กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาโยงใต้


“ ส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพ และควบคุมฟันผุ (Caries Control) เด็กก่อนวัยเรียนตำบลนาโยงใต้ ปีงบประมาณ 2561 ”

ตำบลนาโยงใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นางสาวเบญจวรรณอุตสาหะ

ชื่อโครงการ ส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพ และควบคุมฟันผุ (Caries Control) เด็กก่อนวัยเรียนตำบลนาโยงใต้ ปีงบประมาณ 2561

ที่อยู่ ตำบลนาโยงใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 61-L1497-1-04 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 มิถุนายน 2561 ถึง 30 สิงหาคม 2561


กิตติกรรมประกาศ

"ส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพ และควบคุมฟันผุ (Caries Control) เด็กก่อนวัยเรียนตำบลนาโยงใต้ ปีงบประมาณ 2561 จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลนาโยงใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาโยงใต้ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพ และควบคุมฟันผุ (Caries Control) เด็กก่อนวัยเรียนตำบลนาโยงใต้ ปีงบประมาณ 2561



บทคัดย่อ

โครงการ " ส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพ และควบคุมฟันผุ (Caries Control) เด็กก่อนวัยเรียนตำบลนาโยงใต้ ปีงบประมาณ 2561 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลนาโยงใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 61-L1497-1-04 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 มิถุนายน 2561 - 30 สิงหาคม 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 8,250.14 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาโยงใต้ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชนไทยยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะโรคฟันผุเป็นปัญหาที่ เด่นชัด เมื่อไม่ได้รับการรักษาอย่าง
ทันท่วงที โรคจะลุกลามและสูญเสียฟันในที่สุด ส่งผลต่อพัฒนาการ สุขภาพ การสบฟัน ตลอดจนการใช้ชีวิตประจำวัน ข้อมูลจากการ
สำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ ๗ ปี ๒๕๕๕ พบว่า กลุ่มเด็กอายุ ๓ ปี มีฟันน้ำนมผุร้อยละ ๕๑.๗ มีฟันผุที่ไม่ได้รับ
การรักษา ร้อยละ ๕๐.๖ ในขณะที่ภาคใต้ พบว่าเด็ก ๓ ขวบมีอัตราการเกิดฟันผุสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับ ภาคอื่นๆ เป็นร้อยละ 61
และเป็นฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษาสูงสุด ร้อยละ ๕๙.๘ และเมื่อพิจารณาในเด็กอายุ ๕ ปี ก็พบว่า ในระดับประเทศก็มีอัตราการเกิดฟันผุที่สูงขึ้น เป็นร้อยละ ๗๘.๕
ผุที่สูงขึ้น เป็นร้อยละ ๗๘.๕ และมีฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ ๗๕.๙ ในขณะที่ของภาคใต้ ก็พบว่า เด็ก 5 ขวบมีฟันน้ำนมผุ เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ ๘๓.๔ และไม่ได้รับการรักษาสูงถึง ร้อยละ ๘๒.๖
  สำหรับตำบลนาโยงใต้ จากผลการสำรวจสภาวะสุขภาพเด็ดในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล พบว่า มีฟันผุ ร้อยละ 85.04
ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ก่อนที่ฟันผุจะลุกลามไปจนต้องสูญเสียฟัน โดยที่ฟันส่วนหนึ่งยังรอการบูรณะอยู่และ
สามารถทำการบูรณะด้วยวิธี SMART Technique เป็นเทคนิคการอุดฟันที่คิดค้นเพื้อใช้ในการบูรณะฟัน ในกรณีที่ไม่สามารถจัดบริการ
แบบปกติได้ เป็นการให้บริการทันตกรรมเชิงรุก สามารถดำเนินการในชุมชนได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่ทันสมัย เทคนิคนี้ได้มี
การพัฒนาวัสดุทางทันตกรรมที่ชื่อว่า กลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์ ที่มีคุณสมบัติที่ดีมีการปลดปล่อยฟลูออไรด์ในปริมาณที่สูงซึ่งฟลูออไรด์ที่
ปลดปล่อยออกมา ก็มีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย เพิ่มการคืนกลับของแร่ธาตุ มีความสำคัญต่อการควบคุมการเกิดโรคฟันผุ
หรือป้องกันการเกิดฟันผุซ้ำ จากการทบทวนของ Yip และ Smales ในปี ค.ศ. 2002 พบว่า การใช้กลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์เป็นสาร
เคลือบหลุมร่องฟันและทำการอุดฟันอย่างง่าย พบว่า อัตราการยึดสมบูรณ์ มีประมาณร้อยละ 70 และอัตราการคงอยู่และฟันไม่ผุเพิ่ม
ร้อยละ 96 ประโยชน์ของการทำ SMART Technique ด้วย กลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์ คือ เป็นการปรับพฤติกรรมเด็กให้คุ้นชินกับการ
รับบริการทันตกรรม ลดความเจ็บปวดของเด็ก ลดการลุลุกลามและสามารถเก็บฟันไว้โดยไม่ต้องถอน ลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก
ได้ ซึ่งประสิทธิผลในการบูรณด้วยวิธีนี้ เหมาะสมในการจัดกิจกรรมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล และควบคู่ไปกับ
กิจกรรมทาฟลูออไรด์วานิชเพื่อป้องกันฟันที่ยังไม่ผุ ไม่ให้เกิดการผุต่อไป
  เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาฟันผุในกลุ่มเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาโยงใต้
จึงทำโครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพและควบคุมฟันผุ (Caries Control) เด็กก่อนวัยเรียน ตำบลนาโยงใต้ ปีงบประมาณ 2561
ขึ้นเพื่อเพิ่มการเข้าถึงการรับบริการส่งเสริม ป้องกัน และบริการทันตกรรม ในกลุ่มเด็กปฐมวัย ลดการสูญเสียฟันก่อนวันอันควร ป้องการ
การเกิดฟันผุในฟันดี และลดการสะสมเชื้อแบคทีเรียที่จะส่งผลให้ฟันกรามผุในช่วงวัยเรียนต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนอนุบาลในตำบลนาโยงใต้ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
  2. 2.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช
  3. 3.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลที่มีฟันผุ ได้รับการอุดฟันด้วยวิธี SMART Technique

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. 1.กิจกรรมหลักตรวจสุขภาพช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลและแจ้งผลการตรวจสุขภาพช่องปากแก่ผู้ปกครองเด็ก
  2. กิจกรรมหลักทาฟูลออไรด์วานิชเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลในตำบลนาโยงใต้
  3. กิจกรรมกลักอุดฟันเด็กดด้วยวิธี SMART Technique ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลในตำบลนาโยงใต้

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 150
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กมีฟันผุลดลง 2.เด็กสูญเสียฟันก่อนกำหนดลดลง


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. 1.กิจกรรมหลักตรวจสุขภาพช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลและแจ้งผลการตรวจสุขภาพช่องปากแก่ผู้ปกครองเด็ก

วันที่ 21 มิถุนายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

  1. ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล
  2. แจ้งผลการตรวจสุขภาพช่องปากแก่ผู้ปกครองเด็ก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการดำเนินกิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโคกพิกุล  เด็กทั้งหมด  40  คน  เข้ารับการตรวจ  37  คน  และเด็กอนุบาลโรงเรียนเพาะปัญญา  ในพระอุปถัมภ์ฯ  เด็กทั้งหมด  71  คน  เข้ารับการตรวจ  69  คน  รวมเด็กทั้งหมด  111  คน  เด็กเข้ารับการตรวจทั้งหมด  106  คน  คิดเป็นเด็กได้รับบริการตรวจสุขภาพช่องปาก  ร้อยละ  95.49  และผู้ปกครองได้รับใบแจ้งสุขภาพผลการตรวจสุขภาพช่องปากของเด็ก  ร้อยละ  95.49

 

150 0

2. 2. กิจกรรมหลักทาฟูลออไรด์วานิชเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลในตำบลนาโยงใต้

วันที่ 23 สิงหาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

ทาฟูลออไรด์วานิชเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลในตำบลนาโยงใต้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการดำเนินกิจกรรมทาฟูลออไรด์วานิชเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโคกพิกุล  เด็กทั้งหมด  40  คน  เด็กได้รับบริการทาฟูลออไรด์วานิช  32  คน  และเด็กอนุบาลโรงเรียนเพาะปัญญา  ในพระอุปถัมภ์ฯ  เด็กทั้งหมด  71  คน  เด็กได้รับบริการทาฟูลออไรด์วานิช  49  คน  รวมเด็กเด็กที่ได้รับบริการทาฟูลออไรด์วานิช  ทั้งหมด  81  คน  คิดเป็นเด็กได้รับทาฟูลออไรด์วานิช  ร้อยละ  76.41

 

0 0

3. 3. กิจกรรมกลักอุดฟันเด็กดด้วยวิธี SMART Technique ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลในตำบลนาโยงใต้

วันที่ 26 กันยายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

อุดฟันเด็กด้วยวิธี SMART Technique ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลในตำบลนาโยงใต้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการดำเนินกิจกรรมอุดฟันเด็กด้วยวิธี SMART Technique เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโคกพิกุล  เด็กทั้งหมด  20  คน  เด็กได้รับบริการอุดฟัน  14  คน  และเด็กอนุบาลโรงเรียนเพาะปัญญา  ในพระอุปถัมภ์ฯ  เด็กทั้งหมด  61  คน  เด็กได้รับบริการอุดฟัน  49  คน  รวมเด็กที่ได้รับบริการอุดฟันเด็กด้วยวิธี SMART Technique  ทั้งหมด  36  คน  คิดเป็นร้อยละ  44.44

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนอนุบาลในตำบลนาโยงใต้ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล้กและโรงเรียนอนุบาลในตำบลนาโยงใต้ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
90.00 90.00

 

2 2.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช
80.00 80.00

 

3 3.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลที่มีฟันผุ ได้รับการอุดฟันด้วยวิธี SMART Technique
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 40 ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลที่มีฟันผุได้รับการอุดฟันด้วยวิธี SMART Technique
40.00 40.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 150
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 150
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนอนุบาลในตำบลนาโยงใต้ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก (2) 2.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช (3) 3.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลที่มีฟันผุ ได้รับการอุดฟันด้วยวิธี SMART Technique

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) 1.กิจกรรมหลักตรวจสุขภาพช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลและแจ้งผลการตรวจสุขภาพช่องปากแก่ผู้ปกครองเด็ก (2) กิจกรรมหลักทาฟูลออไรด์วานิชเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลในตำบลนาโยงใต้ (3) กิจกรรมกลักอุดฟันเด็กดด้วยวิธี SMART Technique ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลในตำบลนาโยงใต้

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพ และควบคุมฟันผุ (Caries Control) เด็กก่อนวัยเรียนตำบลนาโยงใต้ ปีงบประมาณ 2561 จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 61-L1497-1-04

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวเบญจวรรณอุตสาหะ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด