กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห


“ โครงการการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกสุขลักษณะ และ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม ประจำปี 2562 ”

ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นางพรทิพย์ จันทร์ศิริ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคลองแห

ชื่อโครงการ โครงการการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกสุขลักษณะ และ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม ประจำปี 2562

ที่อยู่ ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 2562-L7255-01-01 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 25 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกสุขลักษณะ และ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม ประจำปี 2562 จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกสุขลักษณะ และ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม ประจำปี 2562



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกสุขลักษณะ และ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม ประจำปี 2562 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 2562-L7255-01-01 ระยะเวลาการดำเนินงาน 25 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 1,153,465.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติได้ถูกคุกคามและมีความถดถอยมากขึ้น เช่น พื้นที่ป่าไม้ลดลง ทรัพยากรดินและน้ำเสื่อมโทรม รวมทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อมเพิ่มสูงขึ้นตามการพัฒนาของเศรษฐกิจและชุมชนเมือง โดยเฉพาะปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาที่สำคัญต่อชุมชน เนื่องจากมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ความสามารถในการจัดเก็บและกำจัดมีค่อนข้างจำกัด ทำให้ไม่สามารถจัดการปัญหาได้ทันการณ์ เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขยะตกค้างส่งกลิ่นเหม็นรบกวน เกิดปัญหาด้านทัศนียภาพและอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยที่ดีของประชาชนโดยตรงและเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ แต่การจัดการทั้งทางด้านการจัดเก็บและการทำลายขยะมูลฝอยยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จึงทำให้มีขยะมูลฝอยตกค้างไม่ได้รับการจัดเก็บและการกำจัดอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ จากปริมาณขยะมูลฝอยที่เพิ่มขึ้นและคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้นในอนาคต ส่งผลให้สิ้นเปลืองงบประมาณค่าใช้จ่ายในด้านการจัดเก็บและกำจัดเป็นจำนวนเงินที่สูงขึ้น
ขยะ คือ สิ่งของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต การอุปโภคและการบริโภค ซึ่งบางชนิดเป็นของแข็งหรือเป็นกากของเสีย (Solid waste) ขยะสามารถทำให้เกิดมลพิษและเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งทางกายและทางจิตใจได้ สามารถจำแนกตามพิษภัยที่เกิดขึ้นกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม เป็น 2 ประเภท คือ (1.) ขยะทั่วไป หมายถึง ขยะมูลฝอยที่มีอันตรายน้อย ได้แก่ เศษอาหาร เศษผ้า พลาสติก เศษหญ้าและใบไม้ (2.) ขยะอันตราย เป็นขยะที่มีภัยต่อคนและสิ่งแวดล้อม อาจมีพิษ ติดไฟหรือระเบิดง่าย ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น ไฟแช็กแก๊ส กระป๋องสเปรย์ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ หรืออาจเป็นพวกสำลี และผ้าพันแผลจากสถานพยาบาลที่มีเชื้อโรค ซึ่งในแต่ละวันคนเรามีโอกาสได้รับผลกระทบต่อด้านสุขภาพตั้งแต่อาการเล็กน้อยจนสะสมในระยะยาวจนเป็นโรคอันตรายได้ โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่อาศัยในชุมชนพื้นที่รอบๆ บ่อขยะ พนักงานเก็บขยะ หรือคนรับซื้อของเก่า โรคที่มักเกิดขึ้น ได้แก่ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคจากการติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ โรคผิวหนัง โรคมะเร็ง เป็นต้น
เทศบาลเมืองคลองแห ประสบปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะ เช่นเดียวกับหลายๆ ท้องถิ่นที่ไม่สามารถจัดการได้ ทั้งนี้เกิดจากความเติบโตทางเศรษฐกิจและค่านิยมของประชาชนและยังขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในด้านการจัดการขยะมูลฝอย ประชาชนยังมีแนวคิดว่าเป็นหน้าที่ของเทศบาลในการกำจัดขยะมูลฝอย และในบางชุมชนที่ยังพบว่ามีประชาชนแอบนำขยะบางชนิดบางประเภทไปทิ้งอยู่ตามถนน แม่น้ำ ลำคลอง ที่สาธารณะต่างๆ เช่น กระป๋องยาฆ่าแมลง กระป๋องสีสเปรย์ หลอดไฟ แบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย เศษดิน เศษกระเบื้อง ซึ่งมูลฝอยเหล่านี้หากไม่กำจัดและมีการจัดการอย่างถูกวิธีนอกจากจะทำให้ชุมชนขาดความสะอาดเรียบร้อย จนเป็นที่น่ารังเกียจแล้ว ยังทำให้เกิดปัญหามลพิษต่อสภาพแวดล้อมอย่างมากมาย เช่น การปนเปื้อนของแหล่งน้ำ การปนเปื้อนของอากาศ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และแพร่กระจายของเชื้อโรค นับวันยิ่งทวีความรุนแรงจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
การจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลนั้น จำเป็นต้องมีการจัดการที่เป็นระบบและกระบวนการ นับตั้งแต่การลดปริมาณขยะมูลฝอยจากต้นทางโดยอาศัยความร่วมมืออันดีจากประชาชนในฐานะเป็นผู้ผลิต ตลอดจนการนำไปกำจัดต้องมีวิธีการที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ปัจจุบันประชาชนยังมีพฤติกรรมและขาดจิตสำนึกในการทิ้งขยะมูลฝอย ปัญหาขยะคงมิอาจลดน้อยลงไปได้หากประชาชนยังไม่มีการคัดแยกขยะจากต้นทาง นอกจากจะต้องมีการบริหารจัดการที่ดีแล้ว จะต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากที่สุด เพราะบทบาทของประชาชนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมสุขภาพของตนเองและชุมชน โดยประชาชนจะต้องเห็นคุณค่าและผลของสิ่งแวดล้อมต่อภาวะสุขภาพ ช่วยกันรักษาและสร้างสิ่งแวดล้อมที่เกื้อกูลต่อการมีพฤติกรรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดี ซึ่งเป็นแนวทางที่ถือว่าเป็นวิธีการที่เหมาะสมและยั่งยืน
    เทศบาลเมืองคลองแห ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวและมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2552 มาตรา 50 (3) รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล มาตรา 50 (4) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ และมาตรา 54 (7) อาจจัดทำกิจการซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข ประกอบกับพระราชบัญญัติ กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 มาตรา 16 (16) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น มาตรา 16 (17) รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง มาตรา 16 (18) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย มาตรา 16 (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล และมาตรา 16 (27) การ
ดูแลรักษาที่สาธารณะ กระทรวงมหาดไทย ได้จัดทำแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนจังหวัดสะอาด ประจำปี 2561 เพื่อเป็นแผนในการจัดการขยะมูลฝอยของประเทศให้มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และเป็นไปตามเป้าหมายของแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ ปี 2559 - 2564 และจังหวัดสงขลาได้จัดทำแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนสงขลาสะอาด ประจำปี 2561 โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ต้นทาง คือ การลดปริมาณขยะและการส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทาง กลางทาง คือ การจัดทำระบบเก็บและขนขยะอย่างมีประสิทธิภาพ และปลายทาง คือ ขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยใช้หลักการ 3 Rs คือ การใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ นอกจากนี้ยังมีการนำหลักการประชารัฐมาดำเนินการร่วมกันกับทุกภาคส่วน โดยมีเป้าหมายการจัดการของเสียอันตรายชุมชนในการจัดตั้งสถานที่รวบรวมของเสียอันตรายชุมชนในทุกชุมชนอย่างน้อยชุมชนละ 1 แห่ง และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวบรวมไปกำจัดอย่างถูกวิธีตามหลักวิชาการ จากข้อมูลข้างต้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคลองแห จึงมีแนวคิดในการ จัดการขยะมูลฝอยและสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน โดยให้ประชาชนและภาคีเครือข่ายได้มีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาดังกล่าว  ดังนั้น จึงได้จัดทำโครงการการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกสุขลักษณะและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ 2562 ขึ้น เพื่อดำเนินกิจกรรมส่งเสริม สนับสนุน การคัดแยกขยะ การลดขยะจากต้นทางก่อนนำไปกำจัดอย่างถูกหลักสุขาภิบาล กิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชน การจัดการขยะอันตราย การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ การถ่ายทอดองค์ความรู้ การสร้างจิตสำนึกและกระตุ้นให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดี สะอาด สะดวก ปลอดภัย ประชาชนมีสุขภาพที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งจะส่งเสริมให้ตำบลคลองแหเป็นเมืองแห่งความสุข (Klonghaecity of Happiness) ภายใต้แนวคิด “4 ดี วิถีพอเพียง” (เป็นคนดี    มีสุขภาพดี มีรายได้ดี และมีสิ่งแวดล้อมดี) อย่างยั่งยืนต่อไป
ความสอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม โครงการนี้มีความสอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนจัดการสิ่งแวดล้อมระดับต่างๆ
ดังนี้ 1. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เป้าหมายที่ 1 เพิ่มพื้นที่ป่าไม้และแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ แนวทางการพัฒนา ได้แก่ 1.1 อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้
เป้าหมายที่ 3 สร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดมลพิษ และลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและระบบนิเวศ แนวทางการพัฒนา ได้แก่ 3.1 เร่งรัดแก้ไขปัญหาการจัดการขยะ 3.2 เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคุณภาพน้ำและอากาศ
2. แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยจังหวัดสงขลา ระยะ 4 ปี (2558-2562) มีเป้าประสงค์ คือ
การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายชุมชน และมูลฝอยติดเชื้อ มีการจัดการอย่างถูกหลักวิชาการ รวมถึงมีพื้นที่ต้นแบบการจัดการขยะมูลฝอยเหลือศูนย์ (Zero Weste)
3. แผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. ๒๕60–๒๕64 ยุทธศาสตร์ที่ 1 ป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ มุ่งเน้นการติดตาม ตรวจสอบ เฝ้าระวังปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ประเมินความเสี่ยงและประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากปัจจัย สิ่งแวดล้อม พัฒนาระบบบริหารจัดการ และสื่อสารเพื่อเตือนภัยและตอบโต้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม กรณีฉุกเฉิน สาธารณภัยและภัยพิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพจากสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะประเด็นภัยสุขภาพที่สำคัญ ได้แก่ มลพิษทางอากาศ น้ำบริโภค สุขาภิบาลอาหาร สิ่งปฏิกูล ขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย สารเคมี และการเปลี่ยนแปลงสภาพถูมิอากาศ และยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างความร่วมมือพหุภาคีและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวทางประชารัฐ มุ่งเน้นการระดมและส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากภาคีทุกภาคส่วน ภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคท้องถิ่น ในการร่วมกันคิด วางแผน ดำเนินงานเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมทั้งวงจร ตั้งแต่ควบคุมแหล่งกำเนิด ป้องกันการรับสัมผัส และเฝ้าระวัง ดูแลปัญหาด้านผลกระทบต่อสุขภาพ และส่งเสริมการบูรณาการและเสริมพลังการดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อมระหว่างหน่วยงาน 4. แผนพัฒนาจังหวัดสงขลา 4 ปี (พ.ศ. 2561 - 2564) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ที่กำหนดเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ : โดยการสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีให้ประชาชนและรักษาฐานทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืน ตามตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย รวมปี 4 ปี ร้อยละขยะมูลฝอยได้รับการจัดการอย่างถูกหลักวิชาการ เป้าหมายร้อยละ 50 5. แผนพัฒนาสี่ปี (พ.ศ. ๒๕61–๒๕64) เทศบาลเมืองคลองแห ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาด้านการการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาสิ่งแวดล้อม แนวทางการพัฒนา ได้แก่ ๑. ส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ และใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติอย่างอนุรักษ์ 2. พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมให้สามารถใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ และ 3. การบริหารจัดการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสิ่งปฏิกูล

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อแก้ไขปัญหาผู้บริโภคมีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย
  2. เพื่อลดอัตราเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นนักดื่มหน้าใหม่
  3. เพื่อแก้ปัญหาเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเสพติด เช่น กระท่อม เฮโรอีน ยาบ้า เป็นต้น
  4. เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อ)ในโรคอุจจาระร่วง
  5. เพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการท้องเสียจากการบริโภค
  6. เพื่อส่งเสริมและรณรงค์สร้างจิตสำนึก สร้างความเข้าใจ และความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการลดปริมาณขยะมูลฝอย การคัดแยกขยะจากครัวเรือน ตลาด สถานประกอบการ หรือจากแหล่งกำเนิดอื่นๆ ก่อนนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีและถูกสุขลักษณะ และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่
  7. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะ การดูแลรักษาความสะอาดและสภาพแวดล้อมในเขตพื้นที่เทศบาล
  8. เพื่อให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี สะอาด ไม่เป็นแหล่งอาศัยและเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรคต่างๆ นำไปสู่สุขภาพที่ดีของประชาชนทั้งทางร่างกายและจิตใจ
  9. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการขยะของเทศบาลให้ครบวงจรและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
  10. เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บและกำจัดขยะมูลฝอยของเทศบาล
  11. เพื่อรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้สามารถสนับสนุนการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมสนับสนุนศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะมูลฝอยและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ
  2. กิจกรรมพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพระบบการปฏิบัติงานจัดเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยของเทศบาล
  3. กิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมของประชาชน และภาคส่วนต่างๆ ในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยประชุมชี้แจงให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบปัญหาและเสริมสร้างความเข้าใจ เช่น ตัวแทน อสม. คณะกรรมก
  4. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติเพื่อปลูกจิตสำนึกในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน
  5. กิจกรรมอบรมฝึกปฏิบัติการการคัดแยกขยะ (การสร้างการมีส่วนร่วมจากประชาชนรวม)
  6. กิจกรรมการส่งเสริมให้มีจุดสาธิตเรียนรู้การคัดแยกขยะในชุมชน (ชุมชนละ 5 ครัวเรือน)
  7. กิจกรรมในแหล่งท่องเที่ยว (ตลาดน้ำคลองแห)
  8. กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ (กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการ)
  9. กิจกรรมเดินรณรงค์ “คนเมืองคลองแหร่วมกันลด คัดแยกขยะ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม”
  10. กิจกรรมส่งเสริมให้มีจุดรวบรวมขยะอันตรายในชุมชน (ชุมชนละ 1 แห่ง)

