กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ อยู่อย่างไรห่างไกลจากโรคคันเหาปีงบประมาณ 2561 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ อยู่อย่างไรห่างไกลจากโรคคันเหาปีงบประมาณ 2561 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
รหัสโครงการ 61-L5281-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ย
วันที่อนุมัติ 4 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 31,920.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนุสรีน่า เสรีรักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.871,100.144place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 216 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เหา (Head Lice) คือโรคติดเชื้อปรสิตซึ่งเป็นสัตว์ตัวเล็ก ๆ ชื่อว่าเหา โดยเหาจะเกาะอยู่ตามหนังศีรษะคอยดูดเลือดและวางไข่ทำให้มีอาการคัน เป็นปัญหาที่พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โรคเหาสามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็อาจกลับมาเป็นซ้ำได้อาการของเหาที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคืออาการคัน และอาจรู้สึกเหมือนมีตัวอะไรเคลื่อนไหวอยู่บนหนังศีรษะ โดยอาการของโรคเหาจะไม่สร้างความเจ็บปวดให้ผู้ป่วย ยกเว้นในกรณีที่เกาจนกลายเป็นแผลเปิด และติดเชื้อจนทำให้อักเสบ และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หากมีอาการรุนแรงก็อาจทำให้ผมร่วง และหนังศีรษะคล้ำลงเพราะการติดเชื้อได้สาเหตุของเหาเกิดจากปรสิตชื่อเหา(Lice) ซึ่งเป็นสัตว์ขนาดเล็กที่อาศัยอยู่บนหนังศีรษะมนุษย์ คอยดูดเลือดและวางไข่ ตัวโตเต็มวัยมีขนาดเท่าเมล็ดงา การติดโรคเหาส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากการอยู่ใกล้ชิดคนที่ติดเหา โดยโรคเหาติดต่อกันได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัยแต่อย่างใด แต่ไม่สามารถติดจากสัตว์ได้ภาวะแทรกซ้อนของเหาส่งผลต่อร่างกายและจิตใจ ด้านร่างกาย การติดเหาอาจนำมาสู่การติดเชื้อบนหนังศีรษะ เพราะเมื่อเกิดอาการคันจากเหาผู้ป่วยจะเกาะและอาจทำให้เป็นแผลเปิด นอกจากนี้ หากผู้ป่วยแพ้อุจจาระของเหาจะยิ่งทำให้เกิดอาการคันบริเวณหลังคอและหลังใบหูได้ ด้านจิตใจ ผู้ป่วยอาจเกิดความวิตกกังวล จนนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้เช่นกัน หากเด็กนักเรียนเป็นเหามากก็จะส่งผลต่อการเรียนทำให้ไม่มีสมาธิในการเรียน ผลการเรียนลดลง และอาจเป็นที่รังเกียจของสังคมได้ ส่งผลให้ให้สุขภาพจิตแย่ลงได้เช่นกัน ดังนั้นแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเรียนของเด็กนักเรียน จึงได้คิดค้นยาสูตรกำจัดเหาขึ้น เพื่อใช้กำจัดเหาในเด็กนักเรียน สนับสนุนให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
      โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ยจึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ อยู่อย่างไรห่างไกลจากโรคคันเหาขึ้น เพื่อให้เด็กนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเหา และยังช่วยเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทยในชุมชนให้เด็กยุคใหม่สืบสานความรู้เหล่านี้ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ ๑.เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเหา

เด็กนักเรียนลดการเป็นเหา

0.00
2 เพื่อช่วยลดปัญหาโรคเหาในเด็กนักเรียน

เด็กนักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปดูแลตนเองและผู้อื่น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ข้อที่ ๑.เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเหา

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อช่วยลดปัญหาโรคเหาในเด็กนักเรียน

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 มิ.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 บรรยายให้ความรู้เรื่องโรคเหาและสมุนไพรกำจัดเหา 31,920.00 -
1 มิ.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 ภาคปฏิบัติทำยาสูตรกำจัดเหาด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน และหมักผมกำจัดเหาในเด็กนักเรียน 0.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

ขั้นเตรียมการ       ๑. เสนอร่างโครงการผ่านเวทีพิจารณาโดยคณะกรรมการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ย
๒. จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ ขั้นดำเนินการ       ๓. เขียนโครงการและศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ       ๔. เสนอโครงการผ่านเวทีประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์หารบริหารส่วนตำบลทุ่งนุ้ย เพื่อขออนุมัติ         และสนับสนุนงบประมาณ       ๕. ปรับปรุงแก้ไขโครงการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์หารบริหารส่วนตำบลทุ่งนุ้ย
๖. ดำเนินการตามแผนงานโครงการที่จัดทำขึ้น ดังนี้ - นัดประชุมกับคุณครูในโรงเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมและนัดหมายกำหนดวันในการเข้ารับการอบรมให้ความรู้ เรื่องโรคเหา ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ย -จัดอบรมเด็กนักเรียนที่เป็นเหาให้ความรู้เรื่องโรคเหา และรณรงค์ให้เด็กนักเรียนมีความรู้ความสามารถในการดูแล ตนเองและผู้อื่น โดยนัดกลุ่มเป้าหมาย ประสานงานผ่านคุณครู ให้มาอบรมตามกำหนดวัน เวลา และสถานที่นัดหมาย           -อบรมเชิงปฏิบัติการ อยู่อย่างไรห่างไกลจากโรคคันเหาโดยวิทยากรจาก รพ.ควนกาหลง อ.ควนกาหลง จ. สตูล ขั้นประเมินผล ๗. ประเมิลผลการดำเนินโครงการเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์       ๘. ประเมิลผลการดำเนินโครงการเปรียบเทียบกับเป้าหมาย       ๙. ประเมิลผลการดำเนินโครงการเปรียบเทียบกับงบประมาณ ๑๐. ประเมิลผลการดำเนินโครงการเปรียบเทียบกับผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑๑. ประเมิลผลการดำเนินโครงการเปรียบเทียบกับความทันเวลาในการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเหา 2.ลดปัญหาโรคเหาในเด็กนักเรียน 3.เด็กยุคใหม่ให้รู้จักสมุนไพรไทยในชุมชนมากขึ้น 4.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2561 14:33 น.