กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ตำบลจะกว๊ะ
รหัสโครงการ 62-L4157-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรทอาสาสมัครสาธารณสุข
วันที่อนุมัติ 11 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 78,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแวยูโซะ หะตะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวมูรณี แซมา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจะกว๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.498,101.536place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 630 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นดรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอย่างหนึ่งของเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะกว๊ะ จากสถิติข้อมูลที่ผ่านมานำมาเปรียบเทียบกับค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556-2560 มีค่ามัธยฐานอยู่ที่ 2.2 ซึ่งพบว่า ปี 2561 มีผู้ป่วยจำนวน 9 ราย ซึ่งมีค่ามัธยฐานสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง โดยผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะกว๊ะพบในทุกุกลุ่มอายุ อีกทั้งมิได้ระบาดเฉพาะในช่วงฤดูฝนเท่านั้น จึงนับเป็นปัญหาทางการแพทย์และสาธารณสุขที่สำคัญอย่างหนึ่งของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะกว๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา จากการดำเนินงานที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน   ยุทธศาสตร์การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกที่สำคัญประการหนึ่ง ควบคุมลูกน้ำยุงลาย ดัชนีลูกน้ำยุงลายจะต้องไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน แต่จากผลการประเมินดัชนีลูกน้ำยุงลายของตำบลจะกวีะ ในปี 2561 รอบที่ 1 พบว่ามีหมู้บ้านผ่านเกณฑ์เพียงร้อยละ 60 ซึ่งนับว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการระบาดของโรคได้ ควบคุมลูกน้ำยุงลายให้ได้ผล ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากประชาชนในแต่ละหมู่บ้าน โรงเรียน ดำเนินการกำจัดลูกน้ำยุงลายทุกหลังคาเรือนอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นให้มีการดำเนินงานให้ครอบคลุมมากขึ้น มีการนำระบบแผนที่หมู่บ้านมาใช้ช่วยในการประเมินผลและควบคุมลูกน้ำยุงลายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลให้สามารถลดการระบาดของโรคลงได้ อีกทั้งยังต้องสร้างความตระหนักให้กับชุมชน ท้องถิ่น การให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารที่เข้าถึงประชาชนได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นส่วนสนับสนุนให้การป้องกันโรคได้ผลมากยิ่งขึ้น อาสาสมัครสาธาณสุขตำบลจะกว๊ะจึงได้จัดโครงการ ชุมชนร่วมใจป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ตำบลจะกว๊ะ ปี 2562 ขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อลดอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกให้เหลือน้อยที่สุด   ดังนั้น ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลจะกว๊ะ จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหา หากประชาชนได้รับการดูแลสุขภาพที่ดี จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ แต่ปัจจัยสำคัญในการทำงานเชิงรุกคือ ทรายอะเบทและน้ำยา น้ำมันฉีดพ่นยุงตัวแก่ ซึ่งมีอย่างจำกัด จึงเป็นปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน โครงการนี้จึ้งจัดทำขึ้นเพื่อสอดรับกับปัญหา ซึ่งสามารถลดอัตราป่่วยและการระบาดของโรคได้ ประกอบกับการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อป้องกันและหยุดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในช่วงฤดูกาลก่อนการระบาดของโรค ช่วงที่มีการระบาดและหลังการระบาดของโรคไข้เลือดออก 2.เพิ่มความครอบคลุมของการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ศาสนสถาน และชุมชน ลดความชุมชุมของลูกน้ำยุงลาย 3.เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับทุกองค์กรในชุมชน และประชาชนทั่วไป ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคในชุมชน และให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

ลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนชาวตำบลจะกว๊ะ

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

1.จัดประชุมอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อชี้แจงการดำเนินงาน การจัดกิจกรรมตามโครงการ 2.จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการดำเนินโครงการ เช่น ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย น้ำมันดีเซลใช้ผสมสารเคมี และน้ำมันเบนซิน
3. ดำเนินการรณรงค์เร่งรัดการกำจัดลูกน้ำยุงลายในละแวกบ้านที่รับผิดชอบทุกหมู่บ้านเป็นประจำทุกเดือน
4. ดำเนินการพ่นสารเคมี (หมอกควัน) กำจัดยุงลายตัวแก่ในพื้นที่เสี่ยง มัสยิด ตาดีกา โรงเรียน สถาบันปอเนาะ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนและหน่วยงานทุกภาคส่วนมีความตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกและเข้ามามีส่วนร่วมรณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกเพื่อลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย ในโรงเรียน และศาสนถานทุกแห่ง และลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในปี 2562

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2561 11:45 น.