กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการส่งผ่านความห่วงใยจากแม่สู่ลูกในครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปราง ปีงบประมาณ 2560 ”
ตำบลท่าชะมวง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา



หัวหน้าโครงการ
นางสาวณัฏฐณิชา ริทธิ์โต (นักวิชาการสาธารณสุข)




ชื่อโครงการ โครงการส่งผ่านความห่วงใยจากแม่สู่ลูกในครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปราง ปีงบประมาณ 2560

ที่อยู่ ตำบลท่าชะมวง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2560

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งผ่านความห่วงใยจากแม่สู่ลูกในครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปราง ปีงบประมาณ 2560 จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลท่าชะมวง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าชะมวง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งผ่านความห่วงใยจากแม่สู่ลูกในครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปราง ปีงบประมาณ 2560



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งผ่านความห่วงใยจากแม่สู่ลูกในครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปราง ปีงบประมาณ 2560 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลท่าชะมวง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 69,650.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าชะมวง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

เป้าหมายสูงสุดของงานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย โดยมีกลวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ต้องเน้นการดูแลสุขภาพมารดาตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ เป็นเรื่องจำเป็นมาก การประเมินภาวะเสี่ยงของมารดาขณะตั้งครรภ์จะสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาทั้งของมารดาและทารกได้ การดูแลสุขภาพมารดาขณะตั้งครรภ์จึงเป็นเรื่องจำเป็นหากหญิงมีครรภ์มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองในขณะตั้งครรภ์ เช่น เรื่องอาหาร การออกกำลังกาย การดูแลอารมณ์ที่เหมาะสม เป็นองค์ประกอบของการมีสุขภาพที่ดีของมารดาและทารก การที่สนับสนุนและส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงให้ได้รับนม และไข่ เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมให้มารดาและทารกในครรภ์ได้รับโปรตีนและแคลเซียม ซึ่งช่วยเสริมกระดูกและฟันแก่มารดาและทารก ช่วยให้ทั้งแม่และลูกในครรภ์ได้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงได้ทางหนึ่ง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปรางได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ ส่งผ่านความห่วงใยจากแม่สู่ลูกในครรภ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปราง ประจำปีงบประมาณ 2560 ขึ้น เพื่อส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็กเชิงรุก เน้นให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์เร็วขึ้น เป็นการดูแลกลุ่มเสี่ยงในการตั้งครรภ์ ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของแม่และเด็กได้มากขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับประทานอาหารที่มีโปรตีนและแคลเซียมที่เพียงพอ
  2. เพื่อให้มารดามีความรู้ความเข้าใจในการฝากครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์
  3. เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายแก่ครอบครัวของหญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในเกณฑ์
  4. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ และได้รับการดูแลสุขภาพมารดาตลอดการตั้งครรภ์
  5. เพื่อติดตามสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอดและให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง และการเลี้ยงดูบุตรในระยะแรกคลอด

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 120
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับประทานอาหารที่ให้โปรตีนและแคลเซียมเพียงพอ
    2. หญิงตั้งครรภ์ให้ความสำคัญกับการฝากครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก และได้รับคำปรึกษา และการดูแลที่ถูกต้องจากเจ้าหน้าที่
    3. มารดาและทารกที่เกิดมามีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด
    4. ลดภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัวหญิงตั้งครรภ์
    5. มารดาและทารกได้รับการเยี่ยมหลังคลอด

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    แบบรายงานผลการดำเนินงาน โครงการส่งผ่านความห่วงใยจากแม่สู่ลูกในครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปราง  ประจำปีงบประมาณ 2561 1. ชื่อโครงการ  โครงการส่งผ่านความห่วงใยจากแม่สู่ลูกในครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปราง ประจำปีงบประมาณ 2561 2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับประทานอาหารที่มีโปรตีน  และแคลเซี่ยมเพียงพอ 2. เพื่อให้มารดามีความรู้ความเข้าใจในการฝากครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ 3. เพื่อลดภาวะค่าใช้จ่ายแก่ครอบครัวของหญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในเกณฑ์ 4. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์และได้รับการดูแลสุขภาพของมารดาตลอดการตั้งครรภ์ 5. เพื่อติดตามสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอด และให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองและการเลี้ยงดูบุตรในระยะแรกคลอด 3. การเบิกจ่ายงบประมาณ - งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ  เป็นเงิน  69,650.00 บาท (หกหมื่นเก้าพันหกร้อยห้าสิบบาทถ้วน) - งบประมาณที่เบิกจ่ายจริง เป็นเงิน 69,650.00 บาท (หกหมื่นเก้าพันหกร้อยห้าสิบบาทถ้วน) โดยจำแนกรายจ่ายดังนี้ 1. ค่าอาหารว่าง ผู้เข้าร่วมโครงการอบรมให้ความรู้ในโรงเรียน พ่อแม่ แก่สตรีและครอบครัว จำนวน 240 คน คิดเป็นเงิน 6,000  บาท 2. ค่าไข่ไก่ 120 บาท /แผง/คน/เดือน/ จำนวน 20 ราย/เดือน รวม 7 เดือน เป็นเงินจำนวน 16,800 บาท 3. ค่านมกระป๋อง ราคาโหลละ 130 บาท /คน /เดือน รวม 20 คน/เดือน รวม 7 เดือน เป็นเงินจำนวน 45,500 บาท 4. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการขนาด 1.5 ม. X 2 ม. จำนวน  3 แผ่น คิดเป็นเงิน 1,350 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 69,650 บาท  (หกหมื่นเก้าพันหกร้อยห้าสิบบาทถ้วน) งบประมาณ เหลือส่งคืนกองทุน    ไม่มี 4. ระยะเวลาดำเนินงาน    มีนาคม 2560 – กันยายน 2560 5.  ผลการดำเนินงาน กิจกรรม วิธีการ เครื่องมือ ผลการดำเนินงาน จัดอบรม/ประชุม อสม. เพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อรับทราบนโยบาย ประชุม อสม.ที่ รพ.สต.ท่ามะปราง ใช้สื่ออิเล็คโทนิกส์  เช่น notebook  VCD  Projector จัดประชุม อสม. รวม จำนวน 8 หมู่บ้าน มี อสม. เข้าร่วมจำนวน 130 คน จัดอบรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพแก่สตรี และครอบครัวหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ทุกราย จัดอบรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพแก่สตรีและครอบครัวหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ทุกราย ใช้สื่ออิเล็คโทนิกส์  เช่น notebook  VCD  Projector มีสตรีมีครรภ์และสามีหรือผู้ดูแลหญิงมีครรภ์เข้าร่วมโครงการ จำนวน 240 ราย แจกนม – ไข่ แก่หญิงมีครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ และเมื่อประเมินความเสี่ยงตามเกณฑ์ของสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (สมุดคู่มือสีชมพู) ซึ่งประเมินตามคู่มือปฏิบัติการดูแลผู้ตั้งครรภ์แนวใหม่ขององค์การอนามัยโลก พบเกณฑ์ความเสี่ยงอย่างน้อย 1 ข้อ สามารถมีสิทธิรับนม – ไข่ ของโครงการ โดยรับมอบไข่จำนวน 30 ฟอง/คน/เดือน และนมจำนวน 30 กล่องหรือกระป๋อง/คน/เดือน ตลอดการตั้งครรภ์ จนกว่าจะคลอดโดยนำสมุดบันทึกสุขภาพ แม่และเด็ก (เล่มคู่มือสีชมพู) เป็นหลักฐานในการขอรับเดือนละ 1 ครั้ง แจก นม – ไข่ แก่หญิงมีครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ และเมื่อประเมินความเสี่ยงตามเกณฑ์ของสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (สมุดคู่มือสีชมพู) -  นม -  ไข่ แจกนม ไข่ ในหญิงมีครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ และเมื่อเจาะเลือดเพื่อประเมินความเสี่ยง พบว่ามีความเสี่ยงตามเกณฑ์ของสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (สมุดคู่มือสีชมพู) รวมจำนวน 120 ราย

    • สตรีที่มาฝากครรภ์ที่ได้รับสนับสนุน นม – ไข่ ไปแล้วในบางราย ยังพบว่ามีความเข้มข้นของเลือด น้อยกว่า  33% นั้นอาจมีสาเหตุหลายประการ เช่น การได้รับ นม – ไข่ ไปแต่ไม่ได้รับประทานแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งอาจรับประทานกันทั้งครอบครัว ทำให้ผลการเจาะเลือดยังพบว่ามีความเข้มข้นเลือดต่ำอยู่ หรือในบางรายอาจมีปัจจัยอื่นทางร่างกาย เช่น เป็นพาหะของโรคทาลัสซีเมีย ถึงแม้จะรับประทานนม – ไข่ครบทุกมื้อ ก็ไม่สามารถเพิ่มความเข้มข้นเลือดได้ เป็นต้น
    • การดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องมา ทำให้ตัวชีวัดของโครงการในปีต่อมา มีตัวเลขที่พึงประสงค์ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาเช่น หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ในปีนี้มีผลงานคิดเป็นร้อยละ 84.34 (เกณฑ์ ร้อยละ 75) ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม มีผลงานคิดเป็นร้อยละ 6.33 (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 7) มารดามีความเข้มข้นเลือดน้อยกว่า 33% ของการเจาะเลือดครั้งใดครั้งหนึ่งของการตั้งครรภ์ มีผลงานคิดเป็นร้อยละ 4.76 (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 10) ทำให้ผ่านเกณฑ์ทุกตัวชี้วัด
    1. ผลสัมฤทธิ์ ตามวัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัด -  การบรรลุตามวัตถุประสงค์ √ บรรลุตามวัตถุประสงค์ บรรลุตามวัตถุประสงค์
    2. ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน √ ไม่มี มี

    - ปัญหา / อุปสรรค ขาดความต่อเนื่องของโครงการเนื่องจากการอนุมัติโครงการ ขาดความต่อเนื่องในช่วงรอยต่อของปีงบประมาณ 8. แนวทางแก้ไข  ควรอนุมัติสนับสนุนงบประมาณของโครงการ อย่างต่อเนื่องของรอยต่อปีงบประมาณ เพื่อให้สตรีมีครรภ์ที่มีความเสี่ยง นม – ไข่ อย่างต่อเนื่อง


    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับประทานอาหารที่มีโปรตีนและแคลเซียมที่เพียงพอ
    ตัวชี้วัด :
    0.00

     

    2 เพื่อให้มารดามีความรู้ความเข้าใจในการฝากครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์
    ตัวชี้วัด :
    0.00

     

    3 เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายแก่ครอบครัวของหญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในเกณฑ์
    ตัวชี้วัด :
    0.00

     

    4 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ และได้รับการดูแลสุขภาพมารดาตลอดการตั้งครรภ์
    ตัวชี้วัด :
    0.00

     

    5 เพื่อติดตามสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอดและให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง และการเลี้ยงดูบุตรในระยะแรกคลอด
    ตัวชี้วัด :
    0.00

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 120
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 120
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับประทานอาหารที่มีโปรตีนและแคลเซียมที่เพียงพอ (2) เพื่อให้มารดามีความรู้ความเข้าใจในการฝากครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ (3) เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายแก่ครอบครัวของหญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในเกณฑ์ (4) เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ และได้รับการดูแลสุขภาพมารดาตลอดการตั้งครรภ์ (5) เพื่อติดตามสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอดและให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง และการเลี้ยงดูบุตรในระยะแรกคลอด

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการส่งผ่านความห่วงใยจากแม่สู่ลูกในครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะปราง ปีงบประมาณ 2560 จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสาวณัฏฐณิชา ริทธิ์โต (นักวิชาการสาธารณสุข) )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด