กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ไขปัญหาหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง 5 โรค
รหัสโครงการ 62-L2539-01-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพสต.โต๊ะเด็ง
วันที่อนุมัติ 25 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 31 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 27,920.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุรีรัตน์ จันทร์แก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโต๊ะเด็ง อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.116,101.849place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 8 ม.ค. 2562 8 ม.ค. 2562 27,920.00
รวมงบประมาณ 27,920.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากผลงานการปฏิบัติงานที่ผ่านมาของตำบลโต๊ะเด็งพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงด้วยโรคประจำตัวและภาวะเสี่ยงต่างๆเช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไทรอยด์และภาวะตกเลือดหลังคลอด ภาวะซีด การคลอดก่อนกำหนด หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงเหล่านี้ ควรได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องจากการรวบรวมข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ภาวะเสี่ยงสูงในเขตตำบลโต๊ะเด็ง ปี ๒๕๕๙- ๒๕๖๑ พบว่า อัตราหญิงตั้งครรภ์ภาวะเสี่ยงสูงด้วยโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ ๒.๐๐, ๖.๐๐,๒.๕๐ (ตามลำดับ) อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงด้วยโรคเบาหวานร้อยละ ๓.๐๐,๓.๐๐,๒.๕๐ (ตามลำดับ) อัตราภาวะโลหิตจางระยะใกล้คลอด ๑๒.๐๐,๑๑.๐๐,๑๕.๐๐(ตามลำดับ) อัตราการคลอดก่อนกำหนด ๓.๐๐,๓.๐๐,๔.๐๐(ตามลำดับ) พบว่ามีมารดาตายในเขตอำเภอสุไหงปาดี จำนวน ๒ ราย ด้วยโรคหัวใจและภาวะตกเลือดหลังคลอด   จากข้อมูลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโต๊ะเด็งจึงได้จัดทำโครงการ”แก้ไขปัญหาหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง 5 โรค” ขึ้น เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ สามีและญาติ หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่คาดว่าจะมีบุตรอีกมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองในขณะตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงโดยเฉพาะหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่อยู่กินกับสามีที่มีโรคประจำตัวด้วยโรคต่างๆได้มีความรู้ในการดูแลตนเองและเลือกวิธีคุมกำเนิดที่ถูกต้องต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงที่ถูกต้อง

อัตรามารดาตายร้อยละ ๐

0.00
2 เพื่อให้เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเป็นอันตรายต่อมารดาและทารกในครรภ์

หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างต่อเนื่องร้อยละ ๑๐๐

0.00
3 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงได้ถูกต้อง

อัตราติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง ๕ โรค( PPH/PIH/DM/ไทรอยด์/หัวใจ)ร้อยละ ๑๐๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 27,920.00 1 27,920.00
8 ม.ค. 62 จัดอบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์/คู่สมรสใหม่/หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่คาดว่าจะตั้งครรภ์บุตรคนต่อไป 0 27,920.00 27,920.00
  1. จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานแก่ผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็กและ แม่อาสา อสม. เพื่อ   รับทราบโครงการ
  2. ประชาสัมพันธ์โครงการโดยผ่านคลินิกฝากครรภ์ แม่อาสา อสม. แกนนำสตรีและเครือข่าย
  3. จัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับการฝากครรภ์เร็วการฝากครรภ์คุณภาพ ในสถานบริการ
  4. จัดประชุมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายหญิงตั้งครรภ์ทุกราย/คู่สมรสใหม่/หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่คาดว่าจะมีบุตรคนต่อไปวัยรุ่นในชุมชน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. หญิงตั้งครรภ์ คู่สมรสใหม่ และหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่คาดว่าจะมีบุตรคนต่อไปมีความรู้ ทักษะ และตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ได้ถูกต้อง สามารถนำความไปเผยแพร่ในชุมชนได้ ๒. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะผิดปกติต่างๆในขณะตั้งครรภ์อย่างครอบคลุม เพื่อค้นหาภาวะเสี่ยงต่างๆ ในระยะเริ่มแรกและได้รับการแก้ไข/ส่งต่ออย่างทันท่วงที
๓. หญิงตั้งครรภ์ทุกรายได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างน้อย ๒ ครั้งในครรภ์ปกติและสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงจะได้รับการดูแลจากแพทย์เฉพาะทางตลอดการตั้งครรภ์ ๔. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงได้การเยี่ยมติดตามอย่างต่อเนื่องจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม.ตลอดจนแกนนำสุขภาพและผู้นำชุมชนในพื้นที่อย่างใกล้ชิด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2561 09:58 น.