กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ส่งเสริมความรู้เพื่อนำไปสู่การป้องการ การเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กต่ำกว่า ๑๕ปี.ในหมู่บ้านนำร่องหมู่ 1
รหัสโครงการ 61-L5281-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ย
วันที่อนุมัติ 4 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2561 - 31 ธันวาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มกราคม 2562
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุภาภรณ์ พรหมแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.871,100.144place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลของสำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้สรุปสถานการณ์การตกน้ำ-จมน้ำของเด็ก พบว่า จากทั่วโลกกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากการตกน้ำ-จมน้ำ ปีละ 135,585คน หรือเฉลี่ยวันละ 372 คน ส่วนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจำนวนปีละ 32,744 คน เฉลี่ยวันละ 90 คน ขณะที่ประเทศไทยมีเด็กที่เสียชีวิตจากการจมน้ำมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว5-15 เท่าตัวเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี เมื่อเทียบกับการเสียชีวิตจากสาเหตุอื่น สูงกว่าสาเหตุจากการจราจรประมาณ 2 เท่าตัว และมากกว่าไข้จากจากเชื้อไวรัสที่มีแมลงเป็นพาหะและไข้เลือดออกถึง 24 เท่าตัว คิดเป็นจำนวนปีละ 1,420 คน หรือ วันละ 4 คนโดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการเสียชีวิตสูงสูด รองลงมาคือภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ โดยช่วงเวลาที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุดคือช่วงปิดภาคการศึกษาฤดูร้อน แหล่งน้ำที่เด็กเสียชีวิตมากที่สุดคือแหล่งน้ำธรรมชาติ ร้อยละ49.9 รองลงมาคือสระว่ายน้ำ ร้อยละ 5.4 และอ่างอาบน้ำร้อยละ 2.5 โดยเด็กที่จมน้ำส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชายอัตราส่วนผู้ชายต่อผู้หญิงประมาณ 2 ต่อ 1 และยังมีข้อมูลการเปรียบเทียบในเมืองกับชนบท กับจำนวนเด็กที่ตาย พบว่า เด็กอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไปในชนบทจะตายมากกว่าในเมือง แต่ถ้าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในเมืองจะตายมากกว่าในชนบท สำหรับสถานการณ์การเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ของจังหวัดสตูลในปี 2561นี้ มีเด็กต่ำกว่า 15 ปีเสียชีวิตแล้ว จำนวน 4 คน จาก 4 อำเภอคือ อำเภอเมือง ควนโดน ท่าแพ ละงู ทำให้อัตราการเสียชิวิตของเด็กอายุต่ากว่า 15 ปีของสตูลตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันคือ 5.95ต่อแสนประชากรเป้าหมายซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กระทรวงกำหนด(≤ 4.5 ต่อแสนประชากร) ทั้งนี้ถึงแม้อำเภอควนกาหลง หรือในเขตพื้นที่หมู่บ้านของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนบ่อทอง 5 หมู่บ้าน แม้จะยังไม่มีเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำแต่เนื่องจากในพื้นมีแหล่งน้ำธรรมชาติ และแหล่งน้ำที่สร้างขึ้นมีเกือบทุกหมู่บ้าน ยิ่งกว่านั้น ในบริเวณของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนบ่อทองเองก็จะมีสระน้ำอยู่ด้านข้าง ซึ่งในช่วงวันหยุดหรือช่วงปิดภาคการศึกษาจะมีเด็กในพื้นที่ของหมู่ที่ตั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จะมาแอบลงไปเล่นน้ำอยู่บ่อยครั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนบ่อทอง จึงเล็งเห็นความสำคัญของการที่ต้องมีมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์จมน้ำของเด็กในพื้นที่ขึ้นในอนาคต จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อมุ่งเน้นให้ความรู้แก่เด็กกลุ่มเสี่ยง ในพื้นที่รวมทั้งผู้ปกครองที่มีเด็กอายุ ต่ำกว่า 15 ปี ด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้เรื่องการป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำแก่ผู้ปกครอง

ไม่เกิดเหตุการณ์เสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุที่ต่ำกว่า 15เกิดขี้นภายในบริเวณบ้านของผู้ปกครองเด็กกลุ่มเสี่ยง

0.00
2 เพื่อเพิ่มทักษะการเอาตัวรอดจากการจมน้ำแก่เด็กกลุ่มเสี่ยงอายุ 6 ปีขึ้นไป

อัตราการเสียชิวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เท่ากับ 0

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 61 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและเด็กโดยวิธีบรรยายในห้องประชุม 60 9,600.00 9,600.00
1 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 61 การสาธิตและฝึกปฏิบัติ 60 5,400.00 5,400.00
รวม 120 15,000.00 2 15,000.00

1.สำรวจกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่เป้าหมาย 2.ติดต่อวิทยากรที่มีความรู้และความชำนาญเฉพาะ 3.จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ที่จะใช้ในการจัดกิจกรรม มี 2 แบบ คือ 1. บรรยายให้ความรู้โดยวิทยากรผู้มีความรู้เฉพาะ 2. สาธิตโดยวิทยากรที่ผ่านการอบรม ฝึกปฏิบัติโดยทีมวิทยากรที่ผ่านการอบรม โดยให้สถานที่สระน้ำในบริเวณโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนบ่อทอง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ปกครองเด็กกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในเรื่องการป้องกันการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 2.ผู้ปกครองเกิดการเรียนรู้และสามารถจัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านหรือสามรถกำจัดจุดเสี่ยงที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์จมน้ำของเด็กได้ตามความสามารถ 3.เด็กกลุ่มเสี่ยงมีทักษะการเอาตัวรอดจากการจมน้ำที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2561 15:01 น.