กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกหล่อ


“ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยเพื่อจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง ตำบลโคกหล่อ ปี 2561 ”

ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นางสุจินดา คงเนียม

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยเพื่อจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง ตำบลโคกหล่อ ปี 2561

ที่อยู่ ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 2561-L1490-1-08 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยเพื่อจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง ตำบลโคกหล่อ ปี 2561 จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกหล่อ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยเพื่อจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง ตำบลโคกหล่อ ปี 2561



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยเพื่อจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง ตำบลโคกหล่อ ปี 2561 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 2561-L1490-1-08 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กรกฎาคม 2561 - 30 กันยายน 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 39,200.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกหล่อ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

จากรายงานการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พ.ศ.2555 (Chronic Diseases Surveillance Report,2020)โดยสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าในปีพ.ศ.2555 ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5 โรครายใหม่  มีจำนวนรวม 1,009,002 ราย โรคความดันโลหิตสูง มีผู้ป่วยสูงสุดจำนวน 602,548 ราย อัตราป่วย 937.58 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือโรคเบาหวาน จำนวน 336,265 ราย อัตราป่วย 523.24 ต่อแสนประชากร โรคหัวใจขาดเลือดจำนวน 24,587 ราย อัตราป่วย 38.26 ต่อแสนประชากร และโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 20,675 ราย อัตราป่วย 32.17 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 5 โรคสะสม (รายใหม่และเก่า) ระหว่างปี พ.ศ.2551-2555  มีจำนวนรวม 5,471,929 ราย โรคความดันโลหิตสูง มีอัตราความชุกสูงสุด คือพบผู้ป่วย จำนวน 3,398,412 ราย อัตราความชุก 5,288.01 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือโรคเบาหวาน จำนวน 1,799,977 ราย อัตราความชุก 2,800.81 ต่อแสนประชากร โรคหัวใจขาดเลือดจำนวน 92,770 ราย อัตราความชุก 144.35 ต่อแสนประชากร และโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 67,168 ราย อัตราความชุก 104.51 ต่อแสนประชากรดูแนวโน้มระหว่างปี 2551-2555 พบว่าทุกโรคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากรายงานผลการวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความดันโลหิต พบว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของบุคคลจะประสบความสำเร็จได้นั้น เกิดจากการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดยใช้ทฤษฎี แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health belief model) ซึ่งเป็นปัจจัยที่ใช้ในการทำนายและอธิบายพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในการให้ความร่วมมือปฏิบัติตนเพื่อควบคุมโรค ความเชื่อด้านสุขภาพ คือความรู้สึกนึกคิด ความเข้าใจหรือการยอมรับเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของบุคคล มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจที่จะกระทำ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องก็จะตระหนักและมีพฤติกรรมในการดูแลตนเองที่เหมาะสม ซึ่งแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ประกอบด้วยการรับรู้เกี่ยวกับภาวะสุขภาพ การเกิดโรค และภาวะแทรกซ้อนของโรค 4 ด้าน คือ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ของการรักษา การรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติตนทฤษฏีการสนับสนุนทางสังคม (Social support) การสนับสนุนทางสังคมเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคมทำให้ผู้ได้รับการสนับสนุนทางสังคมเกิดความรู้สึกผูกพัน เชื่อมั่นว่ามีคนรัก คนสนใจ มีความรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ที่สามารถเผชิญและตอบสนองต่อความเครียด ความเจ็บป่วย และทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง (Self-efficacy) การรับรู้ความสามารถของตนเองมีผลต่อการกระทำของบุคคล ถ้าผู้ป่วยมีความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถปฏิบัติได้ตามแผนการรักษาก็จะมีแรงจูงใจที่จะปฏิบัติ ซึ่งผู้ป่วยจะรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติเรื่องใด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจก่อนว่าเรื่องนั้นปฏิบัติอย่างไร และเมื่อปฏิบัติแล้วจะเกิดผลดีตามที่คาดหวัง ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในพื้นที่ตำบลโคกหล่อทั้งหมด 1,077 ราย และมารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกหล่อจำนวน 606ราย แยกเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 226ราย และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน 380ราย จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติได้ จำนวน 41 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.14 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติได้ จำนวน 142 รายคิดเป็นร้อยละ 37.37ซึ่งยังต่ำกว่าเป้าหมาย ของกระทรวงสาธารณสุข ที่กำหนดให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ ระดับน้ำตาลในเลือด น้อยกว่า 130mg%ได้ อย่างน้อย ร้อยละ 40ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติระดับความดันโลหิต น้อยกว่า 140/90 mm.Hgอย่างน้อยร้อยละ 50 ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนที่จะตามมา จากการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนที่ผ่านมาพบว่าผู้ป่วยตำบลโคกหล่อมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต และมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจ ร้อยละ 20และในปีงบประมาณ 2561 มีผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค เกิดอัมพฤตอัมพาต จำนวน 10 ราย ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ผู้ป่วยและครอบครัวส่วนใหญ่ ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมตามแนวทางการรักษา เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิต ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย จากภาวะแทรกซ้อนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งไม่ตระหนักถึงภาระค่าใช่จ่ายของครอบครัว ภาครัฐในการดูแลรักษา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ได้ตระหนักถึงความสำคัญปัญหานี้  จึงได้จัดทำ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยเพื่อจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยตนเองขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ความเข้าใจเรื่องแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพการสนับสนุนทางสังคมการรับรู้ความสามารถตนเองและแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
  2. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงตระหนักถึงความสำคัญและจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. จัดทำเอกสารประกอบการอบรม
  2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ป่วยสามารถจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง ได้ถูกต้องเหมาะสม ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนของโรคทั้งในระยะสั้นและระยะยาว


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ความเข้าใจเรื่องแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพการสนับสนุนทางสังคมการรับรู้ความสามารถตนเองและแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
ตัวชี้วัด : ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เข้ารับการอบรม มีความรู้เพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 80 จากการทำแบบประเมิน ก่อน และหลังการอบรม
80.00

 

2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงตระหนักถึงความสำคัญและจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 40ของผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับการอบรม สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่เข้ารับการอบรมสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 100
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ความเข้าใจเรื่องแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพการสนับสนุนทางสังคมการรับรู้ความสามารถตนเองและแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม (2) เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงตระหนักถึงความสำคัญและจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) จัดทำเอกสารประกอบการอบรม (2) กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยเพื่อจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง ตำบลโคกหล่อ ปี 2561 จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 2561-L1490-1-08

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสุจินดา คงเนียม )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด