กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ สตรียุคใหม่ ใส่ใจสุขภาพ
รหัสโครงการ 61-L5245-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าโต้
วันที่อนุมัติ 29 สิงหาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 31 ธันวาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2561
งบประมาณ 41,475.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอนุวรรณ แก้วชูเสน
พี่เลี้ยงโครงการ นายณัฏฐเกียรติ ชำนิธุระการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขามีเกียรติ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.774,100.524place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 163 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นโรคมะเร็งที่พบมากในสตรีและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของสตรีและเป็นภาวะเสี่ยงที่พบได้มากในสตรีทุกคน ทั้งๆที่มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นโรคที่สามารถตรวจพบได้ในระยะเริ่มแรกและสามารถรักษาให้หายได้ หากเราดูแลสุขภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพราะหลังจากได้รับเชื้อ Humanpapilloma Virus (HPV) ชนิด High risk type ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก มีลักษณะเป็นเหมือนไวรัสทั่วไปแต่เป็นเชื้อที่สามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ โดยเมื่อรับเชื้อแล้วจะใช้เวลาประมาณ 10-15 ปี เพื่อทำให้ปากมดลูกที่ปกติเปลี่ยนแปลงมาเป็นปากมดลูกที่ผิดปกติจนกระทั่งกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกในที่สุด การค้นหาสตรีที่ปากมดลูกผิดปกติระยะก่อนเป็นมะเร็ง จึงเป็นแนวทางที่ให้ผลคุ้มค่าและมีประโยชน์อย่างมาก ในการช่วยลดการป่วยจากโรคมะเร็งและสามารถทำการรักษาได้รวดเร็ว และทำการตรวจคัดกรอง แต่ความครอบคลุมของการตรวจมะเร็งปากมดลูกสะสมในช่วง 5 ปี ของ รพ.สต.ท่าโต้ มีเพียง 271 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 49.8 ของสตรีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดจากจำนวน 542 คนเท่านั้น (เป้าหมาย ความครอบคลุมของการตรวจมะเร็งปากมดลูกสะสมในช่วง 5 ปี เท่ากับร้อยละ 80 ขึ้นไป หรือ จำนวน 434 คนขึ้นไป) เนื่องจากสตรีไทยมีความละอายเจ้าหน้าที่ทำให้ไม่กล้าเข้ารับการตรวจ อีกทั้งมีหน้าที่ทำงานเป็นกำลังสำคัญในการหาเลี้ยงครอบครัวทำให้ไม่มีเวลาในการดูแลสุขภาพเท่าที่ควร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าโต้ ได้มองเห็นถึงปัญหาดังกล่าวและคำนึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม จึงได้จัดกิจกรรมการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม และดำเนินกิจกรรมการส่งต่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที กรณีพบผลผิดปกติ ซึ่งเป็นทางหนึ่งในการช่วยลดอัตราป่วยและเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง ส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 2. เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี มีความรู้และทักษะในกาตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง 3. เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะแรก

1.สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกมากกว่าร้อยละ 40 2. สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี มีความรู้และทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องมากกว่าร้อยละ 80 3. ผู้ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง ร้อยละ 100 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 41.00 0 0.00
1 ต.ค. 61 - 31 ธ.ค. 61 อบรมให้ความรู้เรื่อง รู้ทันมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก 0 41.00 -
  1. สำรวจและจัดทำทะเบียนข้อมูลรายชื่อสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี
  2. จัดกิจกรรมเชิงรุกเคาะประตูบ้านเพื่อประชาสัมพันธ์ให้สตรี อายุ 30-60 ปี ขึ้นไป ที่ยังไม่เคยได้รับการคัดกรอง เข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
  3. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง รู้ทันโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก พร้อมทั้งฝึกทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองกับเจ้าหน้าที่
  4. ให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี Pap smear แก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย
  5. บันทึกข้อมูลการให้บริการลงในโปรแกรมข้อมูล JHCIS และนำส่งข้อมูลเข้าสู่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
  6. นำส่งสิ่งตรวจให้กับห้องปฏิบัติการ รพศ.หาดใหญ่ และติดตามรับผลการตรวจ
  7. รายงานและแจ้งผลการตรวจทางโทรศัพท์และจดหมาย ติดตามผู้ที่ผลผิดปกติเพื่อส่งต่อ เข้ารับการรักษาตามขั้นตอนต่อไป
  8. สรุปผลการดำเนินงาน รายงานผลการตรวจเป็น File ข้อมูล ส่งสถาบันมะเร็งแห่งชาติ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมายตระหนักถึงอันตรายของโรคมะเร็งเต้านมและปากมดลูก และให้ความสนในการเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูก มากกว่าร้อยละ 80 และร้อยละ 40 ตามลำดับ
  2. ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกทุกระยะได้รับการรักษา
  3. อัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมลดน้อยลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2561 15:21 น.