กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาคุณภาพงานอนามัยแม่และเด็ก ปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L2492-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเคียน
วันที่อนุมัติ 5 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 สิงหาคม 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 53,040.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจิรภา พูลเทพ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.482,101.763place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพงานอนามัยแม่และเด็ก ขั้นตอนแรกคือการดูแลหญิงมีครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของแม่และเด็ก เพราะหากหญิงมีครรภ์เหล่านี้ได้รับการดูแลและเฝ้าระวังตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์แล้ว จะสามารถป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ได้ เช่น โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia)เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะโลหิตจาง เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ถ้าไม่ได้รับการดูแลและแก้ไขต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีขณะตั้งครรภ์แล้วจะส่งผลกระทบต่อแม่และเด็ก ในด้านความเสี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด จากรายงานการดำเนินงานด้านอนามัยแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเคียนอำเภอเมืองนราธิวาสจังหวัดนราธิวาส ในปีงบประมาณ ๒๕๕๙พบว่า หญิงมีครรภ์ในเขตรับผิดชอบมารับบริการฝากครรภ์ ทั้งหมด จำนวน๑๓๗คน อัตราการมาฝากครรภ์ของหญิงมีครรภ์ทั้งหมดมารับบริการฝากครรภ์ครบ ๕ครั้ง ตามเกณฑ์ ร้อยละ ๙๓.๗๕มาฝากครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ ก่อนหรือเท่ากับ ๑๒ สัปดาห์ ร้อยละ ๘๐.๒๙ และอัตราภาวะโลหิตจางของหญิงตั้งครรภ์ ครั้งที่๑ร้อยละ๒๑.๘๙ภาวะโลหิตจางของหญิงตั้งครรภ์ ครั้งที่๓ ( หน้าห้องคลอด ) ร้อยละ ๒๖.๗๙โดยตัวชี้วัดระดับจังหวัด ได้กำหนดให้อัตราการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐อัตราการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ ๑๒สัปดาห์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ๘๕และอัตราภาวะโลหิตจางของหญิงตั้งครรภ์ ไม่เกินร้อยละ๑๐นอกจากนี้ ยังพบว่า หญิงมีครรภ์ทั้งหมดที่มาฝากครรภ์มีภาวะเสี่ยง ร้อยละ ๒๗.๕๖จากข้อมูลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กดังกล่าว ถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ต้องได้รับการดูแล และแก้ไขปัญหาต่อไป

จากข้อมูลดังกล่าวเพื่อเป็นการลดปัญหาสุขภาพทุกประเภทที่อาจจะเกิดขึ้นในหญิงขณะตั้งครรภ์ในระหว่างคลอดและหลังคลอด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส จึงมีแนวคิดในการพัฒนากระบวนการในการดูแลหญิงมีครรภ์ต้องได้รับการดูแลฝากครรภ์ระหว่างตั้งครรภ์โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขครบ ๕ครั้ง หญิงมีครรภ์มาฝากครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ก่อน๑๒สัปดาห์ครบถ้วนตามเป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลถึงคุณภาพชีวิตมารดาและทารกมีสุขภาพดีตลอดระยะเวลาของการตั้งครรภ์ และหลังคลอดจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพงานอนามัยแม่และเด็ก ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงมีครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอดอย่างมีประสิทธิภาพ

 

2 เพื่อให้หญิงมีครรภ์รายใหม่ได้รับการเฝ้าระวัง ปัจจัยเสี่ยง และแก้ไขปัญหาสุขภาพอย่างทันท่วงที

 

3 เพื่อช่วยลดอัตราป่วยตายและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนในระยะของการตั้งครรภ์

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการให้กับ ผดุงครรภ์โบราณผ่านการอบรม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
ผู้นำทุกหมู่บ้าน ๒. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์การมาฝากครรภ์
๓. ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์รายใหม่และสามีทุกราย ๔. กำหนดพี่เลี้ยง ผู้ดูแลการรับประทานยาให้วิตามินเสริมธาตุเหล็ก โดยให้สามีหรือญาติและ อสม.เป็นผู้คอยดูแลให้หญิงตั้งครรภ์ได้กินยาต่อหน้าทุกวันและมีบันทึกการติดตามการกินยาโดย อสม. ๕. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ ซีดนี้....สลายได้” โดยเชิญหญิงตั้งครรภ์และสามีหรือญาติจำนวน ๘๐คน ที่สามารถแก้ไขภาวะโลหิตจางได้สำเร็จมาเล่าเคล็ดลับดีๆในการปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์เพื่อให้พ้นจากภาวะโลหิตจาง และสรุปบทเรียนที่ได้ มาเป็นแนวทางปฏิบัติในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ๖.จ่ายอาหารเสริมแก่หญิงมีครรภ์ที่มีภาวะซีดรุนแรง ( นม ไข่ ) เป็นระยะเวลา๒เดือน ๗.จัดทำสื่อการสอนเรื่องอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงที่มีในท้องถิ่น โดยใช้ภาษาไทยและภาษาท้องถิ่น ๘.อสม.ค้นหาและนำส่งหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ มาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์๑๒ สัปดาห์ ๙.สร้างแรงจูงใจ แก่หญิงหลังคลอดที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังนี้ ๑. มาฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์ก่อน๑๒สัปดาห์ ๒. ฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ ๓. ไม่มีภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ ๔. คลอดที่โรงพยาบาล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หญิงมีครรภ์รับรู้และตระหนักถึงภาวะเสี่ยงในขณะตั้งครรภ์และสามารถเข้ารับบริการดูแลโดยเจ้าหน้าที่ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข คือครบ ๕ครั้งตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพก่อนคลอด นอกจากนี้ยังสามารถลดอัตรามารดามีภาวะโลหิตจางและอัตราป่วยตายของทารกแรกคลอดอีกด้วย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2560 13:37 น.