กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ โครงการพัฒนาคุณภาพผู้ประกอบการร้านอาหาร และผู้ประกอบการ ร้านขายของชำ ในเขตตำบลลิพัง
รหัสโครงการ 61-L1486-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิพัง
วันที่อนุมัติ 26 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 21 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 25 มิถุนายน 2561
งบประมาณ 20,840.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสิริลดา เสียมไหม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.184,99.81place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ การมีสุขภาพดีของประชาชนถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีวิตและการพัฒนาประเทศการส่งเสริมให้ทุกคนมีสุขภาพดีไม่เกิดการเจ็บป่วยเป็นสิ่งที่รัฐต้องให้การสนับสนุน ในปัจจุบันพบการปนเปื้อนของอาหารจากสารที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ ผู้จำหน่ายบางรายไม่ทราบถึงผลิตภัณฑ์ที่ตนเองจำหน่ายว่ามีสารปนเปื้อนเหล่านี้อยู่หรือบางรายอาจทราบแต่ยังไม่ตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค ประชาชนผู้บริโภคนั้น ต้องปลอดภัยปราศจากเชื้อโรคอาหารเป็นพิษหรือการปนเปื้อนจากเชื้อโรคทางเดินอาหาร รวมถึงสารเคมีอันตราย ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารเป็นกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับความรู้เรื่องอาหารปลอดภัย มีความตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค ดังนั้นเพื่อให้ประชาชน ได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยจึงต้องมีระบบการดูแลควบคุม ตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัย อาหารที่ผลิตทุกขั้นตอน ตลอดจนห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่วัตถุดิบ การผลิต การแปรรูป การจัดจำหน่ายจนถึงผู้บริโภค สำหรับสถานการณ์ของตำบลลิพัง ปัจจุบันมีร้านจำหน่ายอาหารจำนวน ๑๕ ร้าน และร้านขายของชำ จำนวน๒๐ ร้าน เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภคในตำบลลิพัง เพื่อให้สอดคล้องกับแผนดำเนินงานความปลอดภัยด้านอาหารของกระทรวงสาธารณสุข สำหรับใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ ในการดำเนินงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิพัง จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพผู้ประกอบด้านอาหาร และผู้ประกอบการร้านขายของชำ ในเขตตำบลลิพัง ขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร และผู้ประกอบการร้านขายของชำ ในเขตตำบลลิพัง มีความรู้ในด้านสุขาภิบาลอาหาร และตระหนักถึงความปลอดภัยจากการบริโภคอาหารของผู้บริโภค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร และผู้ประกอบการร้านขายของชำ ในเขตตำบลลิพัง มีความรู้ ความเข้าใจในหลักสุขาภิบาลและโภชนาการในการปรุงอาหารเพื่อการจำหน่าย และจำหน่ายสินค้า ได้อย่างถูกต้อง

๑. ผู้ประกอบการร้านอาหารและผู้ประกอบการร้านขายของชำในเขตตำบลลิพัง มีความรู้ ความเข้าใจในหลักสุขาภิบาลและโภชนาการ ในการปรุง และการเลือกซื้อสินค้าเพื่อการจำหน่ายได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ ๙๐

0.00
2 เพื่อให้ผู้ปรุงอาหารของโรงเรียน และของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ของตำบลลิพังมีความรู้ ความเข้าใจในหลักสุขาภิบาลและโภชนาการในการปรุงอาหาร และมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการตรวจสอบ และทดสอบสารเคมีตกค้างในสารอาหารเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง

๒. ผู้ประกอบการร้านอาหาร และผู้ประกอบการร้านขายของชำในเขตตำบลลิพัง มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการตรวจสอบ และทดสอบสารเคมีตกค้างในสารอาหารเบื้องต้นได้อย่างถูกต้องร้อยละ๙๐

0.00
3 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสุขภาพของผู้บริโภคในตำบลลิพังให้ได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัยได้มาตรฐานไม่มีสารเคมีตกค้าง และ เจือปน ได้สินค้าที่ถูกต้อง

 

0.00
4 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร และผู้ประกอบการร้านขายของชำ ในเขตตำบลลิพัง มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการตรวจสอบ และทดสอบสารเคมีตกค้างในสารอาหารเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20.00 0 0.00
1 ม.ค. 61 - 21 ก.ย. 61 อบรมเรื่องความปลอดภัยของอาหารสำหรับผู้บริโภคและ การใช้ชุดทดสอบคุณภาพอาหาร 0 20.00 -

ก่อนดำเนินการ ๑.สำรวจร้านในตำบลลิพัง ประกอบด้วยจำหน่ายอาหารและร้านขายของชำ 1. ประชุมชี้แจงการดำเนินการโครงการกับทุกภาคส่วนในพื้นที่ 2. เขียนโครงการและนำเสนอโครงการ
3. ประสานงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
4. ประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการ ขั้นดำเนินการ ๑. อบรมผู้ประกอบการด้านอาหาร /ร้านขายของชำ
๒. ผู้ประกอบการด้านอาหารในโรงเรียนและในศูนย์เด็กเล็ก ๓. อาสาสมัครสาธารณสุขผู้รับผิดชอบร้านขายของชำในเขต จำนวน ๑วัน ขั้นหลังดำเนินการอบรม ๑.ผู้ประกอบการด้านอาหาร /ร้านขายของชำ/ผู้ปรุงอาหารในโรงเรียนและในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบล ลิพัง และอาสาสมัครสาธารณสุขผู้รับผิดชอบร้านขายของชำในเขต มีความรู้ ความเข้าใจในหลักสุขาภิบาล อาหาร และโภชนาการในการปรุงอาหาร และการจำหน่ายสินค้าในร้านขาย ของชำในหมู่บ้านจากการออก ติดตามประเมินคุณภาพ ขั้นสรุปผลการดำเนินการ ๑.ออกประเมินติดตามคุณภาพร้านอาหาร และ ร้านขายของชำ( มาตรฐานร้านขายของชำ/ซุปเปอร์มาเก็ต ) ๒.สรุป ประเมินผลโครงการ ๓.จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ประกอบการร้านอาหาร และผู้ประกอบการร้านขายของชำมีความรู้ความเข้าใจในหลักสุขาภิบาลและ โภชนาการในการปรุงอาหารเพื่อการจำหน่าย และการจำหน่ายสินค้าในร้านขายของชำ 2. ผู้บริโภค ในเขตตำบลลิพัง ได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย ไม่มีสารเคมีตกค้างและได้ซื้อสินค้าที่ได้มาตรฐาน 3.ผู้ประกอบการด้านอาหาร และผู้ประกอบการร้านขายของชำในเขตตำบลลิพัง สามารถตรวจสอบและทดสอบ สารเคมีที่ตกค้างในอาหาร เบื้องต้น และสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้อย่างถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2561 11:41 น.