กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ (กิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ)
รหัสโครงการ 62-L7499-3-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลตำบลสทิงพระ
วันที่อนุมัติ 16 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 30 พฤศจิกายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 145,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอารมณ์ จิตภักดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว โดยมีผู้สูงอายุเกิน 60 ปี ราว 10 ล้านคน จำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าผู้สูงอายุไทยจะเพิ่มเป็นร้อยละ 21 และ 24 ของประชากรรวมในอีกสิบและสิบสี่ปีข้างหน้าตามลำดับ และสังคมไทยจะก้าวสู่ สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ตามนิยามของสหประชาชาติ ในปี พ.ศ. 2568 กล่าวคือ ทุกๆ 5 คนที่เดินผ่านไป จะมีผู้สูงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป 1 คน และทุกๆ 100 คนที่เดินผ่านไป จะมีผู้สูงอายุเกิน 65 ปีขึ้นไปถึง 14 คน โดยจะเพิ่มเป็น 20.5 ล้านคนในปี 2583 ขณะเดียวกันสัดส่วนของผู้สูงอายุวัยปลายก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน อายุเฉลี่ยของหญิงไทยอยู่ที่ 78.4 ปี ในขณะที่ชายไทยมีอายุเฉลี่ย 71.6 ปี (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยและสถาบันวิจัยประชากรและสังคม, 2558)     จากการประเมินคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 6,394,022 คน ในปี 2558 โดยกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ร้อยละ 79 (5 ล้านคน) คือผู้สูงอายุติดสังคม หรือกลุ่มที่ยังช่วยเหลือตัวเองได้ ทำกิจกรรมต่างๆได้ และอีกร้อยละ 21 (1.3 ล้านคน) คือผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงหรือเรียกว่ากลุ่มติดบ้านติดเตียง และต้องการดูแลทั้งด้านสุขภาพและสังคม ซึ่งในเขตเทศบาลตำบลสทิงพระ มีผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงจำนวน 43 คน
    จากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ ประกอบกับความเจริญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สูงขึ้น ส่งผลให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ปรับตัวไม่ทันต่อสถานการณ์ต่างๆ ก่อให้เกิดภาวะด้านจิตใจ เกิดความเครียด ขาดการพักผ่อนหย่อนใจ ส่งผลกระทบให้การดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ขาดความสนใจในการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสม และการบริโภคอาหารที่พอเหมาะพอควร ดังนั้น เพื่อให้มีภาวะโภชนาการดี ลดการเจ็บป่วยของโรคต่างๆ และความพิการซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ จากสาเหตุของโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดในสมอง เป็นต้น ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลตำบลสทิงพระ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขึ้น ดังนั้น เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ สามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข และเกิดความร่วมมือดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้และสร้างเสริมทักษะการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับช่วงวัย

ร้อยละ ๘๐ ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรมในระดับดี

0.00
2 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าและความสำคัญสุขภาพของตนเอง

 

0.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง

ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลสุขภาพทุกคนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้และสร้างเสริมทักษะการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับช่วงวัย

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าและความสำคัญสุขภาพของตนเอง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

14 - 31 ม.ค. 62 จัดประชุมชี้แจงโครงการและวิธีการดำเนินงาน ข้อตกลง การเข้าร่วมกลุ่ม 2,600.00 -
1 ก.พ. 62 - 31 มี.ค. 62 ให้ความรู้เรื่องการดำรงชีวิตแบบสูงวัยที่มีคุณภาพ และกิจกรรมสันทนาการ 33,400.00 -
1 ก.พ. 62 - 30 ก.ย. 62 ตรวจประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ 0.00 -
1 - 30 เม.ย. 62 ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ การออกกำลังกาย การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และ กิจกรรมสันทนาการ 17,600.00 -
1 - 31 พ.ค. 62 ให้ความรู้เรื่องการพัฒนาจิตและปฏิบัติธรรม การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และ กิจกรรมสันทนาการ 26,200.00 -
1 - 30 มิ.ย. 62 ให้ความรู้เรื่องการปรับตัวของผู้สูงอายุในสังคมที่เปลี่ยนแปลง และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ และกิจกรรมสันทนาการ 17,600.00 -
1 ก.ค. 62 - 31 ส.ค. 62 ให้ความรู้เรื่องการปรับตัวและพัฒนาตนเองของผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และกิจกรรมสันทนาการ 35,200.00 -
1 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมมอบประกาศแก่ผู้เข้าร่วมอบรม 12,500.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางในการดำเนินงาน
  2. เขียนโครงการเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน
  3. ประสานประธานชมรมผู้สูงอายุ เพื่อขอความร่วมมือและร่วมกำหนดแผนดำเนินงานและกำหนดกิจกรรม พร้อมนัดหมายผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมตามกำหนดแผนการดำเนินงานที่วางไว้
  4. ประสานทีมวิทยากร และประสานจัดเตรียมสถานที่สำหรับดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
  5. จัดซื้อ/จัดจ้างวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ จัดทำเอกสารแผ่นพับ เอกสารคู่มือความรู้
  6. จัดกิจกรรมตรวจประเมินภาวะสุขภาพและให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุเรื่องสิทธิผู้สูงอายุตามกฎหมายและการเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสังคม , การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ (การออกกำลังกาย) , การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ (อาหารและโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ) , การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ (การดูแลสุขภาพช่องปาก) , สุขภาพจิตกับผู้สูงอายุ/การดูแลตนเองเพื่อคลายเครียด , กายภาพบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ , ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการดูแลผู้สูงอายุ (แพทย์แผนไทยกับการดูแลผู้สูงอายุ) และการใช้ยาในผู้สูงอายุ
  7. จัดกิจกรรมเยี่ยมดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขและให้ความรู้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(CG)
  8. สรุปปัญหาและหาแนวทางแก้ไข
  9. สรุปผลการปฏิบัติงานโครงการ และประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งด้าน โภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ และสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้
  2. ผู้สูงอายุมีความตื่นตัว มีส่วนร่วมในชุมชน ดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า และมีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรง
  3. ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  4. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องและมีสุขภาพดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2561 11:27 น.