กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนุ้ย


“ โครงการน้ำตาลลด ความดันดี ชีวีมีสุข ปี ๒๕๖๑ ”

ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นางสุกัญญา คำพรหม

ชื่อโครงการ โครงการน้ำตาลลด ความดันดี ชีวีมีสุข ปี ๒๕๖๑

ที่อยู่ ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 61-L5281-1-04 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2561 ถึง 31 ธันวาคม 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการน้ำตาลลด ความดันดี ชีวีมีสุข ปี ๒๕๖๑ จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนุ้ย ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการน้ำตาลลด ความดันดี ชีวีมีสุข ปี ๒๕๖๑



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการน้ำตาลลด ความดันดี ชีวีมีสุข ปี ๒๕๖๑ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 61-L5281-1-04 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กรกฎาคม 2561 - 31 ธันวาคม 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 23,050.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนุ้ย เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน(DM)และโรคความดันโลหิตสูง (HT) เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD)โรคหัวใจและหลอดเลือด(CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ตระหนักถึงความสำคัญที่ต้องสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนและระดมพลังทั้งสังคมเพื่อแก้ไขและขจัดปัญหาดังกล่าวผ่านกระบวนการทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทยพ.ศ2554-2563 ซึ่งเป็นแผนระดับชาติเพื่อใช้เป็นกรอบชี้ทิศทางการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติการอย่างบูรณาการเป็นเอกภาพด้วยการรวมพลังขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วนประชาชนมีศักยภาพในการจัดการปัจจัยเสี่ยงและสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อโรควิถีชีวิตเพื่อปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ที่ลดเสี่ยงลดโรคลดภาวะแทรกซ้อน ลดการพิการ ลดความตาย และลดภาระค่าใช้จ่ายทั้งระดับบุคคล ครอบครัวชุมชนสังคมสังคมสุขภาวะบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนบ่อทอง ตำบล ทุ่งนุ้ยอำเภอควนกาหลงจังหวัดสตูล ได้ดำเนินตามนโยบายสาธารณสุข จัดให้มีดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่ ๕หมู่บ้านในปี 25๖๑ (ข้อมูลจากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์จ.สตูล HDC ปีงบประมาณ 2561)มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด ๒๖๔ รายโรคเบาหวาน๙๘ ราย เข้ารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนบ่อทองโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 11๕ราย ควบคุมโรคได้ ๗๒ ราย คิดเป็นร้อยละ๕๙.๑๓โรคเบาหวาน๓๒ราย ควบคุมโรคได้๒๒ ราย คิดเป็นร้อยละ๓๗.๕๐ จะเห็นได้ว่ามีการควบคุมโรคได้น้อย ซึ่งหากควบคุมโรคไม่ได้มีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD)โรคหัวใจและหลอดเลือด(CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น เพื่อให้มีการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในคลินิกโรคเรื้อรังและพื้นที่รับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนบ่อทองเป็นแบบองค์รวม และเกิดการบูรณาการให้ผู้ป่วยและญาติดูแลตนเองได้ สามารถควบคุมภาวะอาการของโรคได้ และลดการตายจากภาวะแทรกซ้อน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนบ่อทอง จึงขอสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานโครงการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันในคลินิกโรคเรื้อรังจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อดูแลสุขภาพผู้ป่วยแบบองค์รวมโดยการอบรมให้ความรู้ในการดูแลตนเองจากภาวะแทรกซ้อนได้อย่าง
  2. เพื่อดูแลและเยี่ยมผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้านพร้อมทั้งให้ความรู้ที่ถูกต้องพร้อมญาติผู้ดูแล
  3. เพื่อจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และสื่อนวัตกรรมเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ถูกต้อง
  2. การให้ความรู้ในกลุ่มอาสาสมัครครอบครัวเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 25
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง สามารถควบคุมโรคให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ลดการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ๒.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้รับการดูแลสุขภาพ และส่งต่อเพื่อรักษาอย่างถูกต้อง ๓.ญาติมีความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ๔.กลุ่มผู้นำสุขภาพอาสาสมัคสาธารณสุขมีความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในเขตรับผิดชอบเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ถูกต้อง

วันที่ 6 ธันวาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

๑.ประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการ แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้นำท้องถิ่น และอาสาสมัครสาธารณสุขและจัดตั้งทีมคณะกรรมการติดตามผู้ป่วยโรคเรื้อรัง               2.ร่วมกับผู้นำท้องถิ่น และอาสาสมัครสาธารณสุขสำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรัง ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ หมู่ที่ ๑,๓,๗,๑๐,๑๒               3. จัดกิจกรรมในคลินิกโรคเรื้อรัง ได้แก่ การให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ตรวจเฝ้าระวังการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวาน และความดันโลหิตสูง               4. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต้องได้รับการตรวจคัดกรองโรคแทรกซ้อน               5.การดูแลเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ได้มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรัง และผู้ป่วยที่ควบคุมอาการของโรคไม่ได้โดยทีมคณะกรรมการติดตามป่วยโรคเรื้อรัง               6.ร่วมคิดค้น นวตกรรมเพื่อเป็นตัวช่วยในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง               7.สรุปและประเมินผลโครงการ รายงานผลต่อกองทุนสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควนบ่อทอง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลการดำเนินงานสามารถติดตามได้ที่กองทุนหรือภาพถ่ายกิจกรรม

 

40 0

2. การให้ความรู้ในกลุ่มอาสาสมัครครอบครัวเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

วันที่ 7 ธันวาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

๑.ประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการ แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้นำท้องถิ่น และอาสาสมัครสาธารณสุขและจัดตั้งทีมคณะกรรมการติดตามผู้ป่วยโรคเรื้อรัง               2.ร่วมกับผู้นำท้องถิ่น และอาสาสมัครสาธารณสุขสำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรัง ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ หมู่ที่ ๑,๓,๗,๑๐,๑๒               3. จัดกิจกรรมในคลินิกโรคเรื้อรัง ได้แก่ การให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ตรวจเฝ้าระวังการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวาน และความดันโลหิตสูง               4. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต้องได้รับการตรวจคัดกรองโรคแทรกซ้อน               5.การดูแลเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ได้มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรัง และผู้ป่วยที่ควบคุมอาการของโรคไม่ได้โดยทีมคณะกรรมการติดตามป่วยโรคเรื้อรัง               6.ร่วมคิดค้น นวตกรรมเพื่อเป็นตัวช่วยในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง               7.สรุปและประเมินผลโครงการ รายงานผลต่อกองทุนสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควนบ่อทอง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลการดำเนินงานสามารถติดตามได้ที่กองทุนหรือภาพถ่ายกิจกรรม

 

65 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อดูแลสุขภาพผู้ป่วยแบบองค์รวมโดยการอบรมให้ความรู้ในการดูแลตนเองจากภาวะแทรกซ้อนได้อย่าง
ตัวชี้วัด : -ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมความดันได้ดี ร้อยละ 60 -ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ร้อยละ 40
0.00

 

2 เพื่อดูแลและเยี่ยมผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้านพร้อมทั้งให้ความรู้ที่ถูกต้องพร้อมญาติผู้ดูแล
ตัวชี้วัด : มีการจัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครครอบครัวเพื่อดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังจากกลุ่มที่ได้รับการอบรม ร้อยละ 80
0.00

 

3 เพื่อจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และสื่อนวัตกรรมเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ตัวชี้วัด : มีการจัดทำสื่อนวตกรรมเพื่อเป็นเครื่องมือในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 105
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 25
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อดูแลสุขภาพผู้ป่วยแบบองค์รวมโดยการอบรมให้ความรู้ในการดูแลตนเองจากภาวะแทรกซ้อนได้อย่าง (2) เพื่อดูแลและเยี่ยมผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้านพร้อมทั้งให้ความรู้ที่ถูกต้องพร้อมญาติผู้ดูแล (3) เพื่อจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และสื่อนวัตกรรมเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ถูกต้อง (2) การให้ความรู้ในกลุ่มอาสาสมัครครอบครัวเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการน้ำตาลลด ความดันดี ชีวีมีสุข ปี ๒๕๖๑ จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 61-L5281-1-04

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสุกัญญา คำพรหม )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด