กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กแข็งแรงสมวัยห่างไกลภาวะทุพโภชนาการ ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L5281-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนบ่อทอง
วันที่อนุมัติ 4 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2561 - 31 ธันวาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มกราคม 2562
งบประมาณ 18,725.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววาสนา ทรัพย์มี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.871,100.144place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 85 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารและโภชนาการในช่วงวัยทารกและเด็กเล็กเป็นพื้นฐานสำคัญของการมีสุขภาพและสติปัญญาที่ดีในระยะยาว และยังมีความสำคัญมากต่อการป้องกันโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคอ้วน,เบาหวาน, ความดันโลหิต, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคกระดูกพรุน และมะเร็งบางชนิด เป็นต้น จากบทความของ พญ.นิภาภัทร์ วิศวชัยพันธ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อและเบาหวาน ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้กล่าวว่า เด็กที่ขาดอาหารเรื้อรังจะทำให้มีภาวะเตี้ยและมีพัฒนาการที่ไม่สมวัย (พญ.นิภาภัทร์ วิศวชัยพันธ์,2552,ลูกตัวเตี้ยอย่างไรเรียกว่าเตี้ย) ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาแบบองค์รวมของเด็กไทย ปี 2544 โดย รศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ และคณะ พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับเชาว์ปัญญาของเด็กอายุ 2-18 ปีแปรตามส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเด็กเตี้ย(stunting) มีค่าเฉลี่ยเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเด็กที่มีส่วนสูงตามเกณฑ์ ค่อนข้างสูง และสูง ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาในต่างประเทศ Victoria และคณะ ได้ศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะทุพโภชนาการในวัยเด็กกับต้นทุนด้านมนุษย์ (human capital) และความเสี่ยงต่อโรคในวัยผู้ใหญ่ โดยวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาแบบติดตามประชากรในระยะยาว (Prospective cohot study) จำนวน 5 การศึกษา ในประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง คือ บราซิล กัวเตมาลา อินเดีย ฟิลิปปินส์ และแอฟริกาใต้ พบว่า การขาดอาหารในช่วงแรกของชีวิต ได้แก่ ภาวะเติบโตช้าในครรภ์มารดาและภาวะเตี้ยในเด็กต่ำกว่า 6 ปี มีผลเสียอย่างถาวรต่อเนื่องไปถึงวัยผู้ใหญ่และยังต่อไปถึงรุ่นลูก โดยมีความสัมพันธ์ในด้านลบกับการศึกษาและรายได้ ในวัยผู้ใหญ่ รวมทั้งน้ำหนักแรกเกิดของลูกในรุ่นต่อไปด้วย (คู่มือแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ,2558, สำนักโภชนาการ กรมอนามัย)
จากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กแรกเกิด–5 ปี อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ 2560 (รวม 4 ไตรมาส) พบว่าเด็กแรกเกิด – 5 ปี จังหวัดสตูล มีส่วนสูงที่ดีและมีรูปร่างที่สมส่วน ต่ำกว่าเป้าหมายตัวชี้วัดคือร้อยละ 47.68 (เป้าหมายร้อยละ 51) และยังมีปัญหาเด็กเตี้ยและเด็กผอมมากกว่าเกณฑ์ มีส่วนสูงเฉลี่ยที่อายุ 5 ปี น้อยกว่าเกณฑ์ด้วย
ดังนั้น การลดภาวะเตี้ย และการส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีส่วนสูงดี รูปร่างสมส่วน วิธีการหนึ่งที่สามารถทำได้คือการให้เด็กได้รับอาหารที่เพียงพอและครบทุกหมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และควรทำการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันผลเสียที่อาจมีต่อเนื่องไปถึงวัยผู้ใหญ่ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในอนาคตต่อไปได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ด้านโภชนาการที่เหมาะสมแก่ผู้ปกครองของเด็ก

ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ด้านโภชนาการที่เหมาะสมมากขึ้น

0.00
2 เพื่อให้ความรู้และฝึกทักษะในการดูแลด้านโภชนาการของเด็กแก่ อสม

อสม มีความรู้และทักษะในการดูแลด้านโภชนาการของเด็ก มากขึ้น

0.00
3 เพื่อส่งเสริมการทำงานเครือข่ายบริการด้านการส่งเสริมโภชนาการของเด็ก

ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพมากขึ้น

0.00
4 เพื่อให้ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการดูแลด้านโภชนาการเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะทุพโภชนาการที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กได้

ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการดูแลด้านโภชนาการเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะทุพโภชนาการที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กได้มากขึ้น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ก.ค. 61 - 31 ธ.ค. 61 จัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านโภชนาการ และฝึกทักษะการประเมินภาวะการเจริญเติบโตของเด็ก 115 18,725.00 18,725.00
รวม 115 18,725.00 1 18,725.00

1.เขียนโครงการ จัดทำแผน ขออนุมัติโครงการ 2.ประสานงานขอความร่วมมือจากโภชนากรของโรงพยาบาลควนกาหลง และวิทยากรจาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอควนกาหลง 3.จัดกิจกรรมอบรมฝึกทักษะด้านการติดตามภาวะโภชนาการของเด็กในเขตรับผิดชอบของ อสม. 4.ให้ความรู้ด้านโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็กแก่ผู้ดูแลเด็ก 5.ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน 6.รายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ปกครองมีความรู้ด้านโภชนาการและสามารถหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการที่เกิดขึ้นกับเด็กได้อย่างถูกต้อง 2.ผู้ปกครองมีความตระหนักในการดูแลด้านโภชนาการเด็กและการกินอาหารที่มีประโยชน์ 3.อสม มีความรู้และเชี่ยวชาญมากขึ้นในการดำเนินงานโภชนาการ 4.เกิดบูรณาการเคือข่ายสุขภาพภาคประชาชนมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2561 14:44 น.