กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดการขยะมูลฝอยภายในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด
รหัสโครงการ 61-L2480-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบออก
วันที่อนุมัติ 19 กันยายน 2018
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 มีนาคม 2019 - 13 มีนาคม 2019
กำหนดวันส่งรายงาน 15 เมษายน 2019
งบประมาณ 21,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลมาน๊ะ หะยีหะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.249,101.875place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานสุรา
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 คัดแยกขยะได้ถูกวิธี
0.00
2 สามารถคัดแยกขยะได้ถูกวิธี
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ขยะเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดผลกระทบและเป็นปัญหาพื้นฐานของชุมชน เป็นเหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของพาหะนำโรคเช่น แมลงวัน แมลงสาบ ยุง ฯลฯเป็นแหล่งแพร่กระจ่ายเชื้อโรค มีกลิ่นเหม็น ก่อให้เกิดความรำคาญ ทำลายสุนทรียภาพด้านสิ่งแวดล้อม เกิดสภาพไม่น่าดูสกปรกน่ารังเกียจขยะยังทำให้น้ำเสียและสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ สารพัดโรคร้ายจากขยะคนในสังคมไทยรู้ว่าขยะที่ทิ้งก่อให้เกิดโรคแต่ไม่ทราบว่าขยะนั้นส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อร่างกายถึงร้อยละ 92.3อันตรายที่เกิดจากขยะเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทางได้แก่ ทางผิวหนัง ทางการหายใจและทางเดินอาหาร โดยโรคภัยที่มาจากขยะ 4 อันดับแรก ได้แก่ท้องร่วงท้องเสีย โรคภูมิแพ้ คลื่นไส้อาเจียนและปวดศรีษะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน (ที่มาของข้อมูลจากนายแพทย์โสภณเมฆธน รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข)

ขยะมูลฝอยหมายถึง เศษกระดาษเศษผ้าเศษอาหาร ถุงพลาสติกภาชนะใส่อาหารมูลสัตว์หรือซากสัตว์ รวมถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากพื้นถนนหนทาง ตลาดหรือที่เลี้ยงสัตว์สิ่งของจากบ้านเรือนที่ประชาชนไม่ต้องการ ถูกทิ้งโดยไม่มีการกำจัดให้ถูกวิธี สิ่งของที่ทิ้งไปหากมีคนนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้สิ่งนั้นยังไม่ใช้ขยะ ดังนั้น การสร้างภูมิความรู้ มีแนวคิดเห็นถึงคุณค่าจากขยะ ขยะเป็นทรัพยากรที่สามารถนำไปใช้ได้โดยอาศัยภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาขยะ

ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิดตำบลมะรือโบออกเป็นสถานที่สอนภาษายาวีภาษาอาหรับสอนวิชาการอิสลามศึกษาให้การฝึกอบรมเด็กเรื่องคุณธรรมจริยธรรมตระหนักถึงความสำคัญเรื่องดังกล่าว เพื่อปลูกจิตสำนึกผู้บริหาร ผู้สอนและเด็กการศึกษาอิสลามในการลดการใช้ การใช้ซ้ำ การรีไซเคิล จึงจัดทำโครงการจัดการขยะมูลฝอยภายในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 75 21,000.00 1 21,000.00
13 มี.ค. 62 โครงการจัดการขยะมูลฝอยภายในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด 75 21,000.00 21,000.00
  1. ประชุมปรึกษาหารือคณะกรรมการชมรมการศึกษาอิสลามและผู้เกี่ยวข้อง
  2. สำรวจกลุ่มเป้าหมาย
  3. ประสานกลุ่มเป้าหมายและผู้เกี่ยวข้อง
  4. จัดทำเอกสารประกอบการอบรม
  5. ดำเนินการจัดกิจกรรม ประกอบด้วย 2 กิจกรรม กิจกรรมที่ 1 อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาผลกระทบของขยะต่อสังคม ชุมชน สภาวะสิ่งแวดล้อมและสาธิตการจัดการขยะโดยใช้หลัก 3Rs กิจกรรมที่ 2 การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการขยะมูลฝอย
  6. ประเมินและติดตามผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้บริหารผู้สอนการศึกษาอิสลามเห็นความสำคัญในการจัดการขยะมูลฝอย และสามารถลดปริมาณขยะ การคัดแยกขยะและการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ ๒. ผู้บริหารผู้สอนการศึกษาอิสลามนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการจัดการขยะ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ย. 2018 00:00 น.