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 200
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและมีจิตสำนึกที่ดีและตื่นตัวเห็นความสำคัญของการคัดแยกขยะและนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 2 ประชาชนรู้จักการคัดแยกขยะอันตรายและทำให้มีความปลอดภัยจากโรคร้ายที่มีสาเหตุจากขยะอันตรายในครัวเรือน 3 ประชาชนมีสุขภาวะที่ดีทั้งกายและจิตใจ เนื่องจากมีการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งแวดล้อมในชุมชนได้อย่างถูกสุขลักษณะและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4 ทำให้มีจุดเรียนรู้การจัดการขยะอินทรีย์ในชุมชนทุกชุมชน 5 ทำให้มีจุดรวบรวมขยะอันตรายในชุมชนทุกชุมชนและสามารถเก็บรวบรวมนำส่งไปกำจัดยังสถานที่ที่สามารถดำเนินการกำจัดได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ 6 ทำให้เทศบาลประหยัดงบประมาณในการเก็บขนและกำจัดขยะมูลฝอย


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมสนับสนุนศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะมูลฝอยและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ

วันที่ 30 ตุลาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

ดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้การจัดการขยะมูลฝอยและอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ
ในกิจกรรมคัดแยกขยะ การทำปุ๋ยอินทรีย์  น้ำหมักชีวภาพ  การเพาะชำกล้าไม้สำหรับสนับสนุนหน่วยงาน  เอกชน ประชาชนนำไปปลูกเพิ่มพื้นที่สีเขียว

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชาชนได้มีการคัดแยกขยะในครัวเรือของตนเองได้ ประชาชนได้นำเศษอาหารเหลือใช้มาทำน้ำหมักเองได้ พื้นที่ในคลองแหจะเป็นพื้นที่สีเขียว

 

50 0

2. กิจกรรมพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพระบบการปฏิบัติงานจัดเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยของเทศบาล

วันที่ 31 ตุลาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

จัดประชุมเพื่อพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพระบบการปฏิบัติงานจัดเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยของเทศบาล อบรมให้ความรู้เรื่องสุขภาพ เรื่อง โรคที่มาจากขยะ อันตรายที่เกิดจากขยะ ส่งผลไปสู่ร่างกาย -ประชุมเจ้าหน้าที่และพนักงาน
ผู้ปฏิบัติงานการดูแลรักษาความสะอาดและจัดเก็บขยะมูลฝอย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เจ้าหน้าที่และพนักงานจะมีประสิทธิภาพในระบบการปฏิบัติงานจัดเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยของเทศบาลมากขึ้น ลดจำนวนเจ้าหน้าที่ที่ส่งผลที่ทำให้เกิดสุขภาพไม่ดี และระมัดระวังมากขึ้นเมือ่ปฎิบัติหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องขยะ เจ้าหน้าที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงมากยิ่งขึ้น

 

100 0

3. กิจกรรมส่งเสริมให้มีจุดรวบรวมขยะอันตรายในชุมชน (ชุมชนละ 1 แห่ง)

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

ส่งเสริมให้มีจุดรวบรวมขยะอันตรายในชุมชน (ชุมชนละ 1 แห่ง) กิจกรรมเก็บขยะในแม่น้ำ ลำคลอง  แหล่งน้ำสาธารณะ กิจกรรมเติมน้ำหมักชีวภาพและจุลินทรีย์ก้อน ลงแหล่งน้ำสาธารณะ เช่น คลองแห (บริเวณตลาดน้ำ)
ติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะ เช่น คลองแห คลองอู่ตะเภา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ในชุมชนจะได้มีถังใส่ขยะอันตราย เพื่อจะได้ไม่เกิดการแพร่กระจ่ายเชื้อโรคไปสู่ประชาชน

 

40 0

4. กิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมของประชาชน และภาคส่วนต่างๆ ในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยประชุมชี้แจงให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบปัญหาและเสริมสร้างความเข้าใจ เช่น ตัวแทน อสม. คณะกรรมก

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

การประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการปฏิบัติงาน/จัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) การบริหารจัดการขยะมูลฝอย กิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมของประชาชน และภาคส่วนต่างๆ ในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
โดยประชุมชี้แจงให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบปัญหาและเสริมสร้างความเข้าใจ เช่น ตัวแทน อสม. คณะกรรมการชุมชน โรงเรียน สถานประกอบการ วัด มัสยิด เป็นต้น - จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งแวดล้อมระหว่างเทศบาลเมืองคลองแห กับ ส่วนราชการ สถานศึกษา ศาสนสถาน ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ประชาชน สถานประกอบการ เป็นต้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทุกส่วนทั้งภาครัฐ และ เอกชน ได้มีส่วนร่วมไปในทางเดี่ยวกัน ในเรื่อง การบริหารการจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกสุขลักษณะ

 

100 0

5. กิจกรรมในแหล่งท่องเที่ยว (ตลาดน้ำคลองแห)

วันที่ 5 ธันวาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมในแหล่งท่องเที่ยว (ตลาดน้ำคลองแห) กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน (ตลาดน้ำคลองแห) โดยพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการขยะมูลฝอย การคัดแยกขยะ การบำบัดน้ำเสีย
- ส่งเสริมกิจกรรมการคัดแยกขยะ
-จัดหาที่รองรับขยะ จำพวกขยะ อินทรีย์ ,ขยะรีไซเคิล, ขยะทั่วไป,

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ตลาดน้ำคลองแหจะมีการบริการจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกสุขลักษณะ ปราศจากแหล่งเพาะเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ผู้ที่มาจับจ่ายซื้อของในบริเวณตลาดน้ำคลองแห เป็นการป้องกันและควบคุมโรคเบื้องต้น

 

0 0

6. กิจกรรมอบรมฝึกปฏิบัติการการคัดแยกขยะ (การสร้างการมีส่วนร่วมจากประชาชนรวม)

วันที่ 5 ธันวาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

การสร้างการมีส่วนร่วมจากประชาชนรวม จัดตั้งกลุ่มหรือองค์กรในชุมชนและดำเนินงานตามกิจกรรม ดังต่อไปนี้   - การคัดแยกขยะจากต้นทาง หรือในครัวเรือน   - การทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ และน้ำหมักชีวภาพในชุมชน
คัดแยก รวบรวมขยะอันตราย  ส่งกำจัดอย่างถูกวิธี   - จัดตั้งสถานที่รวบรวมประจำชุมชน   - ส่งเสริมให้ครัวเรือนคัดแยก เก็บรวบรวมอย่างถูกวิธี   - เก็บรวบรวมนำส่ง อบจ. สงขลา(ดำเนินการส่งเข้าสถานที่กำจัดตามหลักวิชาการ) ส่งเสริมจุดเรียนรู้ในชุมชน และขยายผลการดำเนินงานแก่ครัวเรือนหรือชุมชนข้างเคียง - จุดสาธิตถังขยะเปียกประจำครัวเรือน - จุดสาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชาชนในพื้นที่คลองแหจะคัดแยกขยะในครัวเรือนเองได้ ประชาชนในพื้นที่คลองแหได้นำเศษอาหารที่มีในครัวเรือนตัวเองนำมาทำน้ำหมักไว้ใช้ในครัวเรือง และในชุมชนได้

 

200 0

7. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติเพื่อปลูกจิตสำนึกในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน

วันที่ 12 ธันวาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

1 การประชาสัมพันธ์และสร้างจิตสำนึก สร้างจิตสำนึกให้ประชาชน โดยการประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย  รถประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่  ป้ายประชาสัมพันธ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชาชยในเขตพื้นที่คลองแหได้มีจิตสำนึก ในเรื่อง ของการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกสุขลักษณะมากขึ้น

 

200 0

8. กิจกรรมเดินรณรงค์ “คนเมืองคลองแหร่วมกันลด คัดแยกขยะ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม”

วันที่ 12 ธันวาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ (กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการ)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชาชนในพื้นที่คลองได้ตระหนัก และตื้นตัว ในเรื่องของการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกสุขลักษณะมากขึ้น

 

0 0

9. กิจกรรมการส่งเสริมให้มีจุดสาธิตเรียนรู้การคัดแยกขยะในชุมชน (ชุมชนละ 5 ครัวเรือน)

วันที่ 12 ธันวาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

การส่งเสริมให้มีจุดสาธิตเรียนรู้การคัดแยกขยะในชุมชน (ชุมชนละ 5 ครัวเรือน) กิจกรรมการรักษาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การปลูกต้นไม้  การเก็บขยะในแหล่งน้ำ  การทำน้ำหมักชีวภาพ  การทำจุลินทรีย์ก้อน (E.M ball) การเทน้ำหมักชีวภาพลงในคลองและคูระบายน้ำเพื่อบำบัดน้ำเสีย  การรวบรวมขยะอันตรายจากชุมชนเพื่อส่งกำจัดอย่างถูกวิธีและกิจกรรมพัฒนาและรักษาสภาพแวดล้อมในชุมชนให้น่าอยู่ เป็นต้น จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ในโอกาสต่างๆ ส่งเสริมพื้นที่สีเขียว

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชาชนในพื้นที่คลองแหหันมาอรุรักษ์ทรัพยากรมากขึ้น ขยะอันตรายในชุมชนจะลดน้อยลง สภาพแวดในชุมชนน่าอยู่ และสุขภาพร่ากายแข็งแรงมากยิ่งขึ้น

 

0 0

10. กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ (กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการ)

วันที่ 16 มกราคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมรณรงค์ (เดินรณรงค์)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชาชนในพื้นที่คลองแหร่วมเดินรณรงค์ปลูกจิตสำนึก ในเรื่องของการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกสุขลักษณะมากยิ่งขึ้น

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อแก้ไขปัญหาผู้บริโภคมีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย
ตัวชี้วัด : จำนวนผู้บริโภคที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย(คน)
100.00 50.00

 

2 เพื่อลดอัตราเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นนักดื่มหน้าใหม่
ตัวชี้วัด : ร้อยละของเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นนักดื่มหน้าใหม่
100.00 50.00

 

3 เพื่อแก้ปัญหาเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเสพติด เช่น กระท่อม เฮโรอีน ยาบ้า เป็นต้น
ตัวชี้วัด : ร้อยละของเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเสพติด เช่น กระท่อม เฮโรอีน ยาบ้า เป็นต้น
60.00 30.00

 

4 เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อ)ในโรคอุจจาระร่วง
ตัวชี้วัด : ร้อยละของประชาชนทีมีการใช้ยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อ)ในโรคอุจจาระร่วง
50.00 25.00

 

5 เพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการท้องเสียจากการบริโภค
ตัวชี้วัด : ร้อยละของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการท้องเสียจากการบริโภค
100.00 50.00

 

6 เพื่อส่งเสริมและรณรงค์สร้างจิตสำนึก สร้างความเข้าใจ และความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการลดปริมาณขยะมูลฝอย การคัดแยกขยะจากครัวเรือน ตลาด สถานประกอบการ หรือจากแหล่งกำเนิดอื่นๆ ก่อนนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีและถูกสุขลักษณะ และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่
ตัวชี้วัด : สร้างจิตสำนึก สร้างความเข้าใจ และความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการลดปริมาณขยะมูลฝอย การคัดแยกขยะจากครัวเรือน ตลาด สถานประกอบการ หรือจากแหล่งกำเนิดอื่นๆ ก่อนนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีและถูกสุขลักษณะ และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่
100.00

 

7 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะ การดูแลรักษาความสะอาดและสภาพแวดล้อมในเขตพื้นที่เทศบาล
ตัวชี้วัด : ประชาชนในการจัดการขยะ การดูแลรักษาความสะอาดและสภาพแวดล้อมในเขตพื้นที่เทศบาล
100.00

 

8 เพื่อให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี สะอาด ไม่เป็นแหล่งอาศัยและเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรคต่างๆ นำไปสู่สุขภาพที่ดีของประชาชนทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ตัวชี้วัด : ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี สะอาด ไม่เป็นแหล่งอาศัยและเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรคต่างๆ นำไปสู่สุขภาพที่ดีของประชาชนทั้งทางร่างกายและจิตใจ
100.00

 

9 เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการขยะของเทศบาลให้ครบวงจรและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ตัวชี้วัด : รูปแบบการจัดการขยะของเทศบาลให้ครบวงจรและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
100.00

 

10 เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บและกำจัดขยะมูลฝอยของเทศบาล
ตัวชี้วัด : ลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บและกำจัดขยะมูลฝอยของเทศบาล
100.00

 

11 เพื่อรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้สามารถสนับสนุนการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
ตัวชี้วัด : รักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้สามารถสนับสนุนการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
100.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 400
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 200
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อแก้ไขปัญหาผู้บริโภคมีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย (2) เพื่อลดอัตราเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นนักดื่มหน้าใหม่ (3) เพื่อแก้ปัญหาเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อสารเสพติด เช่น กระท่อม เฮโรอีน ยาบ้า เป็นต้น (4) เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อ)ในโรคอุจจาระร่วง (5) เพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการท้องเสียจากการบริโภค (6) เพื่อส่งเสริมและรณรงค์สร้างจิตสำนึก สร้างความเข้าใจ และความร่วมมือจากทุกภาคส่วน  ในการลดปริมาณขยะมูลฝอย การคัดแยกขยะจากครัวเรือน ตลาด สถานประกอบการ หรือจากแหล่งกำเนิดอื่นๆ ก่อนนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีและถูกสุขลักษณะ และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ (7) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะ การดูแลรักษาความสะอาดและสภาพแวดล้อมในเขตพื้นที่เทศบาล (8) เพื่อให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี สะอาด ไม่เป็นแหล่งอาศัยและเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรคต่างๆ นำไปสู่สุขภาพที่ดีของประชาชนทั้งทางร่างกายและจิตใจ (9) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการขยะของเทศบาลให้ครบวงจรและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด (10) เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บและกำจัดขยะมูลฝอยของเทศบาล (11) เพื่อรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้สามารถสนับสนุนการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมสนับสนุนศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะมูลฝอยและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ (2) กิจกรรมพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพระบบการปฏิบัติงานจัดเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยของเทศบาล (3) กิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมของประชาชน และภาคส่วนต่างๆ ในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน  โดยประชุมชี้แจงให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบปัญหาและเสริมสร้างความเข้าใจ เช่น ตัวแทน อสม. คณะกรรมก (4) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติเพื่อปลูกจิตสำนึกในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน (5) กิจกรรมอบรมฝึกปฏิบัติการการคัดแยกขยะ (การสร้างการมีส่วนร่วมจากประชาชนรวม) (6) กิจกรรมการส่งเสริมให้มีจุดสาธิตเรียนรู้การคัดแยกขยะในชุมชน (ชุมชนละ 5 ครัวเรือน) (7) กิจกรรมในแหล่งท่องเที่ยว (ตลาดน้ำคลองแห) (8) กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ (กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการ) (9) กิจกรรมเดินรณรงค์ “คนเมืองคลองแหร่วมกันลด คัดแยกขยะ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม” (10) กิจกรรมส่งเสริมให้มีจุดรวบรวมขยะอันตรายในชุมชน (ชุมชนละ 1 แห่ง)

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกสุขลักษณะ และ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม ประจำปี 2562 จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 2562-L7255-01-01

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางพรทิพย์ จันทร์ศิริ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคลองแห )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด