กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาสานำพาผู้สูงวัย ใส่ใจสุขภาพจิต ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L1480-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลปะเหลียน
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2017
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 กุมภาพันธ์ 2017 - 31 มีนาคม 2017
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลปะเหลียน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าข้าม อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.127,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยได้กลายเป็นสังคมสูงวัยไปแล้ว แต่สิ่งที่หลายคนโดยเฉพาะผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการวางแผนและนโยบายอาจคาดไม่ถึงคือ ประชากรไทยกำลังสูงวัยขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ประเทศไทยได้กลายเป็น “สังคมสูงวัย” มาตั้งแต่ปี 2548 แล้ว เมื่อสัดส่วนประชากรสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) สูงถึงร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด ประเทศไทยกำลังจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” เมื่อประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมีมากถึงร้อยละ 20 ในปี 2564 หรือในอีกเพียง 7 ปีข้างหน้า และคาดว่าจะเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอดในอีกไม่ถึง 20 ปีข้างหน้านี้เมื่อประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนถึงร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด

ปัจจุบันวัฒนธรรมตะวันตกได้แผ่ขยายเข้ามามาก ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนแปลงไปจากครอบครัวขยาย มีปู่ ย่า ตา ยายอาศัยรวมอยู่ด้วย มาเป็นครอบครัวเดี่ยว จะมีเฉพาะพ่อ แม่ และลูกเท่านั้น ครอบครัวแต่ละครอบครัวมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ขาดประสบการณ์ชีวิต ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างผู้สูงอายุกับผู้ที่อ่อนวัยกว่า และการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ มิใช่อยู่ที่อายุซึ่งเป็นเพียงตัวเลขอย่างเดียวเท่านั้น แต่การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เห็นได้ชัดนั้น จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายๆอย่าง เช่น พันธุกรรม การดำรงชีวิต และสภาพจิตใจด้วย ในผู้สูงอายุเมื่อร่างกายเสื่อมสมรรถภาพ จะมีการเสียบทบาทของตัวเอง ทำให้ความเชื่อมั่นในตัวเองลดลง และจะส่งผลไปถึงกิจกรรมประจำวัน ไม่เป็นที่พอใจ ทำให้เกิดความวิตกกังวลกลัว และยิ่งได้พบเห็นสภาพของผู้ที่อยู่ในวัยเดียวกันยิ่งทำให้เกิดความกลัว อารมณ์เศร้า ซึมลงและสิ้นหวัง

กระทรวงสาธารณสุขมีแนวนโยบายในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข คือการสร้างสุขภาพ นำมาก่อนการซ่อมสุขภาพ ซึ่งหมายถึง การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ด้านสาธารณสุขจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจต่อประชาชนถึงแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพและดูแลสุขภาพของตนเองของประชาชน ส่งเสริมการสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องให้กับประชาชนและประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาพ ซึ่งศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปะเหลียน รับผิดชอบ จำนวน5ชุมชนซึ่งมีจำนวนผู้สูงอายุในพื้นที่ทั้งหมด จำนวน 475คน ดังนั้นศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลปะเหลียน จึงได้จัดทำโครงการอาสานำพาสูงวัย ใส่ใจสุขภาพจิต ปี 2560 ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องทั้งยังเป็นการส่งเสริมและช่วยเหลือผู้สูงอายุให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ให้สามรถช่วยเหลือตนเองได้ตามสมควรแก่อัตภาพและมีกิจกรรมร่วมกันของผู้สูงอายุได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพด้านจิตใจ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
23 มี.ค. 60 ค่าป้ายไวนิล 0 450.00 450.00
23 มี.ค. 60 ค่าเอกสารประกอบการอบรม 0 1,600.00 1,600.00
24 มี.ค. 60 ค่าอาหารกลางวัน 80 6,000.00 6,000.00
24 มี.ค. 60 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 80 4,000.00 4,000.00
24 มี.ค. 60 ค่าวิทยากร 0 3,600.00 3,600.00
รวม 160 15,650.00 5 15,650.00
  1. ระยะก่อนดำเนินการ

    1.1 ประชุมคณะทำงาน อสม.ชมรมผู้สูงอายุ

    1.2 เขียนแผนงาน/เสนอโครงการ

    1.3 ประสานวิทยากรและสถานที่ฝึกอบรม

  2. ระยะดำเนินการ

    • วิทยากรบรรยาย
  • เรื่องสุขภาพจิตกับผู้สูงอายุ

  • เรื่องการสร้างเสริมคุณค่าผู้สูงอายุ

  • เรื่องการสร้างจิต สำนึกและปลูกฝังให้คนรุ่นหลังมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลผู้สูงอายุด้านจิตใจ

  • เรื่องการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าของผู้สูงอายุ

  • กิจกรรมกลุ่มเรื่องการสร้างเสริมคุณค่าแก่ผู้สูงอายุเพื่อปลูกฝังให้คนรุ่นหลังมีทัศนคติที่ดีต่อการ ดูแลผู้สูงอายุด้านจิตใจ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองในด้านสุขภาพจิต
  2. ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่าในตนเองสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
  3. ผู้สูงอายุมีได้รับการดูแลจากบุตรหลานในการดูแลสุขภาพจิต
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2017 15:10 น.