กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเผ้าระวัง ป้องกันและควบคุมวัณโรคในชุมชนโดยเครือข่าย อสม. ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ 62-L5307-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต. บ้านควน1
วันที่อนุมัติ 15 มกราคม 2019
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2019 - 31 สิงหาคม 2019
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2019
งบประมาณ 18,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรีนา โต๊ะเจ๊ะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน 1
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 ม.ค. 2019 31 ส.ค. 2019 18,250.00
รวมงบประมาณ 18,250.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 79 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชากรกลุ่มเสี่ยง คือ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองวัณโรคไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
70.00
2 ผู้สัมผ้สร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรคได้รับการคัดกรองวัณโรคไม่น้อยกว่าร้อยละ 100
80.00
3 อาสาสมัครสาธารณสุข มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องวัณโรคเพื่อสามารถคัดกรองผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงได้ ร้อยละ 80
70.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรค เป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจมีการระบาดอย่างรวดเร็วในชุมขนที่ประชาชนอยู่กันแออัด ผู้ป่วยมีอาการไอต่อเนื่องเกิน 2สัปดาห์ เจ็บหน้าอก มีไข้ตำ่ๆ บางรายไม่มีอาการแสดง หรือพบในผู้ป่วยติดเชื้อ HIVวัณโรคเป็นโรคติดต่อร้ายแรงค้นหาผู้ป่วยได้ยากเพราะส่วนใหญ่ไม่ยอมรับกลัวสังคมรังเกียจ ปฏิเสธการรักษา ไม่ทนต่อการกินยารักษานาน 6 เดือน หยุดกินยาเองซึ่งส่งผลให้เกิดเช์้อดื้อยาต้องเปลี่ยนการรักษาที่ยุ่งยากค่ารักษาต้องใช้ยาที่แพงรับยาจากต่างประเทศ ทำให้การแพร่ของโรคเพิ่มขึ้น อาการของโรครุนแรงมีโรคแทรกซ้อนใช้เวลาในการรักษาระยะยาวนาน จากรายงานผู้ป่วยวัณโรคโรงพยาบาลสตูลปี 2560 ผู้ป่วยขึ้นทะเบียนใหม่จำนวน 120 คน คิดเป็นอัตราป่วย 106.44 ต่อแสนประชากร ผลสำเร็จของการรักษาร้อยละ 86.70 ซึ่งตำ่กว่าเป้าหมายคือร้อยละ 87, ปี 2561 ผู้ป่วยขึ้นทะเบียนใหม่จำนวน 104 คน คิดเป็นอัตราป่วย 116.64 ต่อแสนประชากร ผลสำเร็จของการรักษาร้อยละ 87ซึ่งตำ่กว่าและได้ตามเป้าหมายคือร้อยละ 87 และจากจำนวนผู้ป่วยวัณโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน ปี 2559 จำนวน 3 ราย, ปี 2560 จำนวน 4 ราย,ปี 2561 จำนวน 6 ราย มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี จึงได้จัดทำโครงการเพื่อกำหนดแนวทางการควบคุมโรคโดยมุ่งเน้น "ค้นให้พบ จบด้วยหาย พัฒนาเครือข่ายระบบการดูแลรักษา กำกับการกินยาแบบมีพี่เลี้ยง" โดยการกำกับการกินยาต่อหน้าพี่เลี้ยง(DOTS) คือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ญาติ หรือ อสม. จนรักษาหาย ไม่เป็นปัญหาในพื้นที่ตำบลบ้านควนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเร่งรัดการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนและกลุ่มเสี่ยง
  • ร้อยละ 80 ผู้ป่วย 1 คน คัดกรองผู้สัมผ้สร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรค 3 คน
  • ร้อยละ 80 ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปี ที่มีโรคร่วมเช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้รับการคัดกรองวัณโรค
  • ร้อยละ 80 ผู้ป่วยเบาหวานคุมน้ำตาลไม่ได้(Uncontrolled DM HbA1C > 7) ได้รับการคัดกรองวัณโรค
  • ร้อยละ 80 บุคลากรสาธารณสุขทางการแพทย์ ให้บริการดูแลผู้ป่วย ได้รับการคัดกรองวัณโรค
80.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรคเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพโดยเน้นการควบคุมกำกับการรักษาแบบมีพี่เลี้ยง(DOT) โดย ญาติ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ร้อยละ 100 ผู้ป่วยวัณโรคเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพโดยเน้นการควบคุมกำกับการรักษาแบบมีพี่เลี้ยง(DOT) โดย ญาติ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

100.00
3 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องวัณโรคให้แก่ อสม. เพื่อนำไปสู่การคัดกรองและเฝ้าระวังในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ

ร้อยละ 80 ของ อสม. มีระดับความรู้ความเข้าใจเรื่องโรควัณโรค

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 625 6,375.00 0 0.00
15 - 16 พ.ค. 62 คัดกรองและค้นหากลุ่มเสี่ยง ที่เข้าข่ายสงสัยวัณโรค 612 4,750.00 -
17 มิ.ย. 62 สรุปผลการดำเนินงาน/ปัญหาอุปสรรคของโครงการ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม. 13 1,625.00 -
13 พ.ค. 62 อบรมฟื้นฟูความรู้เรื่องวัณโรคแก่ อสม. 95 11,875.00 -
95 11,875.00 0 0.00

กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้สูงอายุ 400 คน
อสม. 95 คน
บุคลากรสาธารณสุขทางการแพทย์ ให้บริการดูแลและคัดกรองวัณโรค จำนวน 9 คน
ผู้ป่วยเบาหวานคุมน้ำตาลไม่ได้ จำนวน 79 คน
จำนวนผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้บ้านผู้ป่วยวัณโรค จำนวน 29 คน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 80 ผู้ป่วยวัณโรค 1 คน คัดกรองผู้สัมผ้สร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรค 3 คน
  2. ร้อยละ 80 ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปี ที่มีโรคร่วมเช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้รับการคัดกรองวัณโรค
  3. ร้อยละ 80 ผู้ป่วยเบาหวานคุมน้ำตาลไม่ได้(Uncontrolled DM HbA1C > 7) ได้รับการคัดกรองวัณโรค
  4. ร้อยละ 80 บุคลากรสาธารณสุขทางการแพทย์ ให้บริการดูแลผู้ป่วย ได้รับการคัดกรองวัณโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2018 00:00 น.