กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเผ้าระวัง ป้องกันและควบคุมวัณโรคในชุมชนโดยเครือข่าย อสม. ปีงบประมาณ 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

รพ.สต. บ้านควน1

นางรีนา โต๊ะเจ๊ะ
นางสุภา นวลดุก

หมู่ที่ 2,3,5,6 และ 7 ตำบลบ้านควน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชากรกลุ่มเสี่ยง คือ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองวัณโรคไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

 

70.00
2 ผู้สัมผ้สร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรคได้รับการคัดกรองวัณโรคไม่น้อยกว่าร้อยละ 100

 

80.00
3 อาสาสมัครสาธารณสุข มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องวัณโรคเพื่อสามารถคัดกรองผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงได้ ร้อยละ 80

 

70.00

วัณโรค เป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจมีการระบาดอย่างรวดเร็วในชุมขนที่ประชาชนอยู่กันแออัด ผู้ป่วยมีอาการไอต่อเนื่องเกิน 2สัปดาห์ เจ็บหน้าอก มีไข้ตำ่ๆ บางรายไม่มีอาการแสดง หรือพบในผู้ป่วยติดเชื้อ HIVวัณโรคเป็นโรคติดต่อร้ายแรงค้นหาผู้ป่วยได้ยากเพราะส่วนใหญ่ไม่ยอมรับกลัวสังคมรังเกียจ ปฏิเสธการรักษา ไม่ทนต่อการกินยารักษานาน 6 เดือน หยุดกินยาเองซึ่งส่งผลให้เกิดเช์้อดื้อยาต้องเปลี่ยนการรักษาที่ยุ่งยากค่ารักษาต้องใช้ยาที่แพงรับยาจากต่างประเทศ ทำให้การแพร่ของโรคเพิ่มขึ้น อาการของโรครุนแรงมีโรคแทรกซ้อนใช้เวลาในการรักษาระยะยาวนาน จากรายงานผู้ป่วยวัณโรคโรงพยาบาลสตูลปี 2560 ผู้ป่วยขึ้นทะเบียนใหม่จำนวน 120 คน คิดเป็นอัตราป่วย 106.44 ต่อแสนประชากร ผลสำเร็จของการรักษาร้อยละ 86.70 ซึ่งตำ่กว่าเป้าหมายคือร้อยละ 87, ปี 2561 ผู้ป่วยขึ้นทะเบียนใหม่จำนวน 104 คน คิดเป็นอัตราป่วย 116.64 ต่อแสนประชากร ผลสำเร็จของการรักษาร้อยละ 87ซึ่งตำ่กว่าและได้ตามเป้าหมายคือร้อยละ 87 และจากจำนวนผู้ป่วยวัณโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน ปี 2559 จำนวน 3 ราย, ปี 2560 จำนวน 4 ราย,ปี 2561 จำนวน 6 ราย มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี จึงได้จัดทำโครงการเพื่อกำหนดแนวทางการควบคุมโรคโดยมุ่งเน้น "ค้นให้พบ จบด้วยหาย พัฒนาเครือข่ายระบบการดูแลรักษา กำกับการกินยาแบบมีพี่เลี้ยง" โดยการกำกับการกินยาต่อหน้าพี่เลี้ยง(DOTS) คือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ญาติ หรือ อสม. จนรักษาหาย ไม่เป็นปัญหาในพื้นที่ตำบลบ้านควนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเร่งรัดการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนและกลุ่มเสี่ยง
  • ร้อยละ 80 ผู้ป่วย 1 คน คัดกรองผู้สัมผ้สร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรค 3 คน
  • ร้อยละ 80 ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปี ที่มีโรคร่วมเช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้รับการคัดกรองวัณโรค
  • ร้อยละ 80 ผู้ป่วยเบาหวานคุมน้ำตาลไม่ได้(Uncontrolled DM HbA1C > 7) ได้รับการคัดกรองวัณโรค
  • ร้อยละ 80 บุคลากรสาธารณสุขทางการแพทย์ ให้บริการดูแลผู้ป่วย ได้รับการคัดกรองวัณโรค
80.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรคเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพโดยเน้นการควบคุมกำกับการรักษาแบบมีพี่เลี้ยง(DOT) โดย ญาติ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ร้อยละ 100 ผู้ป่วยวัณโรคเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพโดยเน้นการควบคุมกำกับการรักษาแบบมีพี่เลี้ยง(DOT) โดย ญาติ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

100.00
3 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องวัณโรคให้แก่ อสม. เพื่อนำไปสู่การคัดกรองและเฝ้าระวังในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ

ร้อยละ 80 ของ อสม. มีระดับความรู้ความเข้าใจเรื่องโรควัณโรค

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 400
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
บุคลากรสาธารณสุขทางการแพทย์ ให้บริการดูแลผู้ป่วย ไ 9
ผู้ป่วย 1 คน คัดกรองผู้สัมผ้สร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณ 29
ผู้ป่วยเบาหวานคุมน้ำตาลไม่ได้(Uncontrolled DM HbA1 79
อสม. 95

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2019

กำหนดเสร็จ 31/08/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมฟื้นฟูความรู้เรื่องวัณโรคแก่ อสม.

ชื่อกิจกรรม
อบรมฟื้นฟูความรู้เรื่องวัณโรคแก่ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม. เรื่องการค้นหาผู้ป่วย การรับยารักษาโรควัณโรค และการกำกับการกินยาแบบมีพี่เลี้ยง (DOTS)โดยญาติ หรือ อสม.
- ค่าอาหารกลางวันการจัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม. จำนวน 95 คน x 75 บาท x 1 มื้อเป็นเงิน 7,125บาท
- ค่าอาหารว่างเครื่องดื่มการจัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม. จำนวน 95 x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 4,750บาท
รวมเป็นเงิน 11,875.00 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม. ได้รับการอบรมฟื้นฟูความรู้เรื่องวัณโรค จำนวน 95 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11875.00

กิจกรรมที่ 2 การค้นหา/คัดกรองกลุ่มเสี่ยงผู้ที่มีอาการเข้าข่ายสงสัยวัณโรคในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การค้นหา/คัดกรองกลุ่มเสี่ยงผู้ที่มีอาการเข้าข่ายสงสัยวัณโรคในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การคัดกรองเชิงรุกกลุ่มเสี่ยง ดังนี้
1. ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปที่มีโรคร่วมเช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้รับการคัดกรองวัณโรค
2. ผู้ป่วยเบาหวานคุมน้ำตาลไม่ได้(Uncontrolled DM HbA1C >7) ได้รับการคัดกรองวัณโรค
3. ผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรค ผู้ป่วยจำนวน 1 ราย คัดกรองผู้สัมผัสร่วมบ้าน 3 ราย
4. บุคลากรสาธารณสุขทางการแพทย์ ให้บริการดูแลผู้ป่วย ได้รับการคัดกรองวัณโรค
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มการคัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงของ อสม. จำนวน 95 x 25 บาท x 2 วัน เป็นเงิน 4,750บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงวัณโรคได้รับการคัดกรองไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
- ผู้ป่วยเบาหวานคุมน้ำตาลไม่ได้(Uncontrolled DM HbA1C > 7)
- กลุ่มผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไปที่มีโรคร่วมเช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
- ผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรค
- บุคลากรสาธารณสุขทางการแพทย์ ให้บริการดูแลผู้ป่วยได้รับการคัดกรองวัณโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4750.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปผลการดำเนินงาน/ปัญหาอุปสรรคของโครงการ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม.

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน/ปัญหาอุปสรรคของโครงการ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม. สรุปผลการดำเนินงาน/ปัญหาอุปสรรคของโครงการ การคัดกรองวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง การเยี่ยมบ้าน ทบทวนการกินยา จำนวน 13 คน ใช้เวลา 1 วัน

- ค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่มสรุปผลโครงการและออกปฏิบัติการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรคของ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม. จำนวน 13 คน x 125 บาท x 1 วัน เป็นเงิน 1,625บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้สรุปผลการดำเนินงาน/ปัญหาอุปสรรคของโครงการเพื่อนำไปวางแผน แก้ไขปัญหาต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1625.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,250.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละ 80 ผู้ป่วยวัณโรค 1 คน คัดกรองผู้สัมผ้สร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรค 3 คน
2. ร้อยละ 80 ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปี ที่มีโรคร่วมเช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้รับการคัดกรองวัณโรค
3. ร้อยละ 80 ผู้ป่วยเบาหวานคุมน้ำตาลไม่ได้(Uncontrolled DM HbA1C > 7) ได้รับการคัดกรองวัณโรค
4. ร้อยละ 80 บุคลากรสาธารณสุขทางการแพทย์ ให้บริการดูแลผู้ป่วย ได้รับการคัดกรองวัณโรค


>