กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี


“ โครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคแก่กลุ่มมันนิ ”

ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
1. นายนิพลธ์ เขียวเอียด 2.นายณรงค์ชัย สงไข่ 3. นายชัยยุทธ บุญนุ้ย

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคแก่กลุ่มมันนิ

ที่อยู่ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 62-L3341-2-1 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 5 พฤศจิกายน 2561 ถึง 28 มิถุนายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคแก่กลุ่มมันนิ จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคแก่กลุ่มมันนิ



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคแก่กลุ่มมันนิ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 62-L3341-2-1 ระยะเวลาการดำเนินงาน 5 พฤศจิกายน 2561 - 28 มิถุนายน 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 30,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งนารี เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

กลุ่มชาติพันธุ์มานิ เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมของไทย มีถิ่นอาศัยอยู่ทางภาคใต้ของไทยใน 2 พื้นที่ คือเขตผืนป่าเทือกเขาบรรทัดบริเวณจังหวัดตรัง พัทลุง สตูล และสงขลา และเขตผืนป่าเทือกเขาบรรทัดสันกาลาคีรี ในเขตจังหวัดยะลา และนราธิวาส ซึ่งเป้นกลุ่มจังหวัดในความรับผิดชอบของ สปสช. เขต 12 สงขลา   สภาพทางสังคมและวิถีชีวิตชาวมานิ มีรูปแบบการดำเนินชีวิตใน 3 ลักษณะ ได้แก่     กลุ่มที่อพยพเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัย หาของป่า-ล่าสัตว์แบบดุ้งเดิม ยังดำรงชีพเหมือนกับบรรพบุรุษครั้งบรรพกาล สร้างเพิงเล็กๆ ติดพื้นดิน หลังคามุงใบไม้ เรียกว่า “ทับ” เป็นที่อยู่อาศัยแบบชั่วคราว อาหารได้จากมันป่า และใช้ลูกดอกอาบยาพิษในการล่าสัตว์ เร่ร่อนหากินไปในเขตป่าที่อุดมสมบรูณ์ มีการติต่อสัมพันธ์กับกลุ่มชนภายนอกย้อยมาก     กลุ่มกึ่งสังคมชุมชน วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงจากดั้งเดิมบ้าง เนื่องจากถูกบีบคั้นจากสภาพป่าที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ จึงติดต่อสัมพันธ์กับกลุ่มคนภายนอกเพื่อความอยู่รอดของกลุ่ม ดำรงชีวิตด้วยการหาของป่ามาขายและนำเงินไปซื้อข้าวสาร เนื้อหมู ขนม บุหรี่ กลุ่มนี้มีแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัจจัยที่ส่งผลคือสภาพป่าที่ขาดความอุดมสมบูรณ์กับความจำเป็นที่ต้องติดต่อสัมพันธ์กับกลุ่มชนภายนอก     กลุ่มตั้งถิ่นฐานถาวร เป็นกลุ่มที่มีพัฒนาการมาจนมีวิถีชีวิตไม่ต่างจากชาวบ้านพื้นราบทั่วไป มีการตั้งบ้านเรือน/ที่อยู่อาศัยแบบถาวร ดำรงชีวิตด้วยการทำสวนยางพาราเป็นหลัก รู้จักการเพาะปลูกข้าวไร่ เลี้ยงไก่ รู้จักค่าของเงินและใช้เงินในการแลกเปลี่ยน     มานิเป็นกลุ่มชนในวัฒนธรรมการหาของป่าล่าสัตว์ ดำรงชีวิตอยู่กับธรรมชาติอย่างกลมกลืนไม่คุ้นเคยและรับรู้ต่อการพัฒนาของสังคมเมือง ได้รับผลกระทบจากปัญหาตัดไม้ทำลายป่าและการถางป่าเพื่อเป็นพื้นที่ทางการเกษตร ทำให้อาหารขาดแคลน ปกติชนเผ่ามานิจะมีการอพยพโยกย้ายที่อยู่อาศัยไปหาที่อยู่ใหม่ทุกๆ 7-15 วัน ตามห่วงโซ่อาหาร ถูกรบกวน หรือมีสมาชิกในกลุ่มตายหรือเจ็บป่วยพร้อมกันหลายคน     ดังนั้น กลุ่มมานิ จึงจัดเป็นกลุ่มเปราะบางที่มีความอ่อนไหวต่อภาวะคุกคามทั้งที่เกิดจากธรรมชาติที่เสื่อมโทรม รวมทั้งการปรับวิถีชีวิตตนเองให้อยู่รอดภายใต้การมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนเมือง และควรได้รับการดูแลและคุ้มครองสิทธิให้ได้รับบริการตามความจำเป็น     ในอดีต เมื่อเจ็บป่วยชาวมานิจะดูแลรักษากันเองตามภูมิปัญญาชาติพันธุ์และส่วนใหญ่ใช้สมันไพร ปัจจุบันสมุนไพรมีจำนวนลดน้อยลงเพราะพื้นที่ป่าลดน้อยลง เมื่อมีอาการหนักจะขอความช่วยเหลือจากคนคุ้นเคยให้พาไปรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล     กองทุนดูแลรักษาพยาบาลชาวป่าซาไก(มันนิ) ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนารี โรงพยาบาลป่าบอน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพของมานิ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคแก่กลุ่มมันนิ (มานิ)ขึ้น เพื่อให้มานิได้เรียนรู้การดูแลรักษาสุขภาพร่างกายได้ถูกต้อง รู้จักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในการช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้  มานิได้เรียนรู้การป้องกันโรคและภัยอันตรายใกล้ตัวต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับมานิได้ นอกจากนี้มานิยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรใกล้ตัวที่สามารถนำมารักษาโรค และการเข้าถึงสิทธิประกันสุขภาพ

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้มานิสามารถเรียนรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
  2. เพื่อให้มานิทุกกลุ่มวัยมีสุขอนามัยดีขึ้น
  3. เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดจากการดำรงชีวิตของมานิ
  4. มานิเข้าถึงสิทธิหลักประกันสุขภาพได้

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. การให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแก่มันนิ(มานิ)
  2. การส่งเสริมการจัดการขยะ
  3. ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 1
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 มานิสามารถเรียนตามฐานการเรียนรู้ต่างๆ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2 มานิทุกกลุ่มวัยมีสุขอนามัยดีขึ้น 3 ลดการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตของมันนิ 4 มานิเข้าถึงสิทธิหลักประกันสุขภาพได้


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. การให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแก่มันนิ(มานิ)

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

 

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดกิจกรรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้น,การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การดูแลรักษาสุขภาพในช่องปาก รู้ทันโรคป้องกันภัยใกล้ตัว การส่งเสริมการเข้าถึงบริการ/หลักประกันสุขภาพ และ การดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญา/สมุนไพร มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม คือ มานิ และผู้นำในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

 

50 0

2. การส่งเสริมการจัดการขยะ

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562

กิจกรรมที่ทำ

ให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะในครัวเรือน  การจัดเก็บขยะตกค้างในพื้นที่ อยู่อาศัย ของมันนิ บริเวณแนวเขตเทือกเขาบรรทัด จำนวน 38 คน 12 ครัวเรือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะในครัวเรือน  การจัดเก็บขยะตกค้างในพื้นที่ อยู่อาศัย ของมันนิ บริเวณแนวเขตเทือกเขาบรรทัด จำนวน 38 คน 12 ครัวเรือน

 

50 0

3. ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

วันที่ 5 มีนาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

ให้ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก การฝากครร์แก่หญิงตั้งครรภ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แม่ตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลหน่วยงานของรัฐทุกราย เด็กได้รับการตรวจพัฒนาการ ทุกราย และมีพัฒนาการตามเกณฑ์ทุกราย

 

36 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้มานิสามารถเรียนรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 มานิสามารถเรียนรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
1.00 1.00

 

2 เพื่อให้มานิทุกกลุ่มวัยมีสุขอนามัยดีขึ้น
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 มานิมีสุขอนามัยดีขึ้น
10.00 1.00

 

3 เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดจากการดำรงชีวิตของมานิ
ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งในการเกิดอุบัติเหตุจากการดำรงชีวิตของมานิลดลงอย่างน้อยร้อยละ 20 ของจำนวนอุบัติเหตุในปีที่ผ่านมา
1.00 1.00

 

4 มานิเข้าถึงสิทธิหลักประกันสุขภาพได้
ตัวชี้วัด : มานิที่มีบัตรประชาชนสามารถเข้าถึงสิทธิหลักประกันสุขภาพได้ทุกราย
1.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 61
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 1
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้มานิสามารถเรียนรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ (2) เพื่อให้มานิทุกกลุ่มวัยมีสุขอนามัยดีขึ้น (3) เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดจากการดำรงชีวิตของมานิ (4) มานิเข้าถึงสิทธิหลักประกันสุขภาพได้

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) การให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแก่มันนิ(มานิ) (2) การส่งเสริมการจัดการขยะ (3) ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคแก่กลุ่มมันนิ จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 62-L3341-2-1

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( 1. นายนิพลธ์ เขียวเอียด 2.นายณรงค์ชัย สงไข่ 3. นายชัยยุทธ บุญนุ้ย )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด