กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคูหาใต้


“ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่เกิดจากยุงในชุมชน ”

ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นายนคร กาเหย็ม

ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่เกิดจากยุงในชุมชน

ที่อยู่ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 61-L8402-1-07 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่เกิดจากยุงในชุมชน จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคูหาใต้ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่เกิดจากยุงในชุมชน



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่เกิดจากยุงในชุมชน " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 61-L8402-1-07 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 39,918.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคูหาใต้ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของโรค เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย และยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วไป โดยเฉพาะประเทศไทยเขตร้อนชื้น โรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะนำโรค มีหลายโรค โดยโรคที่รู้จักกันโดยทั่วไป ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคชิคุกุนยา โรคไข้ซิการ์ เป็นต้น และแพร่กระจายได้รวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูฝน ซึ่งถ้าไม่มีการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็วแล้วอาจจะทำให้ผู้ป่วยมีอันตรายรุนแรงถึงชีวิตได้ สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ปี 2559 ข้อมูลจากสำนักงานโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า จำนวนผู้ป่วย 26,564 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 40.60 คนต่อแสนประชากร จำนวนผู้ป่วยตาย 21 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย 0.08 คนต่อแสนประชากร (กรมควบคุมโรค, 2 สิงหาคม 2559) จังหวัดสงขลา มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกทั้งหมด 906 ราย มีรายงานผู้ตาย 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 509.55 ต่อแสนประชากร (สสจ.สงขลา,สิงหาคม 2559) โดยปี 2559 ตำบลคูหาใต้ พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวนทั้งสิ้น 10 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 94.85 ต่อประชากรแสนคน (สสอ.รัตภูมิ, 2559) พบว่ามีอัตราป่วยที่เกินตัวชี้วัดที่กำหนด ที่อัตราป่วยไม่เกิน 50 คนต่อแสนประชากร โดยพบมากที่สุดในพื้นที่บ้านทุ่งมะขาม หมู่ที่ 10 จำนวน 8 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 225.85 คนต่อแสนประชากร สถานการณ์ของโรคซิการ์ ซึ่งแม้ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยในพื้นที่จังหวัดสงขลาและในพื้นที่อำเภอรัตภูมิ แต่กำลังมีการระบาดอย่างรวดเร็วในประเทศพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งในปี 2560 มีแนวโน้มจะมีการระบาดในพื้นที่ประเทศไทยและจังหวัดสงขลาได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะขาม จึงเห็นควรต้องมีการควบคุมการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค เนื่องด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคอื่นๆ ที่เกิดจากยุง เป็นอันตรายสามารถทำให้เสียชีวิตได้ รวมทั้งส่งผลทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และจิตใจแก่ประชาชนในพื้นที่ได้   สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะขาม มีจำนวน 1,080 หลังคาเรือน ประชากรทั้งสิ้น 3,610 คนพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกย้อนหลัง 4 ปีในปี 2557, 2558, 2559 และ 2560 มีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 10 ราย 9 ราย 10 ราย และ 2 ราย ตามลำดับ สำหรับปี 2561 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง วันที่ 30 เมษายน 2561 รพ.สต.ทุ่งมะขาม แม้ยังไม่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่แล้ว แต่ได้พบผู้ป่วยสงสัยด้วยโรคไข้เลือดออกแล้ว จำนวน 4 ราย เพื่อให้มีการควบคุมการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง รพ.สต.ทุ่งมะขาม จึงเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่เกิดจากยุงในชุมชน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคติดต่อที่เกิดจากยุง
  2. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
  3. เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรคที่เกิดจากยุงในชุมชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ พร้อมการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 130
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดความร่วมมือของเครือข่ายบริการสุขภาพในการดำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การควบคุมป้องกันโรคที่เกิดจากยุงในชุมชน 2.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง 3.ประชาชนมีความรู้ ความสามารถในการควบคุมและป้องกันโรคที่เกิดจากยุงในครัวเรือนและชุมชนได้ 4.แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนพื้นที่ ได้รับการควบคุมกำจัดอย่างถูกต้อง 5.มีการทำงานเป็นทีมในรูปแบบ SRRT ระดับ รพ.สต.ทุ่งมะขาม


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ประชุมชี้แจงแผนงานโครงการและสถานการณ์ของโรคติดต่อที่เกิดจากยุง ให้กับเครือข่ายสุขภาพ รพ.สต.ทุ่งมะขาม เพื่อหาแนวทางดำเนินโครงการในชุมชน โดยมีแนวทางดำเนินงานอบรมให้ความรู้ด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกให้กับ อสม.และผู้นำชุมชน ในรูปแบบทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว SRRT โดยได้จัดการอบรม SRRT อสม.และผู้นำชุมชน ในวันที่ 7 มิถุนายน 2562 จำนวน 1 วัน ได้ให้ความรู้ด้านการรายงานโรคที่เกิดในชุมชน การลงสอบสวนและควบคุมการระบาดของโรคในชุมชนอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันการระบาดของโรค มีการอบรมแกนนำเฝ้าระวังโรคติดต่อที่เกิดจากยุง จำนวน 74 คน ในวันที่ 10-14 มิถุนายน 2562 เพื่อเป็นเครือข่ายเฝ้าระวัง แจ้งข่าวสารด้านโรคติดต่อที่เกิดจากยุงในพื้นที่ รพ.สต.ทุ่งมะขาม หลังจากการดำเนินการอบรม อสม.และแกนนำเฝ้าระวังฯ ได้จัดกิจกรรม Big Cleaning Day ในพื้นที่ รพ.สต.ทุ่งมะขาม จำนวน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 วันที่ 3 พฤษภาคม 2562 ครั้งที่ 2 วันที่ 6 มิถุนายน 2562 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ในกิจกรรมการดำเนินการกำจัดขยะในชุมชน สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ให้ความรู้กับเด็กนักเรียนประถมศึกษาในพื้นที่ รพ.สต.ทุ่งมะขาม ทั้ง 2 โรงเรียน จำนวน 50 คน ในวันที่ 27 มิถุนายน 2562 ทั้งกิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนในพื้นที่เฝ้าระวังอันตรายจากโรคติดต่อที่เกิดจากยุงทั้งในวัดและโรงเรียน รวมทั้งหน่วยงานต่างๆในพื้นที่ ทั้งให้ อสม.ได้มีการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกเดือน ซึ่งได้ค่า CI มีแนวโน้มที่ลดลง สำหรับกรณีผู้ป่วย และผู้สงสัยป่วยด้วยโรคติดต่อที่เกิดจากยุง ได้ประสานทางกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคูหาใต้ ลงพื้นที่ควบคุมการระบาดของโรค ด้วยการสอบสวนโรค สำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย แจกทรายที่มีฟอส สเปรย์กำจัดยุง และโลชั่นทากันยุง บ้านผู้ป่วยและบ้านใกล้เคียง รัศมี 100 เมตร ซึ่งในปี 2561 พบมีผู้ป่วยจำนวน 2 ราย และผู้ป่วยสงสัยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 12 ราย ลงพื้นที่ สอบสวนและควบคุมโรคทุกราย ได้ให้สเปรย์กำจัดยุงลายผู้ป่วยและบ้านใกล้เคียง รวม 70 กระป๋อง โลชั่นป้องกันยุงลาย จำนวน 350 ซอง พ่นหมอกควันกำจัดยุงลายไป จำนวน 92 หลัง จัดให้มีป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ และอันตรายจากโรคไข้เลือดออกในชุมชน หมู่บ้านละ 2ป้าย รวม 10 ป้าย เพื่อเผยแพร่อันตรายและการเฝ้าระวังโรคติดต่อที่เกิดจากยุง

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคติดต่อที่เกิดจากยุง
ตัวชี้วัด : ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคติดต่อที่เกิดจากยุง
80.00 80.00

 

2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
ตัวชี้วัด : ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
90.00 90.00

 

3 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรคที่เกิดจากยุงในชุมชน
ตัวชี้วัด : ประชาชนในพื้นที่ร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรคที่เกิดจากยุงในชุมชน
80.00 80.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 130 130
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 130 130
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคติดต่อที่เกิดจากยุง (2) เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน (3) เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรคที่เกิดจากยุงในชุมชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอบรมให้ความรู้ พร้อมการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่เกิดจากยุงในชุมชน จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 61-L8402-1-07

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายนคร กาเหย็ม )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด