กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตสำหรับผู้สูงอายุ ในพื้นที่ชุมชนเมือง เทศบาลนครยะลา
รหัสโครงการ 61 – L7452 – 2 - 21
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา(กลุ่มงานพัฒนานักศึกษา และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม)
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2561 - 31 ตุลาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 97,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอุบลทิพย์ ไชยแสง หัวหน้าโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.523,101.181place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 900 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มบุคคลที่ควรได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นกลุ่มประชากรที่มีแนวโน้ม จะเพิ่มขึ้นภายในสองทศวรรษหน้า ซึ่งในปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทยจะมีจำนวนประชากรผู้สูงอายุไม่น้อยกว่า 11 ล้านคน (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2552) การเพิ่มของประชากรสูงอายุทำให้เกิดปัญหาตามมาเช่นปัญหาเศรษฐกิจสังคมและสุขภาพเนื่องจากผู้สูงอายุมีแบบแผนการเจ็บป่วยต่างจากวัยอื่นการเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องการการดูแลระยะยาวความเสื่อมถอยของกำลังร่างกายทำให้ศักยภาพในการทำงานลดลงผู้สูงอายุจึงไม่มีรายได้และจำเป็นต้องพึ่งพาผู้อื่นการต้องลดบทบาทในครอบครัวและสังคมทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกด้อยค่าขาดความภาคภูมิใจในตนเองขาดความสุขและต้องพึ่งพาผู้อื่นในการดำเนินชีวิตประกอบกับสภาพสังคมไทยปัจจุบันที่ความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวลดลงทำให้ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ส่วนหนึ่งถูกครอบครัวทอดทิ้งหากไม่มีการเตรียมพร้อมในด้านการดูแลคุ้มครองผู้สูงอายุแล้วสถานการณ์การเพิ่มของประชากรสูงอายุจะกลายเป็นปัญหาสำคัญของประเทศในอนาคตอันใกล้ (วาทินี, 2554)
สุขภาวะทางจิต เป็นคุณลักษณะเชิงบวกทางจิตใจของบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ต่อตนเอง สิ่งแวดล้อมและแสดงถึงพัฒนาการของบุคคล (Ryff & Keyes, 1995) ดังนั้นการพัฒนาสุขภาวะทางจิตที่ยั่งยืนของบุคคล จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรศึกษาโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ จากการวัดสุขภาพจิตที่ใช้ข้อคำถามของกรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุขพบว่าผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่มีภาวะสุขภาพจิตอยู่ในเกณฑ์เท่ากับคนทั่วไปต่ำกว่ากลุ่มอายุอื่นซึ่งในปี พ.ศ.2553 คะแนนเฉลี่ยจะอยู่ที่ 32.87 นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุเกือบหนึ่งในสามมีคะแนนเฉลี่ยของแบบวัดสุขภาพจิตที่ต่ำกว่าคนทั่วไปซึ่งถือเป็นผู้ที่มีความเปราะบางด้านจิตใจ และจากการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2556 พบว่าผู้สูงอายุมีปัญหาด้านจิตใจ และพฤติกรรมคิดเป็นร้อยละ 2.6 (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, 2557) ยิ่งไปกว่านั้นผู้สูงอายุจังหวัดชายแดนใต้ยังต้องประสบกับเหตุการณ์ความไม่สงบต่าง ๆ และอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งทำให้ภาวะสุขภาพ และคุณภาพชีวิตมีความแตกต่างกับผู้สูงอายุพื้นที่อื่น (จีราพร, ดาราวรรณ และฉันทนา, 2555)
ด้วยความตระหนักในปัญหา และแนวทางเพื่อพัฒนาสุขภาวะทางจิตแก่ผู้สูงอายุดังกล่าว กลุ่มงานพัฒนา นักศึกษา และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลาจึงจัดโครงการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตสำหรับผู้สูงอายุ ในพื้นที่ชุมชนเมืองเทศบาลนครยะลา ซึ่งผลของการจัดโครงการดังกล่าว จะเป็นแนวทางสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน กำลังให้ความสำคัญ เป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นบุคคลที่มีคุณค่าให้มีสุขภาวะทางจิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตสำหรับผู้สูงอายุ
  1. ผู้สูงอายุอย่างน้อยร้อยละ 80 ที่เข้าร่วมโครงการมีค่าคะแนนความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตเพิ่มขึ้น
80.00
2 2. เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง
  1. ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงอย่างน้อยร้อยละ 80 ได้รับการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต
80.00
3 3. เพื่อสร้างความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ
  1. ผู้สูงอายุอย่างน้อยร้อยละ 80 ที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการในระดับมาก (มากกว่า 3.5 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน)
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 97,150.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมที่ 1 ประชุมเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้าใจต่อวัตถุประสงค์โครงการและ กำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้จัดโครงการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง และประชาสัมพันธ์ กิจกรรม และกำหนดการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการในชุมชน จำนวน 30 คน 0 1,250.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 2 การอบรมเชิงปฏิบัติการการให้ความรู้ เรื่องการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตสำหรับผู้สูงอายุ ให้แก่ ผู้สูงอายุในชุมชนเขตเมือง สมาชิกศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครยะลา จำนวน 2 ศูนย์ๆ ละ 1 วันๆ ละ 150 คน รวม 300 คน 0 65,000.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 3 การสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง ( จากการคัดกรองประเมินสุขภาวะทางจิต) ซึ่งเป็นสมาชิกศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครยะลา จำนวน 2 ศูนย์ ศูนย์ละ 30 คน รวม 60 คน โดยดำเนินกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตสำหรับผู้สูงอายุ ณ ศูน 0 17,600.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 4 การจัดนิทรรศการ และประชาสัมพันธ์การสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตในชุมชนเมือง ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เทศบาลนครยะลา และพื้นที่ที่เกี่ยวข้องภายในเขตชุมชนเมืองเทศบาลนครยะลา 0 13,300.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดอัตราการเกิดปัญหาสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในพื้นที่
    1. การพัฒนา และสร้างองค์ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพจิตการพัฒนาการขับเคลื่อนนโยบาย และเห็นความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อการปรับเปลี่ยน และพัฒนาการดูแลสุขภาพจิตสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่
    2. สร้างเสริมการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน และภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ ส่งผลให้เกิดเจตคติที่ดีในการดูแลผู้รับบริการด้านสุขภาพสำหรับผู้รับบริการผู้สูงอายุในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2561 00:00 น.