กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

บทสรุป โครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือน

จากการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือน ระหว่างวันที่ 6-7 กรกฎาคม ๒๕60 มีผู้เข้าร่วมรับการอบรมให้ความรู้เรื่องภาวะโภชการในเด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือน ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจำนวน ๓๘ คน และผู้ปกครองเด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือน จำนวน 57 คน รวมทั้งหมด 95 คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐

ตารางที่ ๑ ผลการประเมินความรู้ของผู้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการอบรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือน ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และผู้ปกครองเด็ก

จำนวนข้อคำถาม (จำนวน ๑๐ ข้อ) จำนวนกลุ่มเป้าหมายตอบถูก (คน) ก่อนการอบรบ ร้อยละ หลังการอบรม ร้อยละ จำนวน ๐ – ๒ ข้อ ๐ ๐ ๐ ๐ จำนวน ๓ – ๔ ข้อ ๐ ๐ ๐ ๐ จำนวน ๕ – ๖ ข้อ 19 20.00 ๑๓ ๑3.68 จำนวน ๗ – ๘ ข้อ 76 ๘๐.00 84 ๘๘.42 จำนวน ๙ – ๑๐ ข้อ ๐ ๐ ๐ ๐ รวม 95 ๑๐๐.00 95 ๑๐๐.00
          จากตารางที่ 1 พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้หลังจากเข้ารับการอบรมสามารถตอบคำถามได้ถูกต้องสูงสุดในช่วง ๗ – ๘ ข้อ เป็นจำนวน 84 คน คิดเป็นร้อยละ ๘๘.42 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบความรู้ก่อนรับการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการสามารถตอบคำถามได้สูงสุดในช่วง ๗ – ๘ ข้อ เป็นจำนวน 76 คน คิดเป็นร้อยละ ๘๐.00 ดังนั้นเห็นได้ว่าการจัดอบรมให้ความรู้สามารถทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือน ได้มากขึ้น

ข้อเสนอแนะ อาหารและโภชนาการในช่วงวัยทารกและเด็กเล็ก เป็นพื้นฐานสำคัญของการมีสุขภาพและสติปัญญาที่ดีในระยะยาว และยังมีความสำคัญมากต่อการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือด โรคกระดูกพรุน และมะเร็งบางชนิด เป็นต้น ดังนั้นการเติมเต็มองค์ความรู้ด้านโภชนาการให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จึงมีความสำคัญ เพื่อให้เด็กได้รับบริการด้านโภชนาการที่ครบถ้วนอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งพ่อแม่/ผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะด้านโภชนาการในการให้อาหารตามวัยที่ถูกต้องเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดบริโภคนิสัยที่ดี เด็กจะได้รับพลังงานและสารอาหารครบถ้วน เพียงพอได้สมดุล ส่งผลต่อการสร้างเซลล์สมอง ระบบประสาท กล้ามเนื้อ กระดูก และอวัยวะต่างๆให้มีความสมบูรณ์ ทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เด็กจะมีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพ พร้อมที่จะเป็นประชากรที่มีคุณภาพของประเทศต่อไปในอนาคต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาวอ ผู้รับผิดชอบโครงการ

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อลดภาวะการขาดสารอาหารในเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน
ตัวชี้วัด :

 

2 2. เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการจัดอาหารได้ถูกต้อง
ตัวชี้วัด :

 

3 3. เพื่อเสริมสร้างให้เด็กมีพัฒนาการที่สมวัย
ตัวชี้วัด :

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 190
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 95
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 95
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อลดภาวะการขาดสารอาหารในเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน (2) 2. เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการจัดอาหารได้ถูกต้อง (3) 3. เพื่อเสริมสร้างให้เด็กมีพัฒนาการที่สมวัย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh