กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ ส่งเสริมป้องกันการเกิดแผลกดทับที่บ้าน ”
ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา



หัวหน้าโครงการ
นางธนัชญา พูลสวัสดิ์




ชื่อโครงการ ส่งเสริมป้องกันการเกิดแผลกดทับที่บ้าน

ที่อยู่ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 61-L7258-1-23 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2561

กิตติกรรมประกาศ

"ส่งเสริมป้องกันการเกิดแผลกดทับที่บ้าน จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครหาดใหญ่ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ส่งเสริมป้องกันการเกิดแผลกดทับที่บ้าน



บทคัดย่อ

โครงการ " ส่งเสริมป้องกันการเกิดแผลกดทับที่บ้าน " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 61-L7258-1-23 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 สิงหาคม 2561 - 30 กันยายน 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 24,800.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครหาดใหญ่ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันแผลกดทับเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญหนึ่ง ของผู้ป่วยที่ดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ส่วนใหญ่เกิดกับผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวหรือเป็นอัมพาต ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้เอง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี มีผลกระทบทั้งผู้ป่วยและครอบครัว ตลอดจนโรงพยาบาลเอง ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย จากข้อมูลผู้ป่วยติดเตียงของเขตเทศบาลหาดใหญ่ ที่ส่งต่อจากโรงพยาบาลเพื่อดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ปีงบประมาณ 2560/ 2561 เดือน(ตค.60-มิย.61)เกิดแผลกดทับร้อยละ 56 , 95 ตามลำดับ ดังนั้นการป้องกันการเกิดแผลกดทับของผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยงที่บ้าน จึงนับเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
ศูนย์ดูแลต่อเนื่องที่บ้าน รพ.หาดใหญ่ เห็นความสำคัญของการส่งเสริมป้องกันแผลกดทับที่บ้านและการดูแลผู้ป่วยที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันแผลกดทับที่บ้านขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพของพยาบาลเยี่ยมบ้าน ผู้ดูแลผู้ป่วยตลอดจนจิตอาสา ในชุมชน ได้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้านอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง มีการเก็บรวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบ เกิดมาตรฐานในทิศทางเดียวกัน สามารถนำไปพัฒนางานพยาบาลเยี่ยมบ้านได้

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ผู้ป่วยที่เป็นแผลกดทับแล้วได้รับการดูแลต่อเนื่อง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่พยาบาลชุมชน โรงพยาบาลหาดใหญ่ /พยาบาลจากศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครหาดใหญ่/พยาบาลจากรพใเอกชน/คลินิกอบอุ่น/คลินิกแพทย์เกรียงศักดิ์
  2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่อสม/จิตอาสาในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่
  3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่พยาบาลชุมชน โรงพยาบาลหาดใหญ่ /พยาบาลจากศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครหาดใหญ่/พยาบาลจากรพ.เอกชน/คลินิกอบอุ่น/คลินิกแพทย์เกรียงศักดิ์และอสม/จิตอาสาเขตเทศบาลหาดใหญ่
  4. กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียงที่ส่งต่อจากโรงพยาบาล ทั้งกลุ่มเสียงและกลุ่มที่พบแผลกดทับแล้ว
  5. ติดตามประเมินผลและสรุปโครงการส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครหาดใหญ่
  6. อบรมให้ความรู้แก่พยาบาลกลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ.หาดใหญ่เทศบาลนครหาดใหญ่และอาสาสมัครสาธารณสุข/จิตอาสาเขตเทศบาลนครหาดใหญ่

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่จะได้รับการป้องกันการเกิดแผลกดทับโดยใช้การประเมิน ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2.ประชาชนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จะได้รับการดูแลแผลกดทับด้วยเทคนิคทางการพยาบาลที่ทันสมัย ช่วยส่งเสริมการหายของแผลดีขึ้น 3.ทำให้ทราบอัตราความชุกของแผลกดทับในอำเภอหาดใหญ่ 4.พยาบาลเยี่ยมสามารถประเมินแผลกดทับระดับต่างๆและดูแลแผลกดทับได้


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่พยาบาลชุมชน โรงพยาบาลหาดใหญ่ /พยาบาลจากศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครหาดใหญ่/พยาบาลจากรพใเอกชน/คลินิกอบอุ่น/คลินิกแพทย์เกรียงศักดิ์

วันที่ 27 สิงหาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

  1. อบรมให้ความรู้เรื่องแผลกดทับและสาธิตการทำแผลแบบนวตกรรมใหม่ๆ แก่พยาบาลวิชาชีพจากศูนย์บริการสาธารณสุขในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่/โรงพยาบาลหาดใหญ่และเครือข่ายบริการจำนวน 48 คน
  2. ประเมินความรู้ทั้งก่อนและหลังการอบรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต พยาบาลวิชาชีพจากศูนย์บริการสาธารณสุขในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่/รพ.หาดใหญ่/เครือข่ายบริการได้รับการพัฒนาศักยภาพเรื่องการส่งเสริมป้องกันแผลกดทับท่ีบ้าน

ผลลัพธ์ พยาบาลที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องแผลกดทับเพิ่มขึ้นร้อยละ 96.77

 

48 0

2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่อสม/จิตอาสาในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่

วันที่ 28 สิงหาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

1.กิจกรรมช่วงเช้าอบรมให้ความรู้แก่อสม/จิตอาสาในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่จำนวน 34 คน โดยช่วงบ่ายแบ่งเป็นกลุ่มให้ความรู้และสาธิตการทำแผล การใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลแผล 2.มีการประเมินความรู้ก่อน/หลังอบรม 3.กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียง ร่วมกับอสม./จิตอาสามีสอนการทำแผลแบบใหม่แก่อสมและผู้ดูแล/แนะนำการป้องกันแผลกดทับ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต 1. อสม/จิตอาสาได้รับการพัฒนาศักยภาพเรื่องการส่งเสริมป้องกันแผลกดทับที่บ้าน


ผลลัพธ์ 1.อสม/จิตอาสามีความรู้ในเรื่องการส่งเสริมป้องกันแผลกดทับท่ีบ้านเพิ่มขึ้น 100%

 

34 0

3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่พยาบาลชุมชน โรงพยาบาลหาดใหญ่ /พยาบาลจากศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครหาดใหญ่/พยาบาลจากรพ.เอกชน/คลินิกอบอุ่น/คลินิกแพทย์เกรียงศักดิ์และอสม/จิตอาสาเขตเทศบาลหาดใหญ่

วันที่ 28 สิงหาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องแผลกดทับแก่พยาบาล และอสม./จิตอาสาและสาธิตการทำแผลกดทับแนวใหม่ ช่วงบ่ายแบ่งเป็นฐาน 3 ฐานเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้วัสดุปกป้องผิวหนัง ไม่ให้เป็นแผลกดทับ การใช้วัสดุทำแผลกดทับแบบใหม่ 2.กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียงร่วมกับพยาบาลในพื้นท่ีรับผิดชอบและอสม. ครั้งแรกสาธิตการทำแผลแก่ผู้ดูแลและให้วัสดุปกป้องผิวหนังแก่ผู้ดูแล 3.เยี่ยมบ้านผู้ป่วยกลุ่มเดิม เป็นครั้งที่ 2 เพื่อประเมินผลการดูแลผู้ป่วยติดเตียง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต 1. ผู้เข้าอบรมพยาบาล/อสมมีความรู้ในเรื่องการป้องกันแผลกดทับที่บ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ  80 2. ผู้ป่วยติดเตียงท่ีจำหน่ายจากรพ.ได้รับการเยี่ยมบ้าน 100%และได้รับผลิตภัณฑ์ในการป้องกันแผลกดทับทุกคน 3. ผู้ดูแลมีความรู้ในการป้องกันแผลกดทับที่บ้าน ผลลัพธ์ 1.ผู้ป่วยติดเตียงท่ีจำหน่ายจากรพ. มีแผลกดทับน้อยกว่าร้อยละ 5

 

0 0

4. กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียงที่ส่งต่อจากโรงพยาบาลร่วมกับพยาบาลและอสม.จากศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครหาดใหญ่ ทั้งกลุ่มเสียงและกลุ่มที่พบแผลกดทับแล้ว

วันที่ 29 สิงหาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

  1. รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยติดเตียงท่ีจำหน่ายจากโรงพยาบาลช่วงเดือนตุลาคม 2560-กรกฎาคม 2561
  2. แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่พบแผลกดทับแล้ว
  3. เยี่ยมบ้านผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มร่วมกับทีมพยาบาลและอาสาสมัครสาธาณสุขจากศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลนครหาดใหญ่
  4. สอนการทำแผลแบบใหม่แก่ผู้ดูแล/อสม.และให้วัสดุป้องกันผิวหนัง/ใส่แผล 5.ติดตามเยี่ยมครั้งที่ 2 (ภายใน 2 สัปดาห์เพื่อประเมินผลต่อเนื่อง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต
(ผู้ป่วยติดเตียงที่จำหน่ายจากโรงพยาบาลจำนวน 184 ราย พบเป็นแผลกดทับ 47 ราย) 1.ผู้ป่วยแผลกดทับ 47 ราย ได้รับการเยี่ยมบ้านจำนวน 8 ราย/เยี่ยมรายละ 2 ครั้ง 2.กลุ่มเสี่ยงที่ยังไม่เป็นแผลกดทับจำนวน 137 รายได้รับการเยี่ยมบ้านจำนวน 6 ราย/รายละ 2 ครั้ง

ผลลัพธ์ 1. ผู้ป่วยติดเตียงท่ีเป็นกลุ่มเสียงไม่พบแผลกดทับ 2. ผู้ป่วยท่ี่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการเยี่ยมบ้านร้อยละ 15.21

 

14 0

5. อบรมให้ความรู้แก่พยาบาลกลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ.หาดใหญ่เทศบาลนครหาดใหญ่และอาสาสมัครสาธารณสุข/จิตอาสาเขตเทศบาลนครหาดใหญ่

วันที่ 13 ธันวาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

1.อบรมให้ความรู้แก่พยาบาลและอสม.เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ 2.ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียงที่จำหน่ายจากรพ.หาดใหญ่ ปี 2561

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

out Put /out come
1. พยาบาลประจำศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครหาดใหญ่และพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลหาดใหญ่ จำนวน 40 คนและอสม.จำนวน 30 คน ได้รับความรู้ในการดูแลผู้ป่วยแผลกดทับ มีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ98.43 2.ผู้ป่วยติดเตียงที่ยังไม่เป็นแผลกดทับ จำนวน 6 รายได้รับการเยี่ยมบ้าน 2 ครั้ง ห่างกัน 2 สัปดาห์ ได้แนะนำการป้องกันแผลกดทับ และใช้วัสดุป้องกันผิวหนัง จำนวน 6 รายพบว่าสามารถป้องกันแผลกดทับได้ทุกคน 3. ผู้ป่วยติดเตียงที่เป็นแผลกดทับแล้ว ได้รับการเยี่ยมบ้านจำนวน 8 ราย เยี่ยมบ้าน 2 ครั้งห่างกัน 2 สัปดาห์ สอนการทำแผลแบบใหม่และให้วัสดุป้องกันผิวหนังจำนวน 8 ราย พบว่า แผลดีขึ้น จำนวน 6 ราย แผลไม่ดีขึ้น 1 ราย/เสียชีวิต 1 ราย

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

1.โครงการส่งเสริมป้องกันแผลกดทับที่บ้าน 2.วัตถุประสงค์ 2.1 พัฒนาศักยภาพพยาบาล/ผู้ดูแล/จิตอาสาในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน 2.2 เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับรายใหม่ของกลุ่มเสียงที่บ้าน
2.3 ผู้ป่วยติดเตียงที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่อง 3. กลุ่มเป้าหมาย 3.1 พยาบาลประจำศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลและพยาบาลชุมชนโรงพยาบาลหาดใหญ่ จำนวน 40 คน 3.2 ผู้ดูแล/จิตอาสาจำนวน 30 คน
จำนวนผู้เข้าอบรมจริงทั้งสิ้น จำนวน ๘๒ คน (พยาบาล ๔๘ คน/อสม/จิตอาสา ๓๔ คน) 4. สถานที่ดำเนินงาน 4.1อบรมให้ความรู้ ห้องประชุมศูนย์แพทยศาสตร์ ชั้นคลินิก โรงพยาบาลหาดใหญ่ 4.2เยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียงในเขตเทศบาลจำนวน 14ราย เยี่ยมบ้านละ ๒ ครั้ง ระยะเวลาห่างกัน 2 สัปดาห์

  1. วันที่จัดกิจกรรม
      วันที่ 27/28 สิงหาคม 2561
  2. งบประมาณ งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ 24,800 บาท (สองหมื่นสี่พันแปดร้อยบาทถ้วน) งบประมาณเบิกจ่ายจริง 17,754 บาท คิดเป็นร้อยละ 71.54 (รายละเอียดการใช้งบประมาณดังนี้)
  3. ค่าอาหารกลางวันจำนวน 82 กล่อง(82x70)  คิดเป็นเงิน 5,740 บาท
  4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 82 ชุด(50x 82) คิดเป็นเงิน 4,100 บาท 3.ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 600 บาทx 6ชั่วโมง(600*1) คิดเป็นเงิน 3,600 บาท 4.ค่าวัสดุปกป้องผิวหนังจากกสิ่งขับถ่าย  คิดเป็นเงิน 2,5๑๔ บาท 5.ค่าถ่ายเอกสาร  คิดเป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท

คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 17,754 (หนึ่งหมื่นเจ็ดพันเจ็ดร้อยห้าสิบสี่บาทถ้วน)
7. ผลการดำเนินงาน

7.1 ประเมินความรู้ 1. ผลการประเมินความรู้ พยาบาลที่ตอบแบบสอบถามประเมินความรู้ก่อน/หลังทั้งหมด

จำนวน 31 คน มีความรู้เพิ่มขึ้น 30 คนคิดเป็นร้อยละ 96.77 แบบประเมินจำนวน 15 ข้อ คะแนน 13 จำนวน 8 คน คะแนน 14 จำนวน 11 คน คะแนนเต็ม 15 จำนวน 8 คน
2. ผลการประเมินความรู้ อสม/จิตอาสา.ที่ตอบแบบสอบถามประเมินความรู้ก่อน/หลังทั้งหมด 33 คน มีความรู้เพิ่มขึ้นทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100 แบบประเมินจำนวน 15 ข้อ คะแนน 13 จำนวน 6 คน คะแนน 14 จำนวน 6 คน คะแนนเต็ม 15 จำนวน 1 คน

สรุปว่าผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 98.43

7.2 ประเมินผลการเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วยติดเตียงที่ส่งต่อจากโรงพยาบาลเพื่อดูแลต่อที่บ้านในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560ถึงเดือนกรกฎาคม 2561 จำนวน 184ราย พบเป็นแผลกดทับเมื่อจำหน่ายจากโรงพยาบาลจำนวน 47รายคิดเป็นร้อยละ 25.54 ยังไม่เกิดแผลกดทับจำนวน 137 รายดังนี้ 1. กลุ่มที่เป็นแผลกดทับแล้ว จำนวน 47 คนได้รับการเยี่ยมบ้านทีมพยาบาลผู้ดูแลแผลกดทับ จำนวน 8 ราย โดยกลุ่มที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง ที่มีแผลกดทับแล้วได้รับการเยี่ยมบ้านรายละ 2 ครั้ง 2. กลุ่มเสี่ยงที่ยังไม่เป็นแผลกดทับ 137 คน ได้รับการเยี่ยมบ้านจากทีมพยาบาลผู้ดูแลแผลกดทับ จำนวน 6 ราย โดยกลุ่มเสี่ยงที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง ยังไม่เป็นแผลกดทับได้รับการเยี่ยมบ้านรายละ 2ครั้ง สรุป ผู้ป่วยที่เป็นแผลกดทับทั้ง 8 ราย ได้รับการสอนการทำแผลด้วยวิธีใหม่และใช้วัสดุป้องกันผิวหนังและเจลใส่แผล พบแผลดีขึ้น จำนวน 6 ราย แผลไม่ดีขึ้น 1 ราย/เสียชีวิต 1ราย ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่ยังไม่เป็นแผลกดทับ ได้รับการเยี่ยมบ้าน เพื่อแนะนำการป้องกันแผลกดทับ และใช้วัสดุป้องกันผิวหนังจำนวน 6 รายพบว่า สามารถป้องกันแผลกดทับได้ทั้ง 6 ราย

  1. ปัญหา อุปสรรค์ในการดำเนินงาน 8.1 กลุ่มเป้าหมาย : พยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขเทศบาลนครหาดใหญ่ จำนวน 15 คน มาอบรมได้เพียง 5 คน ต้องเพิ่มพยาบาลจากโรงพยาบาลหาดใหญ่และจิตอาสา/อสม.ในชุมชน เพื่อให้ครบตามจำนวนที่ตั้งไว้ 8.2 ระเบียบการใช้จ่ายเงิน ถึงแม้โครงการจะได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครหาดใหญ่แล้ว อุปกรณ์บางอย่างต้องใช้ระเบียบเงินบำรุงของโรงพยาบาล ซึ่งไม่สามารถใช้จ่ายเงินได้ ถ้าใช้ไม่ได้ต้องคืนเงิน
    8.3 ผู้รับผิดชอบโครงการนอกจากจะสรุปผลโครงการส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพแล้ว ยังต้องส่งสำเนาใบเสร็จการใช้จ่ายเงินทั้งหมด รวมทั้งค่าซื้ออุปกรณ์ที่สามารถซื้อได้/ค่าถ่ายเอกสาร ซึ่งต้องผ่านงานพัสดุและการเงิน ต้องใช้เวลานาน ทำให้ล่าช้าในการรวบรวมเอกสารได้ครบ 8.4 ระยะเวลาในการเยี่ยมบ้านมีเวลาน้อย เดือนสิงหาคม-กันยายน ทำให้เยี่ยมกลุ่มเสี่ยงได้ไม่ครบ
    1. ข้อเสนอแนะ 9.1 งานการเงิน ควรมีการชี้แจงเกี่ยวกับการทำโครงการ โดยใช้ระเบียบเงินบำรุงของโรงพยาบาลก่อนว่าวัสดุ/เวชภัณฑ์ใดที่สามารถซื้อได้บ้าง ผู้รับผิดชอบโครงการจะได้ทราบ ไม่ต้องมาคืนเงินให้กับกองทุนหลักประกันสุขภาพในภายหลัง 9.2 การทำโครงการโดยใช้งบประมาณภายนอกหน่วยงาน เช่น งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เมื่อมีเงินโอนเข้าเงินบำรุงของโรงพยาบาลแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น การเงินและพัสดุ ควรให้การสนับสนุน แก่ผู้รับผิดชอบโครงการ เพื่อสะดวก และรวดเร็วในการทำงาน เพื่อให้สามารถสรุปผลโครงการได้ทันตามเวลาที่กำหนด

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ผู้ป่วยที่เป็นแผลกดทับแล้วได้รับการดูแลต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด : 1. พัฒนาศักยภาพพยาบาล/ผู้ดูแล/จิตอาสาในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน 2. ป้องกันการเกิดแผลกดทับรายใหม่ของกลุ่มเสียงที่บ้าน 3. ผู้ป่วยติดเตียงที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่อง
0.00 0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 20
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ผู้ป่วยที่เป็นแผลกดทับแล้วได้รับการดูแลต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่พยาบาลชุมชน โรงพยาบาลหาดใหญ่ /พยาบาลจากศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครหาดใหญ่/พยาบาลจากรพใเอกชน/คลินิกอบอุ่น/คลินิกแพทย์เกรียงศักดิ์ (2) กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่อสม/จิตอาสาในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ (3) กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่พยาบาลชุมชน โรงพยาบาลหาดใหญ่ /พยาบาลจากศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครหาดใหญ่/พยาบาลจากรพ.เอกชน/คลินิกอบอุ่น/คลินิกแพทย์เกรียงศักดิ์และอสม/จิตอาสาเขตเทศบาลหาดใหญ่ (4) กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียงที่ส่งต่อจากโรงพยาบาล ทั้งกลุ่มเสียงและกลุ่มที่พบแผลกดทับแล้ว (5) ติดตามประเมินผลและสรุปโครงการส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครหาดใหญ่ (6) อบรมให้ความรู้แก่พยาบาลกลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ.หาดใหญ่เทศบาลนครหาดใหญ่และอาสาสมัครสาธารณสุข/จิตอาสาเขตเทศบาลนครหาดใหญ่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ส่งเสริมป้องกันการเกิดแผลกดทับที่บ้าน จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 61-L7258-1-23

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางธนัชญา พูลสวัสดิ์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด