กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังสตรีให้ปลอดภัยจากโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L2492-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือราเป๊ะ
วันที่อนุมัติ 5 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 พฤษภาคม 2560 - 17 พฤษภาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 39,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพิรัช ตั้งผดุงวงค์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือราเป๊ะตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส และในชุมชนที่รับผิดชอบ
ละติจูด-ลองจิจูด 6.482,101.763place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (39,200.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 176 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชนและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศหญิงพบได้ในสตรีตั้งแต่วัยสาวจนถึงวัยชรา พบมากในช่วงอายุ 30-50 ปี ในแต่ละปีผู้หญิงทั่วโลกป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นปีละ 500,000 คน เสียชีวิตปีละ 200,000 คน ซึ่งประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา สำหรับประเทศไทยโรคมะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยเป็นอันดับหนึ่ง และมะเร็งที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุดคือมะเร็งปากมดลูก (ระบบฐานข้อมูลด้านสังคมและคุณภาพชีวิต 2555) ประชากรวัยทำงานในประเทศไทย อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 15-59 ปี จัดเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศ คือประมาณ 2 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด (ล้านคน) หรือประมาณ 43 ล้านคน จากประชากรทั้งหมดทั่วประเทศ (สถาบันวิจัยประชากรและสังคม 2555) ในช่วงอายุของวัยทำงานโดยเฉพาะสตรีประกอบด้วยช่วงวัยเจริญพันธ์ุและช่วงวัยทองในแต่ลัช่วงวัยจะมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายและวิธีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงวัยเจริญพันธ์ุ จากการเปลี่ยนแปลงตามวัยและสภาพแวดล้อมสตรีไทยจึงจำเป็นต้องได้รับการป้องกันและการสร้างเสริมสุขภาพให้สามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงและลดภาวะเสี่ยงต่าง ๆ โดยเฉพาะมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ซึ่งมีอัตราการเกิดดรคสูงเป็นอันดับหนึ่งและสอง และพบได้มากในตรีช่วงวัยดังกล่าว จากการรายงานสถานการณ์การเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2541 ถึง พ.ศ.2553 พบผู้เสียชีวิตมากที่สุดในพื้นที่ภาคกลาง รองลงมาคือ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าหญิงไทยมีแนวโน้มการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้นทุกปี เฉลี่ยปีละประมาณ 5,000 คน หรือคิดเป็นผู้เสียชีวิตวันละ 14 คน จากการรายงานสถานการณ์การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข ความคลอบคลุมการคัดกรองในกลุ่ม 30-60 ปี พ.ศ.2547-2554 อยู่ที่ร้อยละ 48.5-60.2 จะเห็นได้ว่ายังมีความคลอบคลุมในระดับที่ไม่มากนัก ทางกระทรวงสาธารณสุขเล็งเห็นความสำคัญ ได้มีนโยบายและจัดการรณรงค์ในการตรวจคัดกรองอย่างสมำ่เสมอ (กระทรวงสาธารณสุข 2555) นอกจากนี้ยังพบว่า การตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ที่มีความผิดปกติของปากมดลูกตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งตามขั้นตอน ที่ถูกต้องเหมาะสมสามารถลดอุบัติการณ์และอัตราการตายของโรคมะเร็งปากมดลูกได้ เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติโดยการทำ Pap smear หรือ VIA (Visual Inspection of cervix with Acetic acid) ประกอบกับการดำเนินโรคเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการรักษาตามระบบและการจี้เย็น (cryotherapy) และมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งวที่สามารถตรวจค้นหาความผิดปกติได้ด้วยตนเอง เพราะการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องเป็นประจำนั้น จะทำให้ทราบถึงสภาพที่ปกติของเต้านม หากเกิดความผิดปกติของเต้านมจะสามารถพบได้ตั้งแต่เนิ่นๆ คือ สามารถคลำพบก้อนได้ขนาดที่เล็กกว่า 2 ซม. ซึ่งหากได้รับการวินิฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะลดความรุนแรงของการเป็นมะเร็งเต้านมได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือราเป๊ะ ได้ตระหนักถึงการพัฒนากระบวนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อส่งเสริมการดูแลเฝ้าระวังอุบัติการณ์เกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกลดลงและเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดเพื่อเพิ่มศักยภาพการจัดบริการและส่งเสริมการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพของประชาชน จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรอง เฝ้าระวังสตรีไทยให้ปลอดภัยจากโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก โดยมุ่งเน้นให้สตรีทุกคนมีการดูแลและเฝ้าระวังตนเอง พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข หรือแกนนำสตรีในชุมชนให้มีความรู้และทักษะในการดูแลและเฝ้าระวังมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก เพื่อช่วยเผยแพร่และกระตุ้นเตือนสตรีในชุมชนให้เกิดความตระหนักในการดูแลตนเอง ซึ่งจะส่งผลให้สตรีมีสุขภาพดีและดำเนินวิถีชีวิตให้มีความสุขตลอดไป และพื้นที่ในระดับปฐมภูมิสามารถจัดบริการให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพและบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี มีความรู้ความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการรับบริการตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมและสามารถดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้อย่างถูกต้อง

 

2 เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูก

 

3 เพื่อให้สตรีอายุ 30-70 ปี มีความรู้สามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง

 

4 เพื่อเพิ่มศักยภาพของ อสม.ให้มีความรู้และสามารถให้คำแนะนำประชาชนได้

 

5 เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี ที่ตรวจพบเป็นมะเร็งปากมดลูกได้รับการรักษาและติดตามเยี่ยมทุกราย

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
16 - 17 พ.ค. 60 ฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับกับโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก 176 39,200.00 39,200.00
รวม 176 39,200.00 1 39,200.00

1.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.จัดประชุมชี้แจงเป้าหมายการดำเนินงานผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดียวกัน 3.จัดทำแผนปฎิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในเขตรับผิดชอบ 4.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการตรวจคัดกรองฯ ในชุมชน เช่น ผู้นำท้องถิ่น อสม.และภาคีเครือข่าย 5.ประชาสัมพันธ์โครงการตรวจคัดกรอง 6.จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการดำเนินงาน 7.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องภัยอันตรายจากมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม 8.แต่งตั้งทีมสุขภาพให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 9.สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สตรีกล่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ในเขตรับผิดชอบได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก 2.สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี มีความรู้ความสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองร้อยละ 80 3.ตรวจพบมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มเป้าหมายในระยะเริ่มแรก 4.อสม.มีความรู้ความสามารถแนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมได้อย่างถูกต้อง 5.สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการเฝ้าระวังและติดตามมาตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างสมำ่เสมอทุก 5 ปี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2560 13:30 น.