กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโปรแกรมความสุข รับรู้คุณค่า เพื่อป้องกันโรคซึมเศร้า ปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L2492-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเคียน
วันที่อนุมัติ 5 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 22,740.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจิรภา พูลเทพ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.482,101.763place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 560 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 137 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 167 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์โรคซึมเศร้าในประเทศไทย กรมสุขภาพจิต รายงานว่ามีผู้ป่วยร้อยละ ๕ ของประชากรทั้งหมดหรือประมาณ ๓ล้านคน และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ แต่ในปัจจุบันพบว่าคนไทยให้ความสนใจกับโรคนี้น้อย มักมีทัศนคติในทางลบคิดว่าเป็นโรคจิต โรคประสาทหรือบ้า ทำให้ไม่กล้ามารับบริการ จึงพบว่าการเข้าถึงบริการและการวินิจฉัยรักษาเพียงร้อยละ ๒๘เท่านั้นโรคซึมเศร้าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีจะก่อให้เกิดการสูญเสียสุขภาวะ ส่งผลกระทบต่อครอบครัว สังคมและเศรษฐกิจ รวมทั้งเป็นภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาของภาครัฐนอกจากนี้หากเป็นเรื้อรังจะทำให้ผู้ป่วยมีความคิดทำร้ายตัวเองและฆ่าตัวตายในที่สุดซึ่งปัจจัยที่ส่งเสริมให้คนป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามีหลายปัจจัย ได้แก่ พันธุกรรมความเครียด การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมองการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนผู้ที่เก็บกดอารมณ์ มองโลกในแง่ร้ายมีโรคทางกายหรือโรคเรื้อรังผู้สูงอายุที่ขาดการดูแลเอาใจใส่จากลูกหลานผู้พิการหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายเป็นต้น ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะมีความเครียด วิตกกังวล หากไม่สามารถจัดการกับความเครียดและความวิตกกังวลจะก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิตที่รุนแรงขึ้นได้ ทำให้เกิดความท้อแท้สิ้นหวัง เบื่อหน่ายความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลง มีภาวะซึมเศร้า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเคียนเล็งเห็นความสำคัญในการป้องกันและค้นหาผู้ที่เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าในกลุ่มเสี่ยงสูงคือ ผู้สูงอายุผู้พิการ และ สตรีมีครรภ์จึงได้จัดทำโครงการโปรแกรมความสุข รับรู้คุณค่า เพื่อป้องกันโรคซึมเศร้า ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ขึ้นโดยใช้แนวคิดของซาร์เทียร์ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาสามารถค้นพบสาเหตุของความทุกข์ที่มาจากกระบวนการทางด้านความรู้สึกนึกคิดและจากรูปแบบที่ตนตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ มุ่งให้ผู้รับบริการตระหนักรู้ มีการเปลี่ยนแปลงตนเองจากภายในและพฤติกรรมภายนอกที่แสดงออกให้มีความเหมาะสมกลมกลืนสามารถเป็นผู้เลือกที่ดี รับรู้ความมีคุณค่าในตัวเองและรับผิดชอบมาก ขึ้นลดภาวะแทรกซ้อนและให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองและค้นหาโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุผู้พิการหญิงตั้งครรภ์รวมทั้งผู้ดูแล

 

2 เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวตระหนักรู้ตนเองเพิ่มความรู้สึกรู้คุณค่าในตนเองและดำเนินชีวิตได้อย่างสอดคล้องและกลมกลืนกับตนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นสุขมากขึ้น

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
21 - 25 ส.ค. 60 ประชุมชี้แจง วางแผนการรณรงค์ และให้ความรู้เพื่อป้องกันโรคซึมเศร้า 190 22,740.00 22,740.00
รวม 190 22,740.00 1 22,740.00

๑.ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน และจัดทำโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลโคกเคียน ๒. ประชุมคณะกรรมการ/อนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลโคกเคียนเพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการฯ
๓. ประชาสัมพันธ์โครงการ ฯ ๔ สำรวจกลุ่มเป้าหมาย รณรงค์คัดกรอง2 Q ในกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุผู้พิการสตรีมีครรภ์
๕ คัดเลือกและจัดอบรมให้ความรู้ครอบครัวและกลุ่มเป้าหมาย ที่มี 2 Qpositive จำนวน ๒๐ ครอบครัว แบ่งเป็น ๒ รุ่นๆ ละ๑๐ ครอบครัวอบรม๒ วัน ๖ สอนสาธิตการนวดเพื่อผ่อนคลายความเครียด ๗ สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้สูงอายุผู้พิการสตรีมีครรภ์ เข้าถึงบริการโรคซึมเศร้ามากขึ้น ๒. ครอบครัวมีความสุขเพิ่มขึ้น รวมทั้งตระหนักรู้ในบทบาทหน้าที่ของตนเองและครอบครัว ๓. ผู้ผ่านการอบรมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2560 10:39 น.