กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ รักษ์ไต ชีวิตสดใส ชะลอไตวาย
รหัสโครงการ 61-L5245-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าโต้
วันที่อนุมัติ 29 สิงหาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 31 ธันวาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2561
งบประมาณ 16,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอนุวรรณ แก้วชูเสน
พี่เลี้ยงโครงการ นายณัฏฐเกียรติ ชำนิธุระการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขามีเกียรติ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.774,100.524place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไตวายเรื้อรังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มอัตราการเสียชีวิต เมื่อโรคดำเนินไปสู่ระยะที่ 5 และเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย จะทำให้การพยากรณ์ของโรคแย่ลง มีอัตรการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น ตลอดจนค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นมาก จำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ได้แก่ การฟอกเลือกด้วยเครื่องไตเทียม การล้างของเสียทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง และการปลูกถ่ายไต ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยและครอบครัว และมีค่าใช้จ่ายในการดูแลสูง ค่าการบำบัดทดแทนไตเฉลี่ย 250,000 บาท ต่อคนต่อปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าโต้ มีผู้ป่วยมีภาวะไตวายเรื้อรัง ทั้งหมดจำนวน 40 ราย อยู่ในระยะที่ 1-2 จำนวน 32 ราย (ร้อยละ 80) อยู่ในระยะที่ 3-5 จำนวน 8 ราย (ร้อยละ 20) ผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังควรได้รับความรู้เรื่องชะลอไตวายเรื้อรัง ได้แก่ การให้ความรู้เรื่องอาหาร และการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม การหลีกเลี่ยง ยาและอาหารที่มีผลต่อไต การดูแลสุขภาพทางกายและใจที่เหมาะสม จะช่วยชะลอการเสื่อมของไตได้ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมากกว่าการสูญเสียทรัพยากรไปใช้ในการรักษาระยะท้ายของโรค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าโต้ได้เห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมการเกิดโรคไตวายเรื้อรังและชะลอไตเสื่อม ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับโรคที่เป็น ส่งเสริมให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีการจัดการตนเองอย่างเหมาะสม จึงได้จัดทำโครงการรักษ์ไต ชีวิตสดใส ชะลอไตวายเรื้อรัง โดยมีเป้าหมายเพื่อชะลอโรคไตวายเรื้อรัง ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย รวมถึงช่วยลดต้นทุนในการดูแลสุขภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง และผู้ดูแล มีความรู้เพียงพอในการจัดการตนเองเกี่ยวกับโรคที่เป็น 2. เพื่อชะลอการเกิดโรคไตวายระยะสุดท้าย 3. ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดูแลสุภาพเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
  1. ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้ เรื่องโรคและโรคแทรกซ้อน
  2. ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง มีอัตราการลดลงของ eGFR<4 ml/min 1.73 m2/yr ร้อยละ 55
  3. ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16.00 0 0.00
3 ก.ย. 61 อบรมให้ความรู้เรือ่ง รักษ์ไต ชีวิตสดใส ชะลอไตวาย 0 16.00 -

ขั้นดำเนินการ 1. จัดทำแผนงานโครงการ 2. จัดทำทะเบียนรายชื่อผู้เข้ารับการอบรม 3. ประสานงานกับภาคีเครือข่ายในชุมชน และหอกระจายข่าวในพื้นที่เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการ 4. จัดทำสื่อ เอกสารและแผ่นพับให้ความรู้และป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขั้นดำเนินงาน 1. จัดอบรมให้ความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อชะลอการเสื่อมของไต การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังและผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง 2. สรุปผลการดำเนินงาน และประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง มีความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อชะลอไตเสื้อมไประยะสุดท้ายได้
  2. ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง มีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถชะลอไตเสื่อมได้
  3. ผู้ดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังมีความรู้ในการปฏิบัติตนของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังสามารถดูแลส่งเสริมผู้ป่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถชะลอไตเสื่อมได้ตามเป้าหมาย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2561 12:02 น.