒนากลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายหลัก(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พศ 2557) เพื่อสนันสนุนส่งเสริมกิจกรรมการสริมสร้างสุขภาพ การป้องกัน การฟื้นฟูสมรรถภาพและการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการหรือศูนย์ชื่ออื่นที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการในชุมชน เนื่องจากการส่งเสริมสุขภาพให้ผู้สูงอายุมีความสามารถดูแลตนเองให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดีป้องกันการเกิดโรคต่างๆรวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมือมีภาวะของโรคและควบคุมภาวะของโรคให้คงที่ ให้มีสุขภาพแข็งแรงไม่ให้เป็นภาระแก่ครอบครัว สังคม ทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสมารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม จึงนับเป็นการสร้างสังคมที่มีคุณภาพอีกทางหนึ่งด้วยจึ่งได้ดำเนินโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุห้วยมะพร้าว จากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละงู เพื่อดำเนินสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการสริมสร้างสุขภาพ การป้องกัน ของกลุ่มผู้สูงอายุห้วยมะพร้าว สามารถพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขในบั้นปลายของชีวิตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมแกนนำผู้สูงอายุให้มีความเข้มแข็งร่วมกันในการเสริมสร้งสุขภาพ ในระดับหมู่บ้านให้ผู้สูงอายุ

มีพื้นทีในการรวมกลุ่มแกนนำผู้สูงอายุและสมาชิกผู้สูงวัยระดับหมู่บ้าน 2 แกนนำผู้สูงวัยมีความรู้ความเข้าใจร่วมกันในการเสริมสร้างสุขภาพ ในระดับหมู่บ้านให้ผุ้สูงอายุ

1.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาด้านสุขภาพ

สมาชิกผู้สูงอายุร้อยละ 80 เข้าร่วมสนทนาและมีทักษะทางกายและใจ ในการเสริมสร้างสุขภาพ

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตสูงวัย

สมาชิกผู้สูงอายุร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจสุขภาพจิตที่ดี

0.00
4 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการ่ของผู้สูงวัย

สมาชิกผู้สูงอายุร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจภาวะโภชนาการของผู้สูงวัย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 34,400.00 0 0.00
1 ต.ค. 60 - 30 ก.ย. 61 อบรมให้ความรู้ 0 7,400.00 -
1 ต.ค. 60 - 30 ก.ย. 61 สนทนาสุขภาพ 0 3,200.00 -
1 ต.ค. 60 - 30 ก.ย. 61 ให้ความรู้ 0 11,900.00 -
1 ต.ค. 60 - 30 ก.ย. 61 อบรมให้ความรู้ 0 11,900.00 -

1 ขั้นวางแผน 1.1 ประชุมชี้แจงนโยบาย กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละงู กลุ่มผู้สูงอายุชุมชนบ้านห้วยมะพร้าวทราบ ระบุปัญหา ความต้องการและ แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกผู้สูงอายุในชุมชน1.2 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานกลุ่มผู้สูงอายุชุมชนบ้านห้วยมะพร้าว โดยสมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุชุมชนบ้านห้วยมะพร้าว 1.3 ให้คณะกรรมการดำเนินการวางแผน กำหนดบทบาทของผู้เกี่ยวข้องสรุปปัญหาร ความต้องการและ แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกในชุมชนเพื่อกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรมโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุห้วยมะพร้าว ให้สอดคล้องกับนโยบาย การจัดเตรียมความพร้อมด้าานอาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณกำหนดกิจกรรม ระยะเวลา งบประมาณ และผู้รับผิดชอบกิจกรรม 1.4 คณะกรรมการดำเนินการจัดทำโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สุงอายุห้วยมะพร้าวเสนออนุมิติต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละงู 2.ขั้นดำเนินการตามแผน กำหนดกิจกรรมที่มุ่งให้การสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการเสริมสร้างสุขภาพ การป้องกัน การฟื้นฟูสมรรถภาพช่ีวิตผุ้สูงอายุและคนพิการในชุมชนห้วยมะพร้าว โดยกลุ่มสมาชิกผู้สูงอายุด้วยกันเองโดยรูปแบบและวิธีการที่วางแผนไว้ให้สอดคล้องกับลักษณะกิจกรรม ระยะเวลาที่กำหนดตามแผนงาน โดยร่วมมือกับทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง การดำเนินโครงการมีรายละเอียดกิจกรรมดังนี้ กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมแกนนำผู้สูงอายุ การส่งเสริมและสร้างภาวะผู้นำในผู้สูงอายุ ให้มีบทบาทและสามารถศักยภาพเป็นแกนนำมีเป้าหมายร่วมกันในการเสริมสร้างสุขภาพ ออกแบบกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพ โดยการส่งเสริมพัฒนาทักษะด้าน่ต่างๆ เน้นฝึกอบรม ให้ความรู้แกนนำผุ้สูงอายุได้ตระหนักถีงความสำคัญการสร้างความเข้มเเข็งของผู้นำที่ร่่วมกันในการเสริมสร้างสุขภาพ กระตุ้นให้ผู้สูงอายุในชุมชนและสมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุของการดูแลสุขภาพร่างกาย จิดใจ ในระดับหมู่บ้านให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสนทนาสุขภาพ กิจกรรมการส่งเสริมการเสริมสร้างสภภาวการณ์ทางด้านอารมณ์ สุขภาพ การดู่แลรักษา การป้องกัน การปรับเปลี่ยนพติกรรม การเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพ ส่งเสริมพัฒนาทักษะทางกายและใจการอยู่ร่วมกันในสังคม โดยการพบปะสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสพการณ์ กันในกลุ่มสมาชิกผู้สูงอายด้วยกันเอง โดยมีกลุ่มผู้มีความรู้ ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา จัดกิจกรรมทุก 6 เดือน จำนวน สองครั้ง ในระยะเวลาการดำเนินโครงการ กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสุขภาพจิตสูงวัย การส่งเสริมสุขภาพเฝ้าระวังสภาพจิตใจ ชีวิตความเป็นอยู่ การดำรงชีพตามภาวการณ์ในปัจจุบัน การป้องกันโรคซึมเศร้าในวัยสูงอายุ เน้นฝึกอบรม ให้ความรุ้ ผู้สูงอายุได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพร่างกาย จิตใจ สามารถดำรงชีวิตในวัยสุงอายุโดยเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมโภชนาการผู้สูงอายุ การส่งเสริมสุขภาพเฝ้าพฤติกรรมถึงภาวะโภชาการของผู้สูงวัย เน้นฝึกอบรม ให้ความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพ การเลือกรับประทานอาหาร และเลื่อกพืชสมนไพรในท้องถื่นที่มีประโยชน์ มีคุณค่าทางโภชนาการ การบริโภคอาหารที่สุก สะอาด และปลอดภัย รู้จัดเลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และการผลิตพืชสมุนไพรเพื่อดูแลสุขภาพ ได้อย่างหลากหลายและพอเพียง 3 ข้ันประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ ดำเนินการตรวจสอบประเมินโครงการ โดยจัดทำแบบสอบถาม ความพึงพอใจ แบบสังเกต นำไปประเมินในแต่ละกิจกรรม และภาพรวมของโครงการ 4 แนวทางการนำผลการประเมินไปปรับปรุง ดำเนินการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตรวจสอบประเมินโครงการ กิจกรรม หาข้อสรุปผลข้อมูลเพื่อประเมินผล การดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ใช้เป็นแนวทางสำหรับปรับปรุงพัฒน ให้เป็นโครงการต่อเนื่อง และรายงานผลโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิต่ผุ้สูงอายุห้วยมะพร้าว

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 แกนนำผู้สูงอายุมีความเข้มแข็งรวมกันในการเสริมสร้างสุขภาพ ในระดับหมู่บ้านให้ผู้สูงอายุ 2 ผู้สูงอายุมีความรู้และมีพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาด้านสุขภาพ 3 ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตสูงวัย ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข 4 ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่่ยวกับภาวะโภชนาการของผู้สูงวัย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2561 10:47 น.