กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการชุมชนร่วมใจกำจัดยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก ”
ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา



หัวหน้าโครงการ
นายทนงค์ศักดิ์ ภักดีไพบูลย์สกุล




ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจกำจัดยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก

ที่อยู่ ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 2564-L5221-1-01 เลขที่ข้อตกลง 03/2564

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการชุมชนร่วมใจกำจัดยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการชุมชนร่วมใจกำจัดยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการชุมชนร่วมใจกำจัดยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 2564-L5221-1-01 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 96,150.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเพราะโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน แต่พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมาการระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายน ของทุกปี พฤติกรรมของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายของโรคสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ให้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกและเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2563 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.- 8 ก.ค. 63 มีรายงานผู้ป่วยทั่วประเทศ 25,708 ราย เสียชีวิต 15 ราย กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ 15-24 ปี รองลงมาคือ 10-14 ปี และ 25-34 ปี ตามลำดับผู้ป่วยมีการกระจายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยภูมิภาคที่พบอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาคือภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ ตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่พบอัตราป่วยสูงสุด คือ ชัยภูมิ รองลงมาคือระยอง ขอนแก่น แม่ฮ่องสอน และนครราชสีมา ตามลำดับ(กรมควบคุมโรค. สำนักระบาดวิทยา,2563 ) ปี 2562 มีผู้ป่วยไข้เลือดออก 128,964 ราย อัตราป่วย 195.22 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 133 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.10(ณ 31 ธันวาคม 2562) จังหวัดสงขลามีผู้ป่วยไข้เลือดออก 3,097 ราย อัตราป่วย 219.82 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 5 ราย (อ.ควนเนียง/เทพา/หาดใหญ่/สะเดา2) อัตราป่วยตายร้อยละ 0.16(ณ 31 ธันวาคม 2562) อำเภอระโนด มีผู้ป่วยไข้เลือดออก 14 ราย อัตราป่วย 23.55 ต่อแสนประชากรซึ่งมีความเสี่ยงระดับต่ำ แต่ตำบลท่าบอนมีจำนวนผู้ป่วยถึง 7 ราย อัตราป่วย 83.09 ต่อแสนประชากรซึ่งเกินเกณฑ์มาตรฐาน(สสจ.สงขลา.งานระบาดวิทยา,2563)
ดังนั้น มาตรการการป้องกัน การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ และความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับในปีงบประมาณ 2564 กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้วางมาตรการป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1. ระยะก่อนการระบาด ตั้งแต่เดือนตุลาคม - เมษายน ซึ่งเป็นช่วงโอกาสการแพร่โรคเกิดน้อย สามารถป้องกันโรคล่วงหน้า ด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้ได้มากที่สุด โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของเครือข่าย และประชาชน ระยะที่ 2. ระยะระบาด เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม เน้นมาตรการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน เตรียมความพร้อมทั้งด้านการรักษา อุปกรณ์ และทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว เปิดศูนย์ปฏิบัติการ(War Room) เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการสั่งการและแก้ไขปัญหา ตลอดจนควบคุมโรคได้อย่างทันเวลาในพื้นที่ ที่มีการระบาดและไม่ให้เกิดการระบาดในวงกว้าง และออกให้ความรู้ในการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนในตำบลท่าบอนปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่่อควบคุม ป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนและโรงเรียน
  2. เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ เฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. รณรงค์ทำความสะอาด ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก
  2. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก
  3. ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุง

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 240
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 1,640
กลุ่มวัยทำงาน 4,600
กลุ่มผู้สูงอายุ 2,000
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทุกภาคส่วนร่วมกันทำความสะอาด ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก ในหมู่บ้าน โรงเรียน/สถานศึกษา วัด และสถานที่ราชการสม่ำเสมอ 2.ผลการสำรวจค่า HI CI ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน 3.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่่อควบคุม ป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนและโรงเรียน
ตัวชี้วัด : มีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
40.00 45.00

 

2 เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ เฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก
ตัวชี้วัด : ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ เฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก ทั้ง 10 หมู่บ้าน
30.00 100.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 8480
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 240
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 1,640
กลุ่มวัยทำงาน 4,600
กลุ่มผู้สูงอายุ 2,000
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่่อควบคุม ป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนและโรงเรียน (2) เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ เฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) รณรงค์ทำความสะอาด ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก (2) จัดหาวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก (3) ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการชุมชนร่วมใจกำจัดยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 2564-L5221-1-01

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายทนงค์ศักดิ์ ภักดีไพบูลย์สกุล )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด